OpenSSL Patches Critical Certificate Validation Vulnerability

OpenSSL Project ได้ทำการปล่อยแพทช์ Security Update ใหม่หมายเลข CVE-2015-1793 สำหรับผู้ที่ใช้งาน OpenSSL เพื่ออุดช่องโหว่ความรุนแรงสูงที่ช่วยให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถปลอมแปลง Certificate ได้ โดยแฮกเกอร์สามารถเปลี่ยน Certificate ของตนจาก Untrusted Certificate กลายเป็น Trusted Certificate ซึ่งอาจเสี่ยงถูกโจมตีแบบ Man-in-the-middle

ช่องโหว่การปลอม Certificate นี้พบใน OpenSSL เวอร์ชัน 1.0.1 และ 1.0.2 ที่เปิดให้ใช้งานหลังเดือนมิถุนายน 2015 ซึ่งได้แก่ เวอร์ชัน 1.0.1n, 1.0.1o, 1.0.2b และ 1.0.2c สำหรับเวอร์ชัน 0.9.8 และ 1.0.0 นั้นไม่ได้รับผลกระทบต่อช่องโหว่ดังกล่าวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 เวอร์ชันนี้จะถูกปลดระวาง (End of Support) ในวันที่ 31 ธันวาคม 2015 นี้ จึงแนะนำให้ผู้ใช้งานเตรียมแผนอัพเกรดเป็นเวอร์ชันใหม่โดยเร็ว

OpenSSL Project แนะนำให้ผู้ที่ใช้งานเวอร์ชัน 1.0.1 อัพเกรดเป็น 1.0.1p และผู้ที่ใช้งานเวอร์ชัน 1.0.2 อัพเกรดเป็น 1.0.2d

ที่มา : threat post

Latest DoS Attacks Used Old Protocol for Amplification

Akamai หนึ่งในผู้ให้บริการ Cloud Services และ Content Delivery Network ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ได้ออกมาเตือนภัยของการโจมตี DDoS รูปแบบใหม่ที่ใช้เราท์เตอร์ตามบ้านหรือธุรกิจขนาดเล็ก (SOHO Router) เป็นตัวเร่งปริมาณทราฟฟิค เพื่อโจมตีเป้าหมาย หรือที่เรียกว่า Amplification Attack โดยใช้โปรโตคอลแลกเปลี่ยนข้อมูลเส้นทางเก่าแก่อย่าง RIPv1 ในการเร่งปริมาณทราฟฟิคถึง 130 เท่า

แทนที่จะใช้โปรโตคอล DNS หรือ NTP ทาง Akamai ตรวจพบ DDoS ทราฟฟิคที่ใช้โปรโตคอล RIPv1 ซึ่งคาดว่าแฮกเกอร์ได้ทำการส่ง Request ไปยังกลุ่มเราท์เตอร์ที่ใช้ RIPv1 เพื่อให้เราท์เตอร์เหล่านั้นส่ง Response ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าหลายเท่าไปยังเป้าหมายที่ต้องการโจมตี จากการตรวจสอบ พบว่า Request ทั่วไปจะมีขนาด 24 Bytes แต่ Response จะมีขนาดใหญ่เป็นจำนวนเท่าของ 504 Bytes ซึ่งบางครั้งอาจใหญ่ถึง 10 เท่า (5,040 Bytes) ซึ่งทราฟฟิค DDoS ที่ตรวจจับได้มีค่าเฉลี่ยในการเร่งขนาดถึง 13,000 เปอร์เซ็น จากต้นทุน Request ขนาด 24 Bytes

Akamai ระบุว่า จากการตรวจสอบการโจมตี DDoS ที่ใช้โปรโตคอล RIPv1 นี้ พบว่ามีขนาดใหญ่สุดที่ 12.8 Gbps โดยใช้เราท์เตอร์ประมาณ 500 เครื่องในการรุมโจมตีเป้าหมาย นอกจากนี้ Akamai ยังได้ทำการตรวจสอบอุปกรณ์ที่คาดว่ามีความเสี่ยงที่จะถูกใช้ในการโจมตีรูปแบบดังกล่าว มีปริมาณมากถึง 53,693 เครื่อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเราท์เตอร์ที่ใช้งานตามบ้านหรือธุรกิจขนาดเล็ก
เพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อของการโจมตีแบบ RIPv1-based DDoS Attack แนะนำว่าผู้ใช้งานควรจำกัดการเข้าถึงพอร์ท UDP 520 ซึ่งเป็นพอร์ทของโปรโตคอล RIP และสำหรับผู้ที่ใช้เราท์เตอร์ที่ใช้งาน RIPv1 อยู่ แนะนำว่าให้เปลี่ยนไปใช้ RIPv2 แทน

ที่มา : eWEEK

Microsoft Office – OLE Packager allows code execution in all versions, with macros disabled

Kevin Beaumont นักวิจัยด้านความปลอดภัยได้ออกมาเปิดเผยช่องโหว่บน OLE Packager (รวมถึง Office 2013 x64 บน Windows 10 x64 ด้วยเช่นกัน) ซึ่งเป็นฟีเจอร์สำคัญของ MS Office ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถฝังไฟล์ต่างๆ ลงบนไฟล์เอกสารได้ เช่น ฝังไฟล์ Excel ลงบน Powerpoint ซึ่งจุดนี้เองทำให้แฮ็คเกอร์สามารถแอบฝังไฟล์มัลแวร์ เช่น .exe หรือ .js ลงบนไฟล์เอกสารได้เช่นเดียวกัน เมื่อผู้ใช้งานเปิดไฟล์เอกสารดังกล่าว มัลแวร์ก็จะรันโดยอัตโนมัติทันทีและซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยไม่สามารถตรวจจับได้

Beaumont ได้ทำการทดสอบช่องโหว่ดังกล่าวกับโปรแกรมรักษาความปลอดภัยหลากหลายประเภท เช่น MessageLabs ระบบรักษาควาปลอดภัยบนคลาวด์ของ Symantec, Cuckoo Sandbox, Palo Alto WildFire Sandbox และ Malwarebytes Anti-Exploit ผลปรากฏว่าไม่มีโปรแกรมใดที่สามารถตรวจจับไฟล์เอกสารที่แอบฝังมัลแวร์มาได้เลย

นักวิจัยได้แจ้งเรื่องช่องโหว่บน OLE Packager ไปยัง Microsoft เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาพร้อมหลักฐาน POC ต่างๆ แต่ทาง Microsoft ตอบกลับมาว่า ให้ช่วยปิดเรื่องดังกล่าวไว้เป็นความลับ เพราะ Microsoft ไม่ได้มองช่องโหว่นี้เป็นปัญหา และเชื่อว่ามันเป็นฟีเจอร์ของ MS Office อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุด Beaumont ก็ตัดสินใจเปิดเผยปัญหานี้สู่สาธารณะ

ในอดีตทาง Microsoft เองเคยพยายามแก้ไขประเด็นดังกล่าวโดยการทำ Pop-up ข้อความแจ้งเตือนเมื่อผู้ใช้งานเปิดไฟล์ที่มีความเสี่ยง แต่ก็ไม่ได้มีการอัพเดทมานานมากแล้ว นอกจากนี้ ผู้ใช้งานสามารถคลิ๊กผ่านข้อความแจ้งเตือนนั้นเพื่อเปิดไฟล์ได้ทันที ซึ่งคนส่วนใหญ่คงทำแบบนั้นโดยไม่สนใจว่าไฟล์จะมีมัลแวร์แฝงอยู่แต่อย่างใด

ที่มา : SECLISTS

Using Google Cloud to Bypass NoScript

Linus Sarud และ Matthew Bryant นักวิจัยด้านความปลอดภัยได้ค้นพบช่องโหว่ใหญ่บน NoScript ปลั๊กอินยอดนิยมบน Firefox ที่ป้องกันไม่ให้เว็บเบราเซอร์รันโค้ดหรือสคริปต์ต่างๆ เช่น JavaScript, Java, Flash รวมทั้งป้องกันไม่ให้เว็บเบราเซอร์ดาวน์โหลดปลั๊กอินอื่นมาติดตั้งนอกจากปลั๊กอินที่ถูกระบุว่าเชื่อถือได้

Bryant พบช่องโหว่บน Whitelist ของ NoScript ที่ระบุเว็บไซต์ที่อนุญาตให้รันสคริปต์บนเว็บเบราเซอร์ได้ ซึ่ง Whitelist ดังกล่าวจะยินยอมให้ Subdomain ของเว็บไซต์นั้นๆ รันสคริปต์ได้ด้วยเช่นกัน หลังจากตรวจสอบโดเมนที่เชื่อถือได้แล้ว พบว่า หนึ่งในนั้น คือ โดเมน zendcdn.

Blackhats using mystery Magento card stealers

นักวิจัยด้านความปลอดภัย Sucuri infosec ได้ค้นพบช่องโหว่ Zero - Day บน Magento ส่งผลกระทบทำให้แฮกเกอร์สามารถเข้ามาขโมยข้อมูลบัตรเครดิตของลูกค้าที่ใช้บริการกับพวกร้านค้าออนไลน์ได้ (ซึ่งก่อนหน้านี้ ในช่วงเดือนเมษายนได้มีข่าว พบช่องโหว่ Remote Code Execution (RCE) ซึ่งเป็นช่องโหว่ที่สำคัญ และมีผลกระทบต่อร้านค้าออนไลน์จำนวนมาก)

จากข่าวรายงานว่า แฮกเกอร์มีการใช้สคริปทำการโจมตี เมื่อมีการร้องขอเข้ามาที่เว็บเซิฟร์เวอร์ด้วย Method POST หลังจากนั้นแฮกเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลการชำระเงิน ก่อนที่จะมีการเก็บข้อมูลให้เป็นไฟล์ภาพที่มีการเข้ารหัสไว้ จึงทำให้แฮกเกอร์สามารถได้ข้อมูลที่สำคัญทางการเงินได้

ที่มา : theregister

Cisco in single SSH key security stuff-up

ซิสโก้ประกาศแจ้งเตือนว่า ซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยสามตัว ได้แก่ Web Security Virtual Appliance (WSAv), Email Security Virtual Appliance (ESAv), และ Security Management Virtual Appliance (SMAv) มีช่องโหว่ใช้กุญแจ SSH เป็นค่าเริ่มต้นตรงกันทำให้เสี่ยงต่อการถูกเข้าควบคุมโดยแฮกเกอร์ หากแฮกเกอร์สามารถเชื่อมต่อเข้ามายังพอร์ต SSH ได้

ซิสโก้แจ้งให้ลูกค้าติดตั้งอัพเดตที่ออกมาในวันนี้ โดยสามารถสั่งอัพเดตผ่านกระบวนการปกติ แต่ให้ตรวจสอบว่ามีรายการ "cisco-sa-20150625-ironport SSH Keys Vulnerability Fix" อยู่ในรายชื่อแพตช์ที่อัพเดต

ที่มา : theregister

Project Zero แจ้งเตือนช่องโหว่ในผลิตภัณฑ์หลายรายการของ ESET ถูกโจมตีจากระยะไกลได้

Tavis Ormandy หนึ่งในสมาชิกของ Google Project Zero ได้รายงานช่องโหว่ของผลิตภัณฑ์ ESET โดยช่องโหว่ดังกล่าวส่งผลให้ผู้โจมตีสามารถส่งคำสั่งเพื่อควบคุมเครื่องเป้าหมายได้จากระยะไกลในสิทธิ์ root/SYSTEM ช่องโหว่นี้ถูกจัดความสำคัญอยู่ในระดับร้ายแรงที่สุด
ซึ่งรายละเอียดของช่องโหว่เบื้องต้นนั้น เกิดจากวิธีการที่ซอฟต์แวร์แอนติไวรัสใช้ในการจำลองโค้ด โดยใน ESET NOD32 จะมีการดักจับข้อมูลที่ได้จาก I/O ของดิสก์เพื่อเอาไปตรวจสอบและจำลองเมื่อพบส่วนของโค้ดที่สามารถเอ็กซีคิวต์ได้

ช่องโหว่นี้ถูกรายงานว่าส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ ESET ทุกตัวไม่ว่าจะเป็น ESET Smart Security for Windows, ESET NOD32 Antivirus for Windows, ESET Cyber Security Pro for OS X, ESET NOD32 For Linux Desktop, ESET Endpoint Security for Windows and OSX และ ESET NOD32 Business Edition โดยช่องโหว่สามารถโจมตีได้บนการตั้งค่าเริ่มต้นของซอฟต์แวร์ถึงแม้ว่าจะมีการปิดฟังก์ชันในการสแกนแบบ Real time ก็ตาม โดยทาง ESET ได้มีการปล่อยอัพเดตแล้วเมื่อสองวันที่ผ่านมา

ที่มา : blognone

Password recovery scam tricks users into handing over email account access

ทีมนักวิจัยของ Symantec ได้ออกมาประกาศแจ้งเตือนผู้ที่ใช้งาน Gmail, Outlook และ Yahoo Mail ว่าให้ระวังเทคนิคการหลอกลวงรูปแบบใหม่ของผู้ไม่ประสงค์ดี เริ่มต้นโดยผู้ไม่ประสงค์ดีต้องทราบอีเมล์และเบอร์โทรศัพท์ของเหยื่อก่อน ซึ่งปัจจุบันนี้ข้อมูล 2 อันนี้หาได้ง่ายมากจาก Social Network ต่างๆ เช่น Facebook, LinkedIn หรือจากการสอบถามผู้อื่น จากนั้นผู้ไม่ประสงค์ดีจะระบุอีเมล์ของเหยื่อและใช้ฟีเจอร์ Password Recovery ที่ใช้สำหรับกรณีที่เจ้าของอีเมล์ลืมรหัสผ่านของตนเอง มาเป็นเครื่องมือในการแอบหลอกขโมยรหัสผ่าน

หลังจากที่เรียกใช้ฟีเจอร์ Password Recovery แล้ว ระบบอีเมล์จะทำการส่ง Verification Code ไปยังมือถือของเหยื่อตามเบอร์โทรศัพท์ที่ได้ลงทะเบียนไว้ ผู้ไม่ประสงค์ดีจะทำการส่งข้อความตามไปทันที ใจความประมาณว่า “Google has detected unusual activity on your account.

Adobe patches zero-day Flash Player flaw used in targeted attacks

Adobe ออกแพตช์ความปลอดภัยของ Flash Player แก้ช่องโหว่ระดับ "ร้ายแรง" (critical) ที่ถูกใช้โดยกลุ่มแฮกเกอร์ชาวจีน APT3

ช่องโหว่หมายเลข CVE-2015-3113 นี้ถูกค้นพบโดยบริษัท FireEye จากร่องรอยการโจมตีของ APT3 ส่งผลให้ Adobe ต้องออก Flash Player เวอร์ชัน 18.0.0.194 (วินโดวส์/แมค) และ 11.2.202.468 (ลินุกซ์) มาแก้ไข

ผู้ใช้ Chrome และ IE บน Windows 8.x ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเพราะ Flash อัพเดตผ่านเบราว์เซอร์อยู่แล้ว ส่วนผู้ใช้เบราว์เซอร์อื่นๆ สามารถดาวน์โหลด Flash Player เวอร์ชันล่าสุดมาติดตั้งเพื่อความปลอดภัยได้

ที่มา : COMPUTERWORLD

Massive security flaw may threaten millions of Samsung Galaxy phones

NowSecure บริษัทด้านความปลอดภัยในสหรัฐฯ  ได้ออกมาเผยช่องโหว่บนซอฟต์แวร์ของ Swift keyboard ที่อยู่บนแอพพลิเคชั่น SwiftKey ที่ถูกติดตั้งบนมือถือ Samsung Galaxy นั่นเอง ซึ่งเป็นช่องโหว่ที่เปิดทางให้แฮกเกอร์ สามารถเข้าเจาะระบบ และควบคุมตัวเครื่องจากระยะไกลได้ ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ Samsung Galaxy กว่า 600 ล้านเครื่อง

โดยทาง NowSecure เผยว่า มัลแวร์บน SwiftKey หลังจากถูกติดตั้งบนตัวเครื่องแล้ว จะสามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็น กล้องถ่ายรูป, GPS, แอบดักฟังเสียงทางโทรศัพท์, ข้อความ SMS รวมไปถึงขโมยรูปภาพได้อีกด้วย

ด้าน NowSecure เผยต่ออีกว่า เคยรายงานข้อมูลดังกล่าว ไปยังซัมซุง ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม ปี 2014 ซึ่งทางซัมซุงได้รับทราบปัญหา และแจ้งว่าจะออกซอฟต์แวร์มาแก้ไขช่วงต้นปี 2015 แต่ตอนนี้ยังไม่มีรายงานว่า ได้ส่งตัวอัพเดตไปให้กับทางโอเปอร์เรเตอร์แล้วหรือยัง

อย่างไรก็ดี ทาง NowSecure ได้แนะวิธีการป้องกันมัลแวร์จาก SwiftKey ในเบื้องต้น โดยการหลีกเลี่ยงการเชื่อมต่อ Wi-Fi สาธารณะ

ที่มา : Mashable