รหัสผ่านที่ถูกเผยแพร่อย่างผิดพลาด อาจส่งผลให้ source code ของ Mercedes-Benz รั่วไหล

รหัสผ่านที่ถูกเผยแพร่อย่างผิดพลาด อาจส่งผลให้ source code ของ Mercedes-Benz รั่วไหล

Mercedes-Benz พลาดเปิดเผยข้อมูลภายในโดยไม่ได้ตั้งใจ หลังจากปล่อยให้ private key ถูกเข้าถึงได้ออนไลน์ ซึ่งอาจทำให้ผู้ไม่หวังดีสามารถเข้าถึง source code ของบริษัทได้ ตามข้อมูลจากบริษัทวิจัยด้านความปลอดภัยที่ค้นพบ

(more…)

TikTok ปฏิเสธข่าวข้อมูลรั่วไหล หลังแฮ็กเกอร์เผยแพร่ข้อมูลผู้ใช้งาน และ source code

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (2 กันยายน 2565) กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ใช้ชื่อว่า ‘AgainstTheWest’ ได้อ้างว่าทำการขโมยข้อมูลของทั้ง TikTok และ WeChat มาจาก Cloud instance ของ Alibaba โดยมีข้อมูลผู้ใช้งานของทั้ง 2 แพลตฟอร์ม อยู่กว่า 2.05 พันล้านรายการในฐานข้อมูลขนาด 790 GB ประกอบไปด้วย ข้อมูลของผู้ใช้, สถิติการใช้งานของแพลตฟอร์ม, source code ** ของ Software, auth tokens, ข้อมูลของเซิร์ฟเวอร์ และอื่น ๆ อีกมากมาย

แม้ว่าชื่อ ‘AgainstTheWest’ จะดูเหมือนเป็นกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่มุ่งเป้าโจมตีไปยังประเทศแถบตะวันตก แต่เป้าหมายจริง ๆ ของทางกลุ่มกลับเป็นประเทศที่เป็นภัยคุกคามต่อประเทศทางฝั่งตะวันตกมากกว่า โดยกลุ่มดังกล่าวจะมุ่งเป้าโจมตีไปที่จีน และรัสเซีย อีกทั้งยังมีแผนที่จะเพิ่มเป้าหมายไปยังเกาหลีเหนือ เบลารุส และอิหร่านในอนาคต

หลังจากนั้น TikTok ได้ออกมาปฏิเสธข่าวการรั่วไหลของ Source Code และข้อมูลผู้ใช้งานที่แฮ็กเกอร์อ้างว่าได้ขโมยไปจากบริษัท ซึ่งทาง TikTok ให้ข้อมูลกับ BleepingComputer ว่าข้อมูลนั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกับทางบริษัท และข้อมูล Source Code ที่แชร์อยู่บนแพลตฟอร์มข้อมูลรั่วไหลก็ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ TikTok ซึ่ง TikTok ยืนยันว่ามีการป้องกันระบบที่เพียงพอ และมีการป้องกันการใช้สคริปต์สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้งาน

แม้ว่า WeChat และ TikTok เป็นบริษัทจากประเทศจีนเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้อยู่ภายใต้บริษัทแม่บริษัทเดียวกัน โดย WeChat นั้นเป็นของ Tencent ส่วน TikTok เป็นของ ByteDance ดังนั้นหากมีข้อมูลรั่วไหลของทั้งสองบริษัทจากฐานข้อมูลเดียวกัน จึงมีความเป็นไปได้ว่าไม่ใช่การรั่วไหลจากแพลตฟอร์มโดยตรง ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าฐานข้อมูลที่เผยแพร่ออกมานั้นมาจากบุคคลที่ 3 หรือโบรกเกอร์ที่มีการคัดลอกข้อมูลจากทั้งสองแพลตฟอร์มลงไปในฐานข้อมูลเดียวกัน

อีกทั้ง Troy Hunt ผู้สร้าง HaveIBeenPwned และ Bob Diachenko, Database hunter ได้ให้ความเห็นใกล้เคียงกันว่าข้อมูลผู้ใช้งานนั้นเป็นของจริง แต่ไม่พบหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าได้มาจาก TikTok ซึ่งไม่สามารถสรุปที่มาของข้อมูลให้เป็นรูปธรรมได้

หากมีการวิเคราะห์เพิ่มเติม และพบว่าข้อมูลทั้งหมดนั้นถูกต้อง TikTok จะถูกบังคับให้ดำเนินการลดผลกระทบของการรั่วไหลของข้อมูล ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลจะไม่ได้เกิดจาก TikTok เองก็ตาม

ที่มา : bleepingcomputer

กลุ่มแฮ็กเกอร์ Lapsus$ อ้างว่ามีข้อมูลซอร์สโค้ดที่ขโมยมาจาก Microsoft ขนาด 37GB

ในช่วงวันอาทิตย์ที่ผ่านมา กลุ่ม Lapsus$ ได้โพสต์ภาพแคปเจอร์หน้าจอบนช่องทาง Telegram ของพวกเค้า โดยระบุว่าสามารถแฮ็กเซิร์ฟเวอร์ Azure DevOps ของ Microsoft ได้และอ้างว่ามีซอร์สโค้ดของ Bing, Cortana และ Project ภายในอื่นๆ อีกหลายอย่าง

ต่อมาในช่วงวันจันทร์ กลุ่มแฮ็คเกอร์ได้โพสต์ข้อมูล torrent ไฟล์ ที่เป็นไฟล์ 7zip ขนาด 9 GB ที่มีซอร์สโค้ดมากกว่า 250 projects ที่อ้างว่าเป็นของ Microsoft โดยกลุ่ม Lapsus$ อ้างว่าข้อมูล 90% เป็นซอร์สโค้ดของ Bing และประมาณ 45% เป็นซอร์สโค้ดของ Bing Maps และ Cortana

(more…)

Hacker leaks Snapchat’s source code on Github

Source Code ของ Snapchat Social Media ที่ได้รับความนิยม ถูกแฮกเกอร์นำมาโพสไว้บน GitHub

GitHub Account ที่ชื่อว่า Khaled Alshehri (i5xx) ซึ่งอ้างว่ามาจากปากีสถาน ได้สร้างพื้นที่เก็บข้อมูล GitHub ที่เรียกว่า Source-Snapchat พร้อมคำอธิบายว่า "Source Code for SnapChat" และเผยแพร่โค้ดที่อ้างว่าเป็นแอพพลิเคชั่น Snapchat บน iOS

บริษัท Snap ได้ติดต่อไปยัง GitHub เพื่อใช้สิทธิ์ดำเนินการตามลิขสิทธิ์ Digital Millennium Copyright Act (DMCA) ในการลบที่เก็บข้อมูล Source Code ของ Snapchat

Snap ยืนยันว่าโค้ดได้ถูกลบออกไปแล้วและไม่กระทบกับแอพพลิเคชั่น แต่พบผู้ใช้ Twitter 2 ราย (คนหนึ่งอยู่ในปากีสถานและอีกคนหนึ่งอยู่ในประเทศฝรั่งเศส) ซึ่งเชื่อว่าเป็นผู้สร้าง i5xx GitHub Account ระบุว่าได้มีการแจ้งไปยัง Snapchat เกี่ยวกับ Source Code และ Bug โดยคาดว่าจะได้รับรางวัลจาก Snap แต่กลับไม่ได้รับการตอบสนองใดๆ จึงทำการขู่ว่าจะอัพโหลด Source Code ของ Snapchat อีกครั้งจนกว่าจะได้รับคำตอบจาก Snapchat

ที่มา : hackread