แอปพลิเคชันอันตรายบน Android ใช้ประโยชน์จากเครื่องเหยื่อเพื่อสร้างบัญชีปลอมบนหลายแพลตฟอร์ม

แอปพลิเคชัน Android SMS ที่มีอยู่บน Google Play Store ถูกพบว่ามีการใช้ประโยชน์จากการเข้าถึงข้อความ SMS เพื่อนำไปสร้างบัญชีบนแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Facebook, Google และ WhatsApp

แอปพลิเคชันนี้มีชื่อว่า Symoo (com.

Three Monero Mining Malware Apps Found on Play Store

พบ Malware ที่ใช้ขุดหาเงินดิจิตอลสกุล Monero ใน Application บน Play Store

ปัจจุบันอาชญากรไซเบอร์กำลังหาวิธีใหม่ในการทำเหมืองเงินดิจิตอล cryptocurrency เพื่อสร้างรายได้ให้ตัวเองโดยใช้ CPU ของเหยื่อในการขุดเหรียญ และตอนนี้นักวิจัยก็พบเช่นเดียวกันใน Application บน Google Play Store ถึง 3 รายการ ได้แก่ Recitiamo Santo Rosario Free, SafetyNet Wireless App และ Car Wallpaper HD โดยพบว่า javascript ที่ใช้นั้นมาจาก CoinHive ซึ่งเป็นผู้ให้บริการสคริปต์สำหรับการขุดเหรียญส่งกลับไปให้เจ้าของเว็ปไซต์

นักวิจัยด้านความปลอดภัยด้านไอทีของ TrendMicro ผู้ค้นพบ Application เหล่านี้กล่าวว่าโปรแกรมมีการใช้ Dynamic JavaScript และ Native Code Injection เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับ ภัยคุกคามเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าอุปกรณ์เคลื่อนที่สามารถใช้ขุดเหรียญ cryptocurrency ได้ แม้ว่าจะให้ผลลัพธ์ได้ไม่มากนักก็ตาม นักวิจัยยังได้แนะนำว่าผู้ใช้ควรสังเกตอาการของเครื่องที่แสดงถึงประสิทธิภาพ(Performance) ในการทำงานที่ลดลง ซึ่งอาจเกิดขึ้นหลังจากติดตั้ง Application อย่างไรก็ตามตอนนี้ทาง Google ได้ปิดตัว Application เหล่านั้นแล้ว พร้อมแนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการดาวน์โหลด Application ที่ไม่จำเป็น และไม่น่าเชื่อถือจาก Third Party หรือ Google Play และควรใช้ผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยบนมือถือที่เชื่อถือได้

ที่มา: HackRead

Scareware: Fake Minecraft apps Scare Hundreds of Thousands on Google Play

บริษัท ESET ผู้พัฒนาแอนดี้ไวรัสชื่อดัง NOD32 ได้แจ้งเตือนการค้นพบแอพพลิเคชั่นปลอมบน Play Store จำนวน 33 แอพ โดยหลอกว่าเป็นแอพที่เอาไว้โกงเกม Minecraft for Android แต่ที่จริงแล้วหลอกขโมยเงินผ่าน SMS มีผู้ตกเป็นเหยื่อดาวน์โหลดไปแล้วกว่า 3 ล้านคน ตัวแอพปลอมพวกนี้ไม่ได้ทำอันตรายกับเครื่อง ไม่ได้มีการขอสิทธิ์อะไรแปลกๆ แต่เมื่อติดตั้งแล้วจะแสดงหน้าจอป๊อบอัพหลอกว่าเครื่องติดไวรัสอันตราย แล้วหลอกให้ผู้ใช้ส่ง SMS ไปยังหมายเลขโทรศัพท์ที่คิดค่าบริการราคาแพง

ทาง ESET บอกว่าแอพเหล่านี้อยู่บน Play Store ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2014 และมีผู้ดาวน์โหลดไปแล้วน่าจะเกือบๆ 2.8 ล้านคน ปัจจุบันได้แจ้งให้ Google ถอดแอพพวกนี้ออกจาก Play Store แล้ว และถ้าใครลง Antivirus สแกนในเครื่อง จะตรวจจับว่าแอพพวกนี้ชื่อ “Android/FakeApp.