Emotet Malware กลับมาอยู่ภายใต้ความสนใจของนักวิจัยอีกครั้ง

Emotet เป็น Trojan Banking ที่เคยประสบความสำเร็จ และได้รับความนิยมอย่างมากมาก่อน ซึ่งในช่วงต้นปี 2021 นั้น มีการรณรงค์ให้มีการป้องกัน Malware ดังกล่าว ทำให้ Campaign ของการโจมตีหยุดชะงักไปช่วงหนึ่ง แต่ Emotet ก็กลับมาอีกครั้งในปีเดียวกัน พร้อมกับเทคนิคหลาย ๆ อย่างแบบเดิม รวมถึงเทคนิคการใช้ Auto_Open Macros ภายใน XLS document ที่พบมากขึ้นในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2022 ที่ผ่านมานี้ ซึ่งกำลังถูกแพร่กระจายไปยังหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก

เทคนิคการโจมตี

ในช่วงเริ่มต้นการโจมตี Emotet จะมีการส่งไฟล์ MS Office ที่เป็นอันตราย (maldocs) ผ่านทาง Phishing Email โดยในการส่ง Malware จะมีการแนบไฟล์ XLS มากับอีเมลโดยตรง หรือมาในรูปแบบ file Zip ซึ่งภายใน Phishing Email นั้นจะไม่ค่อยมีเนื้อหาอะไร โดยส่วนใหญ่ที่พบจะมีเพียงชื่อไฟล์ และรหัสผ่านเท่านั้น
โดยในการส่ง Phishing เข้ามา มักจะมาในรูปแบบของผู้ส่งใหม่ หรืออาจจะมาในรูปแบบ Reply email จากเหยื่อที่ถูกโจมตีสำเร็จก่อนหน้า ตามภาพด้านล่าง

จากนั้น Emotet จะโน้มน้าวให้เหยื่อคัดลอกตัว maldoc นี้ ไปยังโฟลเดอร์ที่ได้รับอนุญาตเป็นพิเศษ ที่ไม่ได้มีการเปิดใช้งานการป้องกัน Macro ไว้ เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับจาก Microsoft’s protection ดังรูปด้านล่าง ที่จะมีการแนะนำให้ย้ายไฟล์ดังกล่าวไปโฟลเดอร์ที่ Emotet ได้ระบุไว้

และหากเหยื่อหลงเชื่อเอาไฟล์ดังกล่าวไปไว้ตามคำแนะนำของ Emotet แล้ว หลังจากเปิดไฟล์ขึ้นมา จะไม่มีข้อความเกี่ยวกับ Macro ที่ถูกบล็อคอยู่อีกต่อไป ซึ่งหลังจากนี้ไฟล์ที่เปิดขึ้นมาจะไม่มีข้อจำกัดใด ๆ ในการรัน Macro

หลังจากเปิดเอกสารขึ้นมาแล้วอาจจะดูเหมือนว่าภายในเอกสารนั้นไม่มีอะไร แต่ว่าเบื้องหลังนั้นมี VBA macro ซ่อนอยู่ ซึ่งจะมีที่อยู่ของ C2 Server ของ Emotet อยู่ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้โดยการยกเลิกการซ่อน sheets (Un-hiding) และคัดลอกข้อความไปวางบน Text Editor เราก็จะเห็นเนื้อหาที่ซ่อนอยู่บน sheets นั้น ๆ ได้ตามภาพด้านล่าง

หลังจากที่เปิดไฟล์เอกสารขึ้นมา จะมีการ request ไปยัง 1 ใน URL จากรูปด้านบน ซึ่งจะเห็นว่าวิธีการดังกล่าวจะเหมือนกับวิธีของ Malware ตัวอื่น ๆ ที่ใช้ในอดีต เช่น Qakbot ซึ่งจะใช้ไฟล์ XLSB และเมื่อมีการเชื่อมต่อไปยังปลายทางข้างต้นแล้ว มันจะทำการดาวน์โหลดไฟล์ตามชื่อในภาพด้านบน ไปวางไว้บน C:\\Window\System32

จาก TimeStamp จะพบว่าไฟล์เอกสารพวกนี้ถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นเดือนพฤศจิการยน 2022 ที่ผ่านมา ดังเช่นตัวอย่างของ maldoc ด้านล่างที่ได้จัดกลุ่มตามช่วงเวลาที่สร้างขึ้นมา

แนวทางการป้องกัน

พิจารณาการเพิ่ม IOC บนอุปกรณ์ Firewall
ติดตั้ง Anti-Virus หรือ Endpoint Protection บนเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรเพื่อป้องกันการเปิดไฟล์ที่เป็นอันตราย
พิจารณาการจัด Awareness Training ให้กับพนักงานภายในองค์กร

ที่มา : blog.