DeepSeek แพลตฟอร์ม AI ของจีน ได้ปิดการลงทะเบียนบนแพลตฟอร์มแชท DeepSeek-V3 เนื่องจากกำลังเผชิญกับ "การโจมตีทางไซเบอร์ขนาดใหญ่" ที่มุ่งเป้าไปที่บริการของพวกเขา
(more…)
DeepSeek แพลตฟอร์ม AI ของจีน ได้ปิดการลงทะเบียนบนแพลตฟอร์มแชท DeepSeek-V3 เนื่องจากกำลังเผชิญกับ "การโจมตีทางไซเบอร์ขนาดใหญ่" ที่มุ่งเป้าไปที่บริการของพวกเขา
(more…)
Trend Micro เปิดเผยการค้นพบแคมเปญการโจมตีใหม่ของมัลแวร์ RomCom ที่ได้ทำการปลอมแปลงเป็นเว็บไซต์ของซอฟต์แวร์ยอดนิยม เพื่อหลอกให้เหยื่อทำการดาวน์โหลด และติดตั้งโปรแกรมที่เป็นอันตราย (more…)
Microsoft เปิดตัว Security Copilot ซึ่ง AI ที่มีความสามารถคล้ายกับ ChatGPT ที่สามารถช่วยตอบสนองต่อภัยคุกคาม หรือการโจมตี รวมถึงค้นหาภัยคุกคาม และการรายงานด้านความปลอดภัย โดยใช้ประโยชน์จาก Threat Intelligence ของ Microsoft (more…)
มัลแวร์ Blackmamba ถูกใช้ทำหน้าที่เป็น keylogger โดยสามารถส่งข้อมูล credentials ที่ถูกขโมยออกไปผ่านทาง Microsoft Teams ซึ่งมัลแวร์สามารถโจมตีได้ทั้งอุปกรณ์ Windows, macOS และ Linux
Jeff Sims นักวิจัยจากสถาบัน HYAS และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นผู้พัฒนามัลแวร์ด้วย ChatGPT ชื่อ Blackmamba ซึ่งสามารถ bypass Endpoint Detection and Response (EDR) ได้ (more…)
นักวิจัยจาก Bitdefender ผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ค้นพบการหลอกลวงด้วย phishing รูปแบบใหม่ ที่ผู้โจมตีใช้ ChatGPT ปลอม ในการหลอกลวงที่มีเป้าหมายทางด้านการเงิน ซึ่งเป้าหมายหลักอยู่ในประเทศไอร์แลนด์, ออสเตรเลีย, เยอรมัน, เดนมาร์ก และ เนเธอร์แลนด์ โดยวิธีการหลอกลวงคือการส่งอีเมล phishing ที่มีลิงก์ ChatGPT ปลอมแนบไปด้วย (more…)
ChatGPT เป็นเครื่องมือออนไลน์ที่ให้บริการผ่านทาง chat.openai.com โดยที่ยังไม่มีแอปพลิเคชันบนมือถือ หรือเดสก์ท็อป โดย ChatGPT ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามตั้งแต่เปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน 2565 และกลายเป็นแอปพลิเคชันที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ โดยมีผู้ใช้มากกว่า 100 ล้านคนภายในเดือนมกราคม 2566
โดยปัจจุบันพบว่าแฮ็กเกอร์กำลังใช้ประโยชน์จากความนิยมของแชทบอต ChatGPT ของ OpenAI ในการแพร่กระจายมัลแวร์บน Windows และ Android หรือหลอกเหยื่อไปยังหน้าฟิชชิ่ง
เนื่องจากความนิยมเป็นอย่างมาก และการเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ OpenAI ต้องเปิดตัวระดับการใช้งานที่ต้องมีการจ่ายค่าบริการ $20 ต่อเดือน (ChatGPT Plus) สำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการใช้แชทบอทได้ตลอดเวลา โดยไม่มีข้อจำกัดด้านความพร้อมใช้งาน
ทำให้แฮ็กเกอร์ใช้ประโยชน์จากเงื่อนไขดังกล่าว อ้างว่าสามารถให้สิทธิ์เข้าถึง ChatGPT ระดับพรีเมียมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อหลอกให้ผู้ใช้ให้ติดตั้งมัลแวร์ หรือให้กรอกข้อมูล credentials ของบัญชีต่าง ๆ
เว็บไซต์ดังกล่าวได้รับการโปรโมทโดยเพจ Facebook ที่ใช้โลโก้ ChatGPT อย่างเป็นทางการเพื่อหลอกให้ผู้ใช้เข้าไปยังเว็บไซต์ที่เป็นอันตราย
โดยแอปพลิเคชัน ChatGPT ปลอมได้รับการโปรโมทบน Google Play และ third-party stores ** ของ Android เพื่อหลอกลวงผู้ใช้งาน
โดยรายงานจาก CyBle มีการค้นพบดังนี้
"chat-gpt-go[.]online" ใช้แพร่กระจายมัลแวร์ที่ขโมยข้อมูลบนคลิปบอร์ด และ Aurora stealer
"chat-gpt-pc[.]online" ใช้แพร่กระจายมัลแวร์ Lumma
"openai-pc-pro[.]online" ใช้แพร่กระจายมัลแวร์ในตระกูลที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก
"pay[.]chatgptftw[.]com" ใช้ขโมยข้อมูลบัตรเครดิต ซึ่งคาดว่าจะหลอกให้ผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ชำระเงินเพื่อซื้อ ChatGPT Plus ปลอม
โดย CyBle ยังพบแอปพลิเคชันที่เป็นอันตรายกว่า 50 รายการที่ใช้ไอคอนของ ChatGPT และชื่อที่คล้ายกัน โดยทั้งหมดเป็นแอปพลิเคชันปลอม และพยายามสร้าง activities ที่เป็นอันตรายบนอุปกรณ์ของผู้ใช้
ตัวอย่างที่ปรากฏในรายงานคือ 'chatGPT1' ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันหลอกเรียกเก็บเงินผ่าน SMS และ 'AI Photo' ซึ่งประกอบด้วยมัลแวร์ Spynote สามารถขโมยบันทึกการโทร รายชื่อผู้ติดต่อ SMS และไฟล์จากอุปกรณ์ได้
คำแนะนำ
ผู้ใช้งานควรหลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่หลอกว่าเป็น ChatGPT เนื่องจากในปัจจุบัน ChatGPT ยังสามารถใช้งานได้ผ่านทางหน้าเว็ปไซต์เท่านั้น
ที่มา : bleepingcomputer