พบข้อมูล plaintext password รั่วไหลกว่า 19 ล้านรายการ จาก Firebase instance ที่ตั้งค่าไม่ปลอดภัย

นักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์รายงานการค้นพบ plaintext password กว่า 19 ล้านรหัส ที่ถูกเปิดเผยบนอินเทอร์เน็ตจาก Firebase instance ที่ตั้งค่าไม่ปลอดภัย โดย Firebase เป็นแพลตฟอร์มของ Google สำหรับการโฮสต์ฐานข้อมูล การประมวลผลแบบคลาวด์ และการพัฒนาแอป ซึ่งนักวิจัยได้ทำการสแกนโดเมนมากกว่า 5 ล้านโดเมน และพบเว็บไซต์ 916 แห่ง จากองค์กรที่ไม่ได้เปิดใช้งานมาตรการด้านความปลอดภัย หรือตั้งค่าไม่ถูกต้อง

โดยข้อมูล plaintext password ที่รั่วไหลประกอบไปด้วย ข้อมูลผู้ใช้ที่มีความสำคัญมากกว่า 125 ล้านรายการ รวมถึงอีเมล ชื่อ รหัสผ่าน หมายเลขโทรศัพท์ และข้อมูลการเรียกเก็บเงินพร้อมรายละเอียดธนาคาร (more…)

Hyundai Motor India แก้ไขข้อผิดพลาดที่ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ารั่วไหล

บริษัทในเครือของ Hyundai ในประเทศอินเดีย ได้แก้ไขข้อผิดพลาดที่อาจทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าในภูมิภาคเอเชียใต้รั่วไหลออกไป

TechCrunch ได้ตรวจสอบข้อมูลที่ถูกเปิดเผยบางส่วน ซึ่งรวมถึงชื่อเจ้าของทะเบียน, ที่อยู่ทางไปรษณีย์, ที่อยู่อีเมล, และหมายเลขโทรศัพท์ของลูกค้า Hyundai Motor India ที่เข้าใช้บริการที่สถานีบริการที่ได้รับอนุญาตของบริษัททั่วประเทศอินเดีย ข้อผิดพลาดดังกล่าวยังเปิดเผยรายละเอียดของยานพาหนะ, หมายเลขทะเบียน, สี, หมายเลขเครื่องยนต์, และระยะทางที่มีการใช้งาน (mileage covered) (more…)

Kyocera AVX ยืนยันการถูกโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ ส่งผลกระทบต่อลูกค้า 39,000 ราย

บริษัท Kyocera AVX Components Corporation (KAVX) ประกาศยืนยันเกี่ยวกับการละเมิดข้อมูลที่ส่งผลต่อข้อมูลส่วนบุคคลจำนวน 39,111 ราย หลังจากการถูกโจมตีด้วยแรนซัมแวร์

KAVX เป็นบริษัทชั้นนำของสหรัฐอเมริกาที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง และเป็นบริษัทลูกของ Kyocera ยักษ์ใหญ่ด้าน semiconductor ของญี่ปุ่น โดยบริษัทมีพนักงานมากกว่าหมื่นคน และมีรายได้ต่อปี 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

ในการประกาศการละเมิดข้อมูลสำหรับบุคคลที่ได้รับผลกระทบ KAVX รายงานว่า บริษัทพบเหตุการณ์การโจมตีในวันที่ 10 ตุลาคม 2023 โดยพบว่าแฮ็กเกอร์ได้เข้าถึงระบบในระหว่างวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ถึง 30 มีนาคม 2023

ตามประกาศระบุว่า เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2023 KAVX ได้ประสบเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งอยู่ใน Greenville และ Myrtle Beach รัฐเซาท์แคโรไลนาสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่งผลให้ระบบจำนวนหนึ่งถูกเข้ารหัส และหยุดชะงักชั่วคราวในบางบริการ

KAVX ค้นพบในภายหลังว่าข้อมูลที่มีอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับผลกระทบมีข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลจากทั่วโลก

หลังจากการตรวจสอบภายในเพื่อระบุว่าข้อมูลใดบ้างที่ถูกละเมิด KAVX ยืนยันว่าอย่างน้อยที่สุดข้อมูลดังกล่าวประกอบไปด้วยชื่อ-นามสกุล และหมายเลขประกันสังคม (SSNs) โดยเป็นไปได้ว่าอาจมีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมในภายหลัง แต่ส่วนที่เกี่ยวข้องในตัวอย่างประกาศได้ถูกเซ็นเซอร์เอาไว้

(more…)

พบ Hacker ประกาศขายข้อมูลส่วนบุคคลของไทยกว่า 55 ล้านรายการ พร้อมระบุแหล่งที่มาของข้อมูลที่ได้มาจากหน่วยงานรัฐแห่งหนึ่ง [EndUser]

พบ Hacker ในชื่อ 9Near ได้ประกาศขายข้อมูลส่วนบุคคล Personally identifiable information (PII) ของประเทศไทยกว่า 55 ล้านรายการใน data leak forum แห่งหนึ่ง โดย Hacker ได้ระบุว่าข้อมูลดังกล่าวได้มาจากหน่วยงานรัฐ แต่ไม่ได้มีการะบุหน่วยงานเอาไว้ พร้อมทั้งแนบข้อมูลตัวอย่างเอาไว้อีกด้วย

โดยข้อมูลตัวอย่างที่ถูกปล่อยประกอบไปด้วย เลขบัตรประชาชน ชื่อ ที่อยู่ วันเกิด และเบอร์โทรศัพท์

ทั้งนี้ Hacker ได้ทิ้งช่องทางในการติดต่อซื้อขายข้อมูลรวมถึงช่องทางการจ่ายเงินในโพสต์ดังกล่าวอีกด้วย

โดยขณะนี้ยังไม่ได้มีการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากมีความคืบหน้าเพิ่มเติม ทาง i-secure จะแจ้งให้ทราบต่อไป

 

ที่มา : breached forums

Samsung ยอมรับข้อมูลของลูกค้าในสหรัฐอเมริกาบางส่วนรั่วไหล

Samsung ออกมายอมรับว่ามีข้อมูลรายละเอียดของลูกค้างบางรายในสหรัฐอเมริกาถูกขโมย โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 2 ก.ย. 2565 ที่ผ่านมา ทางบริษัท Samsung ยอมรับว่าพบข้อผิดพลาดทางด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่ส่งผลให้สามารถมีการเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งถือเป็นครั้งที่สองของปีนี้

โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม Samsung พบการเข้าถึงข้อมูลบนระบบของ Samsung ในสหรัฐอเมริกาโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก Third-party จากนั้นในวันที่ 4 สิงหาคม 2022 จึงยืนยันได้ว่ามีข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าบางรายได้รับผลกระทบ และทางบริษัทได้ให้บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เข้าตรวจสอบเพิ่มเติม และได้ประสานงานไปยังหน่วยงานบังคับใช้กฏหมายเรียบร้อยแล้ว

โดยข้อมูลที่ถูก Hacker ขโมยจะประกอบด้วย

ชื่อ
ข้อมูลการติดต่อ
ข้อมูลประชากร
วันเกิด
รายละเอียดการลงทะเบียนผลิตภัณฑ์

ซึ่งจากข้อมูลที่ทาง Samsung ระบุ จะพบว่าไม่มีข้อมูลเลขบัตรประกันสังคมและข้อมูลบัตรเครดิต โดยข้อมูลที่หลุดออกไปนั้นจะแตกต่างกันในลูกค้าแต่ละราย

ซึ่งจากรายงานล่าสุด บริษัทก็ยังไม่สามารถตอบได้ชัดเจนว่ามีข้อมูลของลูกค้าโดนแฮ็คไปเท่าไหร่ และใครอยู่เบื้องหลังการโจมตีนี้ และเหตุใดต้องใช้เวลาเกือบเดือนในการเปิดเผยถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยทาง Samsung ระบุว่า นอกจากการแจ้งถึงสถานการณ์ล่าสุดให้ลูกค้าได้ทราบแล้ว Samsung ได้มีการดำเนินการตามขั้นตอนในการรักษาความปลอดภัยของระบบที่ได้รับผลกระทบ และได้มีการว่าจ้างบริษัทภายนอกเข้ามาช่วยรักษาความปลอดภัย และเฝ้าระวังการโจมตีครั้งใหม่ ๆ อีกทั้งยังได้มีการแจ้งเตือนให้ผู้ใช้งานมีการใช้งานอย่างระมัดระวังมากขึ้น หลีกเลี่ยงการกด Link หรือเปิดไฟล์ที่ไม่รู้จัก รวมไปถึงตรวจสอบกิจกรรมที่น่าสงสัย

โดยการแจ้งเตือนข้อมูลรั่วไหลของลูกค้าในครั้งนี้จะมีความคล้ายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ที่มีการเปิดเผยข้อมูลภายใน และ Source code ของสมาร์ทโฟนตระกูล Galaxy จากการโจมตีโดยกลุ่ม LAPSUS$

ที่มา : thehackernews

TikTok ปฏิเสธข่าวข้อมูลรั่วไหล หลังแฮ็กเกอร์เผยแพร่ข้อมูลผู้ใช้งาน และ source code

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (2 กันยายน 2565) กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ใช้ชื่อว่า ‘AgainstTheWest’ ได้อ้างว่าทำการขโมยข้อมูลของทั้ง TikTok และ WeChat มาจาก Cloud instance ของ Alibaba โดยมีข้อมูลผู้ใช้งานของทั้ง 2 แพลตฟอร์ม อยู่กว่า 2.05 พันล้านรายการในฐานข้อมูลขนาด 790 GB ประกอบไปด้วย ข้อมูลของผู้ใช้, สถิติการใช้งานของแพลตฟอร์ม, source code ** ของ Software, auth tokens, ข้อมูลของเซิร์ฟเวอร์ และอื่น ๆ อีกมากมาย

แม้ว่าชื่อ ‘AgainstTheWest’ จะดูเหมือนเป็นกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่มุ่งเป้าโจมตีไปยังประเทศแถบตะวันตก แต่เป้าหมายจริง ๆ ของทางกลุ่มกลับเป็นประเทศที่เป็นภัยคุกคามต่อประเทศทางฝั่งตะวันตกมากกว่า โดยกลุ่มดังกล่าวจะมุ่งเป้าโจมตีไปที่จีน และรัสเซีย อีกทั้งยังมีแผนที่จะเพิ่มเป้าหมายไปยังเกาหลีเหนือ เบลารุส และอิหร่านในอนาคต

หลังจากนั้น TikTok ได้ออกมาปฏิเสธข่าวการรั่วไหลของ Source Code และข้อมูลผู้ใช้งานที่แฮ็กเกอร์อ้างว่าได้ขโมยไปจากบริษัท ซึ่งทาง TikTok ให้ข้อมูลกับ BleepingComputer ว่าข้อมูลนั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกับทางบริษัท และข้อมูล Source Code ที่แชร์อยู่บนแพลตฟอร์มข้อมูลรั่วไหลก็ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ TikTok ซึ่ง TikTok ยืนยันว่ามีการป้องกันระบบที่เพียงพอ และมีการป้องกันการใช้สคริปต์สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้งาน

แม้ว่า WeChat และ TikTok เป็นบริษัทจากประเทศจีนเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้อยู่ภายใต้บริษัทแม่บริษัทเดียวกัน โดย WeChat นั้นเป็นของ Tencent ส่วน TikTok เป็นของ ByteDance ดังนั้นหากมีข้อมูลรั่วไหลของทั้งสองบริษัทจากฐานข้อมูลเดียวกัน จึงมีความเป็นไปได้ว่าไม่ใช่การรั่วไหลจากแพลตฟอร์มโดยตรง ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าฐานข้อมูลที่เผยแพร่ออกมานั้นมาจากบุคคลที่ 3 หรือโบรกเกอร์ที่มีการคัดลอกข้อมูลจากทั้งสองแพลตฟอร์มลงไปในฐานข้อมูลเดียวกัน

อีกทั้ง Troy Hunt ผู้สร้าง HaveIBeenPwned และ Bob Diachenko, Database hunter ได้ให้ความเห็นใกล้เคียงกันว่าข้อมูลผู้ใช้งานนั้นเป็นของจริง แต่ไม่พบหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าได้มาจาก TikTok ซึ่งไม่สามารถสรุปที่มาของข้อมูลให้เป็นรูปธรรมได้

หากมีการวิเคราะห์เพิ่มเติม และพบว่าข้อมูลทั้งหมดนั้นถูกต้อง TikTok จะถูกบังคับให้ดำเนินการลดผลกระทบของการรั่วไหลของข้อมูล ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลจะไม่ได้เกิดจาก TikTok เองก็ตาม

ที่มา : bleepingcomputer

เหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลของ Kaiser Permanente ส่งผลกระทบต่อข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยกว่า 69,000 ราย

Kaiser Permanente หนึ่งในผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่ไม่แสวงหาผลกำไรชั้นนำของอเมริกา ได้เปิดเผยเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลของข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลมากกว่า 69,000 ราย

Kaiser Permanente ก่อตั้งขึ้นในปี 2488 ให้บริการด้านสุขภาพแก่สมาชิกกว่า 12.5 ล้านคนจาก 8 รัฐในสหรัฐอเมริกา และกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. บริษัทระบุในประกาศที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ว่าผู้โจมตีเข้าถึงบัญชีอีเมลของพนักงานซึ่งมีข้อมูล Protected health information (PHI) เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565 โดยไม่ได้รับอนุญาต

ข้อมูลที่รั่วไหลจากการโจมตีมีดังนี้:

ชื่อ และนามสกุลของผู้ป่วย
หมายเลขประจำตัวผู้ป่วย
วันที่เข้ารับบริการ
ข้อมูลผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการ

โดยองค์กรระบุว่าไม่มีข้อมูลหมายเลขประกันสังคม และหมายเลขบัตรเครดิตรั่วไหลจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ โดยเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อ Kaiser Foundation Health Plan ของผู้ป่วยในวอชิงตันเท่านั้น

Kaiser Permanents ตัดการเข้าถึงบัญชีอีเมลของผู้โจมตีภายในไม่กี่ชั่วโมง และเริ่มตรวจสอบเหตุการณ์เพื่อประเมินผลกระทบ ซึ่งรวมถึงการรีเซ็ตรหัสผ่านของพนักงานสำหรับบัญชีอีเมลที่ตรวจพบเหตุการณ์

ปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานว่าข้อมูล PHI ที่เก็บไว้ในบัญชีอีเมลที่ถูกแฮ็ก ถูกขโมยออกไป หรือนำไปใช้ในทางที่ผิดหรือไม่ ซึ่งยังไม่สามารถตัดความเป็นไปได้สำหรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์นี้ออกไปได้ ในขณะที่ Kaiser Permanente ไม่ได้เปิดเผยจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบที่แน่นอน แต่ข้อมูลที่แจ้งต่อสำนักงานสิทธิพลเมืองของกระทรวงสาธารณสุข และบริการประชาชนของสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์นี้ส่งผลให้มีบุคคล 69,589 รายที่อาจได้รับผลกระทบ

ที่มา : Bleepingcomputer