Apple ออกแพตซ์อัปเดตเร่งด่วน ช่องโหว่ Zero-Day จำนวน 2 ช่องโหว่

Apple ออกแพตซ์อัปเดทด้านความปลอดภัย ซึ่งเกี่ยวกับช่องโหว่ Zero-day จำนวน 2 ช่องโหว่ ได้แก่

Apple Bulletin HT213219: ช่องโหว่ในการทำงานของ Kernel code CVE-2022-22675 บน iOS และ iPadOS แนะนำให้อัปเดทเป็นเวอร์ชัน 15.4.1
Apple Bulletin HT213220: ช่องโหว่ในการทำงานของ Kernel code CVE-2022-22675 และ ช่องโหว่ kernel data leakage CVE-2022-22674 บน macOS Monterey แนะนำให้อัปเดทเป็นเวอร์ชัน 12.3.1
โดย iOS, iPadOS หรือ macOS เวอร์ชันก่อนหน้านี้จะไม่ได้รับผลกระทบจากช่องโหว่ดังกล่าว หรืออีกกรณีหนึ่งก็คือยังไม่มีการออกอัปเดทสำหรับเวอร์ชันเหล่านั้นออกมา

Apple ยังไม่ได้ประกาศเกี่ยวกับเวอร์ชันอื่นๆ ที่ยังไม่ได้รับการอัปเดต ดังนั้นผู้ใช้งานจึงยังไม่สามารถมั่นใจได้ว่าเวอร์ชันเหล่านั้นจะไม่ได้รับผลกระทบ ต้องรอการอัปเดตจากทาง Apple ต่อไป

ในรายการอัปเดตของ Apple รายการที่ HT201222 ระบุถึงการอัปเดต tvOS 15.4.1 และ watchOS 8.5.1 แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าการอัปเดตเหล่านี้ "ยังไม่มีระบุเลข CVE ของช่องโหว่"

(more…)

Apple แก้ไขช่องโหว่ Zero-day บน IOS ที่ถูกใช้ในการติดตั้งสปายแวร์ NSO บน iPhone

Apple ได้เผยแพร่การอัปเดตด้านความปลอดภัยเพื่อแก้ไขช่องโหว่ Zero-day สองช่องโหว่ที่ถูกพบในการโจมตี iPhone และ Mac เพื่อติดตั้งสปายแวร์ Pegasus

ช่องโหว่นี้คือ CVE-2021-30860 และ CVE-2021-30858 โดยช่องโหว่ทั้งสองส่งผลทำให้สามารถมีการรันโค้ดที่เป็นอันตรายที่ถูกฝังไว้ในเอกสารที่ผู้โจมตีสร้างขึ้นได้

ช่องโหว่ CVE-2021-30860 CoreGraphics เป็นบั๊ก integer overflow ที่ค้นพบโดย Citizen Lab ซึ่งช่วยให้ผู้โจมตีสามารถสร้างเอกสาร PDF ที่เป็นอันตรายซึ่งรันคำสั่งเมื่อเปิดใน iOS และ macOS

CVE-2021-30858 เป็นช่องโหว่บน WebKit ที่เมื่อมีการเข้าถึงหน้าเว็ปไซต์ที่ผู้โจมตีสร้างขึ้นด้วย iPhone และ macOS จะทำให้สามารถถูกรันคำสั่งที่เป็นอันตรายที่อยู่บนหน้าเว็ปไซต์ได้ เบื้องต้นทาง Apple ระบุว่าช่องโหว่นี้ถูกเปิดเผยแพร่ออกสู่สาธารณะแล้วอีกด้วย

แม้ว่า Apple จะไม่เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใช้ช่องโหว่ในการโจมตี แต่ Citizen Lab ได้ยืนยันว่า CVE-2021-30860 เป็นการใช้ประโยชน์จาก iMessage แบบ zero-day zero-click ที่ชื่อว่า 'FORCEDENTRY'

พบว่ามีการใช้ช่องโหว่ของ FORCEDENTRY เพื่อหลีกเลี่ยงระบบความปลอดภัยบน iOS BlastDoor เพื่อติดตั้งสปายแวร์ NSO Pegasus บนอุปกรณ์ที่เป็นของนักเคลื่อนไหวชาวบาห์เรน

BleepingComputer ได้ติดต่อ Citizen Lab พร้อมคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการโจมตี แต่ยังไม่ได้รับการตอบกลับในขณะนี้

Apple Zero-days อาละวาดในปี 2021
เป็นปีที่หนักมากสำหรับ Apple เพราะดูเหมือนว่าจะมีช่องโหว่ Zero-days อย่างต่อเนื่อง ซึ่งใช้ในการโจมตีเป้าหมายเป็นอุปกรณ์ iOS และ Mac

การโจมตีจาก FORCEDENTRY เปิดเผยในเดือนสิงหาคม (ก่อนหน้านี้ถูกติดตามโดย Amnesty Tech ในชื่อ Megalodon)
iOS zero-days สามช่องโหว่ (CVE-2021-1870, CVE-2021-1871, CVE-2021-1872) ที่ถูกใช้ในการโจมตีในเดือนกุมภาพันธ์
zero-day ใน iOS หนึ่งช่องโหว่ (CVE-2021-30661) ในเดือนมีนาคม ที่อาจมีการใช้ในการโจมตีเป็นวงกว้างได้ในอนาคต
หนึ่งช่องโหว่ zero-days ใน macOS (CVE-2021-30657) เดือนเมษายน ถูกใช้โจมตีโดยมัลแวร์ Shlayer
iOS zero-days อีกสามตัว (CVE-2021-30663, CVE-2021-30665 และ CVE-2021-30666) ในเดือนพฤษภาคม ที่สามารถทำให้มีการรันโค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลได้ (RCE) จากการเข้าเว็บไซต์ที่เป็นอันตราย
macOS zero-day (CVE-2021-30713) ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งถูกใช้โดยมัลแวร์ XCSSET เพื่อเลี่ยง TCC privacy protections ของ Apple
zero-day ของ iOS สองช่องโหว่ (CVE-2021-30761 และ CVE-2021-30762) ในเดือนมิถุนายนที่ถูกใช้ในการแฮ็คเข้าสู่อุปกรณ์ iPhone, iPad และ iPod รุ่นเก่า
Project Zero ยังได้มีการเปิดเผยช่องโหว่ Zero-day อีก 11 ช่องโหว่ในปีนี้ ซึ่งใช้ในการโจมตีที่กำหนดเป้าหมายไปยังอุปกรณ์ Windows, iOS และ Android

อัปเดต 9/13/21: ยืนยันจาก Citizen Labs ว่าการอัปเดตนี้แก้ไขช่องโหว่ของ FORCEDENTRY ได้เรียบร้อยแล้ว

ที่มา : bleepingcomputer

Apple ออกแพตช์เร่งด่วน หลังพบช่องโหว่ Zero-Day 2 ช่องโหว่ถูกนำมาใช้ในการโจมตี

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา Apple ได้ออกอัปเดตแพตช์ความปลอดภัยเพื่อแก้ไขช่องโหว่ Zero-day
2 ช่องโหว่ใน iOS 12.5.3 หลังพบว่ากำลังถูกใช้ในการโจมตีเป็นวงกว้าง

อัปเดตล่าสุดของ iOS 12.5.4 มาพร้อมกับการแก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัยจำนวน 3 ช่องโหว่ คือ memory corruption ใน ASN.1 decoder (CVE-2021-30737) และอีก 2 ช่องโหว่ที่เกี่ยวกับ Webkit browser engine ที่อาจทำให้ผู้โจมตีรันโค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

CVE-2021-30761 – ปัญหา memory corruption ผู้โจมตีสามารถลักลอบรันโค้ดที่เป็นอันตราย เมื่อมีการเรียกใช้งาน Malicious content บนเว็บไซต์ที่ถูกสร้างขึ้น โดยช่องโหว่ได้รับการแก้ไขด้วยการจัดการ และปรับปรุงหน่วยความจำ
CVE-2021-30762 – ปัญหา use-after-free ผู้โจมตีสามารถลักลอบรันโค้ดที่เป็นอันตราย เมื่อมีการเรียกใช้งาน Malicious content บนเว็บไซต์ที่ถูกสร้างขึ้น ช่องโหว่ได้รับการแก้ไขด้วยการจัดการ และปรับปรุงหน่วยความจำ
ทั้ง CVE-2021-30761 และ CVE-2021-30762 ถูกรายงานไปยัง Apple โดยผู้ที่ไม่ประสงค์ออกนาม โดยบริษัทที่อยู่ใน Cupertino ได้ระบุไว้ในคำแนะนำว่าช่องโหว่ดังกล่าวอาจจะถูกใช้ในการโจมตีแล้วในปัจจุบัน โดยปกติแล้ว Apple จะไม่เปิดเผยรายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับลักษณะของการโจมตี และเหยื่อที่อาจตกเป็นเป้าหมาย หรือกลุ่มผู้โจมตีที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตามความพยายามในการโจมตี จะเป็นการมุ่งเป้าไปที่อุปกรณ์รุ่นเก่า เช่น iPhone 5s, iPhone 6, iPhone 6 Plus, iPad Air, iPad mini 2, iPad mini 3 และ iPod touch (รุ่นที่ 6) ซึ่ง Apple ได้มีการแก้ไขช่องโหว่ buffer overflow (CVE-2021-30666) ไปเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม
ที่ผ่านมา

นอกจากช่องโหว่ข้างต้นแล้ว Apple ยังได้แก้ไขช่องโหว่ Zero-day อีก 12 ช่องโหว่ ที่อาจส่งผล
กระทบต่อ iOS, iPadOS, macOS, tvOS และ watchOS ตั้งแต่ต้นปี มีรายละเอียดดังนี้

CVE-2021-1782 (Kernel) - ช่องโหว่ในระดับ Kernel ซึ่งส่งผลให้แอพพลิเคชั่นที่เป็นอันตรายสามารถยกระดับสิทธิ์การโจมตีได้
CVE-2021-1870 (WebKit) - ช่องโหว่ใน Webkit ที่ช่วยให้ผู้โจมตีรันโค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลได้
CVE-2021-1871 (WebKit) - ช่องโหว่ใน Webkit ที่ช่วยให้ผู้โจมตีรันโค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลได้
CVE-2021 -1879 (WebKit) - ช่องโหว่ใน Webkit ที่เมื่อมีการเรียกใช้งาน Malicious content บนเว็บไซต์ที่ถูกสร้างขึ้นอาจทำให้ถูกโจมตีในรูปแบบ universal cross-site scripting ได้
CVE-2021-30657 (System Preferences) - ช่องโหว่ที่ทำให้แอปพลิเคชันที่เป็นอันตรายสามารถเลี่ยงการตรวจสอบจาก Gatekeeper ได้
CVE-2021-30661 (WebKit Storage) - ช่องโหว่ใน WebKit Storage ที่ช่วยให้ผู้โจมตีสามารถลักลอบรันโค้ดที่เป็นอันตราย เมื่อมีการเรียกใช้งาน Malicious content บนเว็บไซต์ที่ถูกสร้างขึ้น
CVE-2021-30663 (WebKit) - ช่องโหว่ใน Webkit ที่ช่วยให้ผู้โจมตีสามารถลักลอบรันโค้ดที่เป็นอันตราย เมื่อมีการเรียกใช้งาน Malicious content บนเว็บไซต์ที่ถูกสร้างขึ้น
CVE-2021-30665 (WebKit) - ช่องโหว่ใน Webkit ที่ช่วยให้ผู้โจมตีสามารถลักลอบรันโค้ดที่เป็นอันตราย เมื่อมีการเรียกใช้งาน Malicious content บนเว็บไซต์ที่ถูกสร้างขึ้น
CVE-2021-30666 (WebKit ) - ช่องโหว่ใน Webkit ที่ช่วยให้ผู้โจมตีสามารถลักลอบรันโค้ดที่เป็นอันตราย เมื่อมีการเรียกใช้งาน Malicious content บนเว็บไซต์ที่ถูกสร้างขึ้น
CVE-2021-30713 (TCC framework) - ช่องโหว่ TCC framework ที่ทำให้แอปพลิเคชันที่เป็นอันตรายสามารถ bypass การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวได้
แนะนำให้ผู้ใช้อุปกรณ์ Apple อัปเดตระบบปฏบัติการให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากช่องโหว่ข้างต้น

ที่มา: thehackernews.

ระวัง! การเชื่อมต่อกับเครือข่ายไร้สายสามารถหยุดการทำงานฟีเจอร์ Wi-Fi บน iPhone ของคุณได้

พบบั๊กในการตั้งชื่อเครือข่ายไร้สายในระบบปฏิบัติการ iOS ของ Apple ที่ทำให้ iPhone ไม่สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่าย Wi-Fi ได้

นักวิจัยด้านความปลอดภัย Carl Schou พบว่าฟังก์ชัน Wi-Fi ของโทรศัพท์จะถูกปิดใช้งานอย่างถาวร หลังจากเชื่อมต่อกับเครือข่าย Wi-Fi ที่มีชื่อผิดปกติว่า "%p%s%s%s%s%n" แม้ว่าจะทำการรีบูตหรือเปลี่ยนชื่อเครือข่าย เช่น service set identifier หรือ SSID แล้วก็ตาม

ผู้ไม่หวังดีสามารถใช้ประโยชน์จากปัญหานี้ เพื่อวางฮอตสปอต Wi-Fi หลอกลวงด้วยการตั้งชื่อที่เป็นปัญหา เพื่อหยุดการทำงานเครือข่ายไร้สายของ iPhone

Zhi Zhou ซึ่งเป็น Senior Security Engineer ของ Ant Financial Light-Year Security Labs เปิดเผยการวิเคราะห์สั้นๆว่า ปัญหาเกิดจากบั๊กในการจัดรูปแบบสตริง ที่ iOS แยกการวิเคราะห์อินพุต SSID จึงทำให้เกิด Denial of Service ระหว่างการประมวลผล แต่วิธีการนี้ไม่น่าจะส่งผลกระทบให้เกิดการโจมตีในลักษณะการเข้าควบคุมเครื่องได้

หากจะโจมตีให้สำเร็จโดยใช้บั๊กนี้ จะต้องมีการเชื่อมต่อกับ Wi-Fi นั้นๆก่อน ซึ่งหากเหยื่อเห็น SSID ที่มีชื่อแปลกๆก็อาจไม่ได้ทำการเชื่อมต่อ ซึ่งหากตั้งใจหาผลประโยชน์จากการโจมตีผ่าน Wi-Fi จริงๆ การโจมตีด้วยวิธีการ Phishing ผ่าน Wi-Fi Portal น่ามีประสิทธิภาพมากกว่า

อุปกรณ์ Android ไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ แต่ผู้ใช้งาน iPhone ที่ได้รับผลกระทบจะต้องรีเซ็ตการตั้งค่าเครือข่าย iOS โดยไปที่การตั้งค่า > ทั่วไป > รีเซ็ต > รีเซ็ตการตั้งค่าเครือข่าย แล้วยืนยันการดำเนินการ

ที่มา : thehackernews

กลุ่มที่อยู่เบื้องหลังมัลแวร์เรียกค่าไถ่ REvil ลบข้อมูลรั่วไหลของ Apple จากเว็บไซต์ใต้ดินของตนเอง เพื่อเตรียมปล่อยข้อมูลชุดใหม่

กลุ่ม REvil ได้ทำการลบข้อมูลแผนผังส่วนประกอบ (Schematic) ของอุปกรณ์ Apple ที่ถูกเปิดเผยเพื่อเรียกค่าไถ่บนเว็บไซต์ใต้ดินของตนเอง หลังจากที่มีรายงานว่าได้ทำการคุยตกลงส่วนตัวกับบริษัท "Quanta" ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติไต้หวันที่ช่วยผลิต Apple Watch, Macbook Air และ Macbook Pro เหยื่อของการรั่วไหลข้อมูลในครั้งนี้ ก่อนหน้านี้กลุ่มนี้ได้มีการเรียกค่าไถ่เป็นจำนวน 50 ล้านเหรียญเพื่อแลกกับการปกปิดข้อมูล แต่เมื่อไม่มีการตอบรับจากเหยื่อจึงได้ทำการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวบนเว็บไซต์ใต้ดินของตนเอง นอกจากนี้ยังได้มีการแจ้งเตือนไปยัง Apple ให้ทำการซื้อข้อมูลดังกล่าวกลับไปก่อนวันที่ 1 พฤษภาคมที่จะถึง หากไม่จะทำการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม

การลบข้อมูลในหน้าเว็บไซต์ครั้งนี้ ประกอบด้วยข้อมูลแผนผังส่วนประกอบ (Schematic) และแบบร่าง (Drawing) ของอุปกรณ์ Apple จากรายงานระบุว่ากลุ่มเรียกค่าไถ่ และบริษัท Quanta ที่เป็นเหยื่อได้มีการคุยแชทส่วนตัวกัน โดยกลุ่มเรียกค่าไถ่ได้มีการแจ้งว่าจะทำการซ่อนข้อมูลดังกล่าวบนเว็บไซต์ และหยุดให้ข้อมูลกับสื่อ (reporters) ไปก่อน เพื่อให้การเจรจาสามารถดำเนินการต่อไปได้ และหากยอมเจรจาด้วยก่อนวันที่ 7 พฤษภาคม จะทำการลดค่าไถ่ให้เหลือเพียง 20 ล้านเหรียญ แต่ถ้าหากไม่มีการตอบสนองกลับมา จะทำการเปิดเผยข้อมูลใหม่ ที่ถูกระบุว่าจะเป็นแบบร่าง (Drawing) ของ iPad ตัวใหม่ และ Logo ใหม่ของ Apple

ที่มา: bleepingcomputer

Apple ออกแพตช์ฉุกเฉินเพื่อแก้ไขปัญหาความปลอดภัยบนอุปกรณ์ ควรติดตั้งแพตช์ดังกล่าวทันที

แพตช์ที่ออกมาเป็นการแก้ปัญหา zero-day ที่พบ โดยอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบครอบคลุมทั้ง iPhones, iPads และ Apple Watches ที่ยังรองรับการใช้งานระบบปฏิบัติการ iOS 12 อยู่ มีรายการเวอร์ชันอัปเดต ดังต่อไปนี้

iOS 14 (iPhones ล่าสุด) ให้อัปเดตเป็น 14.4.2
iOS 12 (iPhones เก่า และ iPads) ให้อัปเดตเป็น 12.5.2
iPadOS 14 ให้อัปเดตเป็น 14.4.2
watchOS ให้อัปเดตเป็น 7.3.3

เป็นการแก้ปัญหาช่องโหว่ในส่วนของ WebKit ที่เป็น core web browser ของ Apple, cross-site scripting (XSS) และ Same Origin Policy (SOP) โดยช่องโหว่ดังกล่าว มีผลให้ผู้ไม่หวังดีสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวที่ไม่ต้องการเปิดเผย, สั่งรันคำสั่งอันตรายบนเครื่อง (RCE) หรือ ยกระดับสิทธิ์ (EoP) ได้

ที่มา: nakedsecurity

นักวิจัยพบแคมเปญ Malvertising ใหม่ที่ใช้โหว่แบบ Zero-day ใน WebKit เพื่อรีไดเร็คผู้ใช้ไปยังเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม

นักวิจัยด้านความปลอดภัยจากบริษัท Confiant บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้เปิดเผยถึงการค้นพบแคมเปญ Malvertising ของกลุ่ม ScamClub ที่ใช้ช่องโหว่แบบ Zero-day ในเว็บเบราว์เซอร์ที่ใช้ WebKit engine ในการส่งเพย์โหลดเพื่อรีไดเร็คผู้ใช้จากพอร์ทัลที่ถูกต้องไปยังเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมและจะแสดงโฆษณาที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้

ตามรายงานของ Confiant ได้ระบุว่าการโจมตีแคมเปญดังกล่าวพบครั้งแรกในเดือนมิถุนายนปี 2020 และยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน กลุ่มที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีคือกลุ่มที่รู้จักกันในชื่อ ScamClub ซึ่งเป็นกลุ่มที่ดำเนินธุรกิจโดยการซื้อช่องโฆษณาจำนวนมากบนหลายแพลตฟอร์ม โดยกลุ่ม ScamClub มักกำหนดเป้าหมายผู้ใช้ iOS ด้วยโฆษณาที่เป็นอันตรายซึ่งมักจะรีไดเร็คผู้ใช้ไปยังเว็บไซต์ที่ที่ไม่เหมาะเพื่อทำการหลอกลวงผู้ใช้ทางออนไลน์และพยายามรวบรวมข้อมูลทางการเงินของผู้ใช้

ช่องโหว่ Zero-day ในโอเพนซอร์ส WebKit ถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2021-1801 และถูกค้นพบโดยวิศวกรรักษาความปลอดภัยจาก Confiant และนักวิจัย Eliya Stein ซึ่งพบว่าการโจมตีได้อาศัยช่องโหว่ใน WebKit เพื่อทำการส่งเพย์โหลดยังผู้ใช้และทำการรีไดเร็คผู้ใช้จากพอร์ทัลที่ถูกต้องไปยังเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะ

เนื่องจาก WebKit ถูกใช้ใน Safari ของ Apple และ Google Chrome สำหรับ iOS ทาง Stein จึงได้ทำการรายงานช่องโหว่ที่ค้นพบไปยังทีมของ Apple Security และทีมของ Google Chrome WebKit ซึ่ง WebKit ได้รับการแก้ไขช่องโหว่และออกแพตช์ความปลอดภัยแล้วในวันที่ 2 ธันวาคม 2020 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ Confiant ได้ทำการรวบรวม Indicators of compromise (IoCs) ลงใน GitHub ผู้ที่สนใจ IoCs แคมเปญของกลุ่ม ScamClub สามารถติดตามได้ที่: https://github.

ฟีเจอร์ใหม่ใน iOS 14.5 ทำพร็อกซีเพิ่มความเป็นส่วนตัวเมื่อมีการส่งเช็ค URL กับบริการ Google Safe Browsing

โดยปกติในอุปกรณ์ที่ใช้ iOS นั้น หากผู้ใช้งานมีการตั้งค่า Fraudulent Website Warning ไว้ในแอป Safari เมื่อผู้ใช้งานพยายามจะเข้าเว็บไซต์ใด Safari จะทำการส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงแบบไม่สามารถระบุตัวตนได้ไปยังบริการ Safe Browsing ของ Google เพื่อตรวจสอบความเป็นอันตรายของการเข้าถึงดังกล่าว ผู้ใช้งานจะได้รับการแจ้งเตือนเป็นหน้าสีแดงหากผลลัพธ์ออกมาว่าเว็บไซต์ที่ผู้ใช้งานกำลังจะเข้าถึงนั้นเป็นอันตราย

อย่างไรก็ตามแม้ว่าข้อมูลที่ Safari ส่งให้กับ Safe Browsing จะอยู่ในสถานะที่ปราศจากข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลที่บ่งชี้พฤติกรรมการใช้งานได้ Google ก็ยังคงทราบหมายเลขไอพีแอดเดรสของอุปกรณ์ที่ส่งข้อมูลมาอยู่ดี

หลังจากความตั้งใจของแอปเปิลเกี่ยวกับการพยายามเพิ่มความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานซึ่งแสดงให้เห็นจากหลายฟีเจอร์ที่ถูกเพิ่มเข้ามาใน iOS หนึ่งในฟีเจอร์อีกหนึ่งอย่างที่กำลังจะเพิ่มเข้ามาใน iOS 14.5 นั้นคือการทำพร็อกซีให้กับแอป Safari ก่อนที่จะมีการส่งข้อมูลไปยัง Safe Browsing ซึ่งจะส่งผลให้หมายเลขไอพีแอดเดรสทั้งหมดที่ Safe Browsing จะเห็นนั้นเป็นหมายเลขไอพีเดียวกัน

ฟีเจอร์นี้ได้ถูกอิมพลีเมนต์ลงไปแล้วใน iOS 14.5 beta หลังจากที่ถูกค้นพบโดยผู้ใช้งาน Reddit ซึ่งใช้ชื่อบัญชีว่า jaydenkieran โดย Apple อาจมีจะมีการปล่อย iOS รุ่นใหม่นี้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์/มีนาคมที่จะถึงนี้

ที่มา: zdnet

แฮกเกอร์ปล่อยข้อมูลรั่วไหลของฐานข้อมูล Nitro PDF จำนวน 77 ล้านรายการในฟอรัมแฮกเกอร์

Nitro PDF เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยช่วยในการแก้ไขเอกสาร PDF และทำการลงนามในเอกสารดิจิทัล ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่มีลูกค้าประเภทธุรกิจมากกว่า 10,000 รายและผู้ใช้ที่ได้รับใบอนุญาตประมาณ 1.8 ล้านคน ทั้งนี้ฐานข้อมูลที่ถูกปล่อยรั่วไหลขนาดนี้มีขนาด 14GB ซึ่งมีข้อมูล 77,159,696 รายการ ซึ่งประกอบไปด้วยอีเมลของผู้ใช้, ชื่อเต็ม, รหัสผ่านที่แฮชด้วย bcrypt, ชื่อบริษัท, IP Addresses และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบ

การถูกละเมิดระบบ Nitro PDF ถูกรายงานครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว โดยการบุกรุกส่งผลกระทบต่อองค์กรที่มีชื่อเสียงหลายแห่งเช่น Google, Apple, Microsoft, Chase และ Citibank ซึ่งทาง Nitro PDF ได้แถลงเมื่อตุลาคม 2020 ว่าไม่มีข้อมูลลูกค้าได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมา BleepingComputer ได้พบฐานข้อมูลที่ถูกกล่าวหาว่ามีความเกี่ยวกับผู้ใช้ Nitro PDF จำนวน 70 ล้านรายการ ถูกประมูลพร้อมกับเอกสาร 1TB ในราคาเริ่มต้นที่ 80,000 ดอลลาร์

ปัจจุบันแฮกเกอร์ที่อ้างว่าอยู่เบื้องหลังกลุ่ม ShinyHunters ได้ปล่อยฐานข้อมูลดังกล่าวในฟอรัมแฮกเกอร์ โดยกำหนดราคาไว้ที่ 3 ดอลลาร์ (ประมาณ 90บาท) สำหรับการเข้าถึงลิงก์ดาวน์โหลดข้อมูลทั้งหมดของผู้ใช้ Nitro PDF จำนวน 70 ล้านรายการ

ทั้งนี้ผู้ใช้งาน Nitro PDF สามารถเช็คว่าข้อมูลของตนเองถูกรั่วไหลได้ที่บริการ Have I Been Pwned: haveibeenpwned และควรทำการเปลี่ยนรหัสผ่านที่ใช้ซ้ำกับบริการ Nitro PDF

ที่มา: bleepingcomputer

นักวิจัยจาก Google Project Zero ได้เปิดเผยช่องโหว่ใน iOS ที่จะทำให้ผู้โจมตีสามารถเข้าควบคุมอุปกรณ์ได้ผ่าน Wi-Fi

Ian Beer นักวิจัยจาก Google Project Zero ได้เปิดเผยรายละเอียดของช่องโหว่ที่สำคัญใน iOS ที่มีลักษณะ "wormable" และได้รับการแก้ไขแล้ว ซึ่งช่องโหว่อาจทำให้ผู้โจมตีจากระยะไกลสามารถเข้าควบคุมอุปกรณ์ใดๆ ในบริเวณใกล้เคียงได้ผ่าน Wi-Fi ได้อย่างสมบูรณ์

ช่องโหว่ถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2020-3843 ได้รับการแก้ไขช่องโหว่แล้วในชุดการอัปเดตการรักษาความปลอดภัยที่เป็นส่วนหนึ่งของการอัปเดต iOS 13.3.1 , MacOS Catalina 10.15.3 และ watchOS 5.3.7 โดยช่องโหว่เกิดจากข้อผิดพลาดจากการเขียนโปรเเกรม Buffer overflow ในไดรเวอร์ Wi-Fi ที่เชื่อมโยงกับ Apple Wireless Direct Link ( AWDL ) ซึ่งเป็นโปรโตคอลเครือข่ายถูกพัฒนาโดย Apple เพื่อใช้ใน AirDrop, AirPlay และอื่น ๆ ทำให้การสื่อสารง่ายขึ้นระหว่างอุปกรณ์ Apple

นักวิจัยกล่าวว่าช่องโหว่จะทำให้สามารถอ่านและเขียนหน่วยความจำเคอร์เนลได้โดยไม่ต้องรับอนุญาติจากระยะไกล โดยใช้ประโยชน์จากการส่งเพย์โหลดเชลล์โค้ดลงในหน่วยความจำเคอร์เนลผ่านกระบวนการ เพื่อหลีกเลี่ยงการป้องกันแซนด์บ็อกซ์ของกระบวนการในการรับข้อมูลจากผู้ใช้ จากนั้นจะใช้ประโยชน์จาก Buffer overflow ใน AWDL เพื่อเข้าถึงอุปกรณ์และเรียกใช้เพย์โหลด ด้วยวิธีการนี้จะช่วยให้ผู้ประสงค์ร้ายสามารถเข้าควบคุมข้อมูลเครื่องและสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ได้รวมถึงอีเมล, รูปภาพ, ข้อความ, ข้อมูล iCloud และอื่น ๆ

ทั้งนี้ผู้ใช้ iOS ควรทำการอัปเดต iOS ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด เพื่อป้องกันการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ทำการโจมตีผู้ใช้

ที่มา: thehackernews | threatpost