Browsealoud plugin hacked to mine Monero on 4,000 Govt websites

ต้นเหตุเพราะปลั๊กอิน! เว็บหน่วยงานราชการ UK ติด CoinHive กว่า 4,000 เว็บไซต์

เว็บหน่วยงานราชการของอังกฤษตกเป็นเป้าหมายการโจมตีอีกครั้งหลังจากแฮกเกอร์ทำการโจมตีช่องโหว่บนปลั๊กอิน Browsealoud เพื่อฝังสคริปต์สำหรับสร้างผลกำไรในสกุลเงินออนไลน์เสมือนกว่า 4,000 เว็บไซต์

ปลั๊กอินเจ้าปัญหา Browsealoud นั้นเป็นปลั๊กอินที่ช่วยให้ผู้พิการสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้ง่ายมากขึ้น ในขณะเดียวกัน Texthelp ซึ่งเป็นผู้ผลิตปลั๊กอินดังกล่าวยืนยันว่าในขณะนี้ปลั๊กอิน Browsealoud กำลังถูกตรวจสอบเพื่อหาปัญหาด้านความปลอดภัยอย่างถี่ถ้วนอีกครั้ง และยืนยันว่าไม่มีการเข้าถึงหรือการขโมยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานใดๆ
Recommendation หากเว็บไซต์ใดมีการใช้งาน Browsealoud อยู่ ทาง Texthelp ได้แนะนำให้ผู้ดูแลเว็บไซต์หรือระบบนำปลั๊กอินออกก่อน จนกว่าจะมีรายละเอียดและแพตช์ด้านความปลอดภัยที่สามารถช่วยลดผลกระทบได้

ที่มา : hackread

แจ้งเตือนมัลแวร์ Monero Miner ยอดดาวโหลดจากในไทยสูงกว่า 3 ล้านครั้ง

สรุปย่อ

ทีมนักวิจัยด้านความปลอดภัย Unit 42 จาก Palo Alto Networks ได้ประกาศสถิติการแพร่กระจายของมัลแวร์ประเภท miner ซึ่งพุ่งเป้าไปที่การสร้างผลกำไรในสกุลเงินออนไลน์แบบเสมือนย้อนหลัง 4 เดือน โดยพบว่ายอดดาวโหลดไฟล์โปรแกรมของมัลแวร์ประเภทดังกล่าวในอันดับที่ 1 นั้นมีที่มาจากประเทศไทยกว่า 3,500,000 ครั้ง และมากกว่าอันดับ 2 เกือบเท่าตัว

ทีมตอบสนองการโจมตีและภัยคุกคามจากบริษัทขอแนะนำให้ทำการตรวจสอบการแพร่กระจายของมัลแวร์ตามคำแนะนำในหัวข้อ "ขั้นตอนแนะนำในการจัดการกับภัยคุกคาม" ด้านล่างโดยด่วนที่สุด

ทำความรู้จักกับภัยคุกคามประเภทมัลแวร์ขุดบิทคอยน์
กระบวนการหนึ่งที่สำคัญของระบบเงินแบบไม่มีศูนย์กลาง (decentralized system) คือการที่ผู้ใช้งานในระบบนั้นมีหน้าที่ในการช่วยกันตรวจสอบธุรกรรมที่เกิดขึ้นว่าถูกต้องหรือไม่ และเพื่อจูงใจให้เกิดการตรวจสอบต่อไปเรื่อยๆ ผู้ที่ช่วยในการตรวจสอบธุรกรรมก็จะได้รับ "ผลตอบแทน" นั้นเป็นรางวัล กระบวนการที่ผู้ใช้งานช่วยกันพิสูจน์ความถูกต้องของธุรกรรมนั้นถูกเรียกชื่อตามวิธีการว่า mining

อย่างไรก็ตามการ mining เพื่อให้ได้ผลตอบแทนนั้นแท้จริงเปรียบเสมือนกับการแก้ปัญหาโจทย์ทางคณิตศาสตร์รูปแบบหนึ่งที่เป็นงานที่คอมพิวเตอร์ถนัด การแย่งชิงเพื่อให้สามารถแก้โจทย์ปัญหาได้ก่อนจึงเกิดขึ้นในรูปแบบของการทุ่มพลังในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์หลายสิบหรือหลายร้อยเครื่องเพื่อแข่งขันกันว่าผู้ใดจะได้ "คำตอบที่ถูกต้อง" หรือ "ผลตอบแทน" ก่อนกัน

แน่นอนว่าทุกๆ คนนั้นอยากเป็นผู้ชนะ และชัยชนะที่มาพร้อมกับผลตอบแทนมูลค่าสูงย่อมทำให้เกิดการแข่งขันที่สกปรก ผู้ประสงค์ร้ายหรือแฮกเกอร์จึงอาศัยการโจมตีช่องโหว่ของระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆ เพื่อแพร่กระจายโปรแกรมสำหรับ mining ซึ่งเมื่อเริ่มทำงานแล้ว โปรแกรม mining จะดึงทรัพยากรของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเพื่อใช้ในการกระบวนการ mining โดยมีปลายทางเพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับเจ้าของกระเป๋าหรือเจ้าของบัญชีที่ควบคุมมัลแวร์ให้มากที่สุด
การแพร่กระจายของมัลแวร์ขุดบิทคอยน์
สำหรับมัลแวร์ miner ซึ่งพุ่งเป้าไปที่สกุลเงิน Monero นั้น ทีม Unit 42 ได้ทำการสรุปวิธีการที่ผู้ประสงค์ร้ายใช้ในการแพร่กระจายมัลแวร์ซึ่งมีความแตกต่างกันตามช่วงเวลาตามรายละเอียดดังนี้

ในส่วนของการดาวโหลดและติดตั้งตัวเองนั้น ผู้ประสงค์ร้ายได้มีการใช้งานบริการ Adf.