Kaspersky Patches Flaw in “Network Attack Blocker” Feature

Kaspersky ออกแพทช์แก้ไขช่องโหว่ของฟีเจอร์ Network Attack Blocker บนผลิตภัณฑ์ Kaspersky Internet Security และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ใช้งานฟีเจอร์นี้ ซึ่งถูกค้นพบโดย Tavis Ormandy วิศวกรด้านความปลอดภัยจาก Google

Network Attack Blocker เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยป้องกันการโจมตีของเครือข่ายที่เป็นอันตรายเช่น Port scanning, Denial of Service และ Buffer overrun เป็นต้น ซึ่งฟีเจอร์นี้จะถูกเปิดโดยค่าพื้นฐานหรือ default configuration

Tavis Ormandy รายงานว่า ฟีเจอร์ดังกล่าวใช้ระบบการกรองแพ็กเก็ตและการเปรียบเทียบแพ็กเก็ตกับซิกเนเจอร์ ซึ่งออกแบบมาเพื่อการทำ Blacklist IP ช่องโหว่ที่ถูกค้นพบ ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้ผู้ใช้ Kaspersky ถูก Blacklist จากการอัพเดทของ Kaspersky หรือการอัพเดทของ Windows หลังจากที่ได้รายงานช่องโหว่ดังกล่าว ทาง Kaspersky ได้มีการออกแพทช์เพื่อแก้ไขช่องโหว่บนฟีเจอร์ Network Attack Blocker ผ่านทางการอัพเดทแบบอัตโนมัติให้กับผู้ใช้ Kaspersky แล้ว

ที่มา : securityweek

พบช่องโหว่ BIND สามารถยิง DoS ถล่ม DNS Server ให้แครชได้

มีรายงานพบช่องโหว่ของ BIND ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับสร้าง DNS Server ทำให้สามารถยิง DoS ให้เซิร์ฟเวอร์แครชได้ ซึ่งช่องโหว่นี้เกิดจากความผิดพลาดของ BIND ในการจัดการคิวรีประเภท TKEY ที่พบได้ไม่บ่อยนักซึ่งเป็นอันตราย

บริษัทความปลอดภัย Sucuri รายงานว่าพบการยิง DoS ถล่มเซิร์ฟเวอร์ BIND แล้ว

ทีม Internet Systems Consortium (ISC) ผู้ดูแลโครงการ BIND ได้ออกแพตช์แก้มาตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว แนะนำให้ผู้ดูแลเซิร์ฟเวอร์ BIND อัพเดตแพ็กเกตด่วน

ที่มา : blognone

Linux gets fix for code-execution flaw that was undetected since 2009

Marcus Meissner ได้ค้นพบบั๊กที่ส่งผลให้ผู้ใช้งานสามารถทำการ DoS และขโมยสิทธิ์ของผู้ดูแลระบบในระบบปฏิบัติการบนพื้นฐานของลินุกซ์เคอร์เนลได้ โดยเชื่อกันว่านี่นับเป็นอีกหนึ่งช่องโหว่ที่อยู่ในระดับอันตรายนับตั้งแต่ช่องโหว่ perf_events (CVE-2013-2049) เป็นต้นมาช่องโหว่ CVE-2014-0196 เกิดจากปัญหาของฟังก์ชัน n_tty_write ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของ pty เมื่อโปรเซสหรือเธรดตั้งแต่สองตัวขึ้นไปทำการเขียนลงใน pty เดียวกันจะทำให้เกิดการเขียนทับของข้อมูลและล้นไปยังบัฟเฟอร์ที่อยู่ใกล้เคียง ช่องโหว่นี้ส่งผลกระทบตั้งแต่เคอร์เนลในรุ่น 2.6.31-rc3 ที่ถูกปล่อยในปี 2009
ในขณะนี้ทางกลุ่มผู้ดูแลเคอร์เนลได้มีการแก้ไขปัญหานี้แล้ว พร้อมๆ กับแพตซ์ในส่วนของกลุ่ม Ubuntu สำหรับฝั่งของ RHEL นั้นได้รับการยืนยันว่า RHEL5 ไม่พบช่องโหว่นี้ และแพตซ์สำหรับ RHEL6 รวมไปถึง Red Hat Enterprise MRG 2 กำลังจะมาเร็วๆ นี้

ที่มา : ars technica

Cisco IOS fixes 10 denial-of-service vulnerabilities

บริษัท Cisco ได้ออกแพทช์เพื่อปิดช่องโหว่จำนวน 10 ช่องโหว่ ที่ทำให้สามารถทำการ DoS ไปยังอุปกรณ์ของ Cisco ได้ โดยช่องโหว่เหล่านี้อยู่ในส่วนการทำงานของ Time Protocol (NTP), the Internet Key Exchange protocol, the Dynamic Host Configuration Protocol (DHCP), the Resource Reservation Protocol (RSVP), ฟีเจอร์ the virtual fragmentation reassembly (VFR) สำหรับ IPv6, the Zone-Based Firewall (ZBFW) component, the T1/E1 driver queue และฟังก์ชั่น the Network Address Translation (NAT) สำหรับ DNS (Domain Name System) และ PPTP (Point-to-Point Tunneling Protocol โดยความสามารถเหล่านี้เป็นฟังก์ชั่นการทำงานบน IOS(ระบบปฎิบัติการของอุปกรณ์ Cisco) การโจมตีแบบ DoS สามารถทำได้โดยการส่งแพ็คเกจที่สร้างขึ้นมาเป็นพิเศษไปยังอุปกรณ์ของ Cisco ที่มีการเปิดใช้ฟังก์ชั่นเหล่านี้อยู่ โดยผลจากการโจมตีแบบ DoS จะมีตั้งแต่ เครื่องหยุดการทำงาน, เครื่องทำการรีโหลด, เครื่องสูญเสียความสามารถในการเชื่อมต่อ , เครื่องสูญเสียความสามารถในการค้นหาเส้นทางในการส่งแพ็คเกจ หรือ สูญเสียความสามารถอื่นๆโดยขึ้นอยู่กับประเภทของ DoS ทีโจมตีเข้ามา ช่องโหว่เหล่านี้ถูกพบในระหว่างที่บริษัท Cisco กำลังทำการรีวิวหรือแก้ไขปัญหาของลูกค้าที่แจ้งเข้ามาเป็นการภายใน

ที่มา : COMPUTERWORLD

Cisco IOS fixes 10 denial-of-service vulnerabilities

บริษัท Cisco ได้ออกแพทช์เพื่อปิดช่องโหว่จำนวน 10 ช่องโหว่ ที่ทำให้สามารถทำการ DoS ไปยังอุปกรณ์ของ Cisco ได้ โดยช่องโหว่เหล่านี้อยู่ในส่วนการทำงานของ Time Protocol (NTP), the Internet Key Exchange protocol, the Dynamic Host Configuration Protocol (DHCP), the Resource Reservation Protocol (RSVP), ฟีเจอร์ the virtual fragmentation reassembly (VFR) สำหรับ IPv6, the Zone-Based Firewall (ZBFW) component, the T1/E1 driver queue และฟังก์ชั่น the Network Address Translation (NAT) สำหรับ DNS (Domain Name System) และ PPTP (Point-to-Point Tunneling Protocol โดยความสามารถเหล่านี้เป็นฟังก์ชั่นการทำงานบน IOS(ระบบปฎิบัติการของอุปกรณ์ Cisco) การโจมตีแบบ DoS สามารถทำได้โดยการส่งแพ็คเกจที่สร้างขึ้นมาเป็นพิเศษไปยังอุปกรณ์ของ Cisco ที่มีการเปิดใช้ฟังก์ชั่นเหล่านี้อยู่ โดยผลจากการโจมตีแบบ DoS จะมีตั้งแต่ เครื่องหยุดการทำงาน, เครื่องทำการรีโหลด, เครื่องสูญเสียความสามารถในการเชื่อมต่อ , เครื่องสูญเสียความสามารถในการค้นหาเส้นทางในการส่งแพ็คเกจ หรือ สูญเสียความสามารถอื่นๆโดยขึ้นอยู่กับประเภทของ DoS ทีโจมตีเข้ามา ช่องโหว่เหล่านี้ถูกพบในระหว่างที่บริษัท Cisco กำลังทำการรีวิวหรือแก้ไขปัญหาของลูกค้าที่แจ้งเข้ามาเป็นการภายใน

ที่มา : COMPUTERWORLD