ช่องโหว่บน ESET Antivirus ทำให้ผู้โจมตีสามารถเข้าถึงสิทธิ์ SYSTEM บน Windows ได้

ESET ผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต ออกมาแจ้งเตือนถึงช่องโหว่ Local Privilege Escalation มีความรุนแรงระดับสูง และส่งผลกระทบหลายผลิตภัณฑ์ที่ใช้ Windows 10, Windows Server 2016 และเวอร์ชันที่ใหม่กว่านั้น แนะนำให้ผู้ใช้รีบอัปเดตแพตช์เพื่ออุดช่องโหว่ทันที

ช่องโหว่ (CVE-2021-37852) ถูกค้นพบโดย Michael DePlante จาก Trend Micro Zero Day Initiative ซึ่งช่วยให้แฮ็กเกอร์สามารถยกระดับสิทธิ์ตัวเองไปยังสิทธิ์บัญชี NT AUTHORITY\SYSTEM ซึ่งเป็นสิทธิ์ระดับสูงสุดบนระบบปฏิบัติการ Windows ได้โดยใช้ Windows Antimalware Scan Interface (AMSI)

รายการผลิตภัณฑ์ของ ESET ที่ได้รับผลกระทบจากช่องโหว่นี้

ESET NOD32 Antivirus, ESET Internet Security, ESET Smart Security และ ESET Smart Security Premium ตั้งแต่เวอร์ชัน 10.0.337.1 ถึง 15.0.18.0
ESET Endpoint Antivirus for Windows และ ESET Endpoint Security for Windows ตั้งแต่เวอร์ชัน 6.6.2046.0 ถึง 9.0.2032.4
ESET Server Security for Microsoft Windows Server 8.0.12003.0 และ 8.0.12003.1,
ESET File Security for Microsoft Windows Server ตั้งแต่เวอร์ชัน 7.0.12014.0 ถึง 7.3.12006.0
ESET Server Security for Microsoft Azure ตั้งแต่เวอร์ชัน 7.0.12016.1002 ถึง 7.2.12004.1000
ESET Security for Microsoft SharePoint Server ตั้งแต่เวอร์ชัน 7.0.15008.0 ถึง 8.0.15004.0
ESET Mail Security for IBM Domino ตั้งแต่เวอร์ชัน 7.0.14008.0 ถึง 8.0.14004.0
ESET Mail Security for Microsoft Exchange Server ตั้งแต่เวอร์ชัน 7.0.10019 ถึง 8.0.10016.0

ผู้ใช้ ESET ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ควรอัปเดทให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด เพื่อแก้ไขช่องโหว่ดังกล่าว และทาง ESET แจ้งว่าปัจจุบันยังไม่พบรายงานเกี่ยวกับการโจมตีบนช่องโหว่ดังกล่าว

ที่มา: bleepingcomputer

Scareware: Fake Minecraft apps Scare Hundreds of Thousands on Google Play

บริษัท ESET ผู้พัฒนาแอนดี้ไวรัสชื่อดัง NOD32 ได้แจ้งเตือนการค้นพบแอพพลิเคชั่นปลอมบน Play Store จำนวน 33 แอพ โดยหลอกว่าเป็นแอพที่เอาไว้โกงเกม Minecraft for Android แต่ที่จริงแล้วหลอกขโมยเงินผ่าน SMS มีผู้ตกเป็นเหยื่อดาวน์โหลดไปแล้วกว่า 3 ล้านคน ตัวแอพปลอมพวกนี้ไม่ได้ทำอันตรายกับเครื่อง ไม่ได้มีการขอสิทธิ์อะไรแปลกๆ แต่เมื่อติดตั้งแล้วจะแสดงหน้าจอป๊อบอัพหลอกว่าเครื่องติดไวรัสอันตราย แล้วหลอกให้ผู้ใช้ส่ง SMS ไปยังหมายเลขโทรศัพท์ที่คิดค่าบริการราคาแพง

ทาง ESET บอกว่าแอพเหล่านี้อยู่บน Play Store ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2014 และมีผู้ดาวน์โหลดไปแล้วน่าจะเกือบๆ 2.8 ล้านคน ปัจจุบันได้แจ้งให้ Google ถอดแอพพวกนี้ออกจาก Play Store แล้ว และถ้าใครลง Antivirus สแกนในเครื่อง จะตรวจจับว่าแอพพวกนี้ชื่อ “Android/FakeApp.