Malware campaign employs fake security certificate updates

แคมเปญมัลแวร์ปลอมใบรับรองความปลอดภัยให้ผู้ใช้ปรับปรุง

ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยจาก Kaspersky Lab ได้ค้นพบเทคนิคการโจมตีแบบใหม่ที่แฮกเกอร์ใช้ เพื่อโจมตีโดยการแจกจ่ายมัลแวร์หลอกล่อให้ผู้ใช้ติดตั้ง “การปรับปรุงใบรับรองความปลอดภัย” ที่เป็นอันตรายเมื่อเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ถูกบุกรุก โดยแคมเปญนี้พบผู้ใช้งานเริ่มติดมัลแวร์ตั้งแต่ 16 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา

เว็บไซต์ที่ถูกโจมตีจะแสดงข้อความที่อ้างว่า ใบรับรองความปลอดภัยของเว็บไซต์นั้นหมดอายุ และจะให้ผู้เยี่ยมชมติดตั้ง “การปรับปรุงใบรับรองความปลอดภัย” เพื่อดูเนื้อหาของเว็บไซต์ โดยใบรับรองความปลอดภัยที่ไม่ถูกต้อง จะฝังข้อความลงใน iframe และดาวโหลดโค้ดอันตรายผ่าน ldfidfa[.]PW/jQuery.

Brazilian underground is the first in spreading cross-platform malware

นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Kaspersky Lab พบมัลแวร์สายพันธ์ใหม่ที่กระจายตัวด้วยไฟล์ JAR หรือ Java executables ทำให้มีคุณสมบัติ cross-platform คือสามารถรันได้บนระบบปฏิบัติการ Mac, Linux และ Windows แม้กระทั้งใน Android ก็มีโอกาสด้วยเช่นกัน ซึ่งเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับมัลแวร์นี้คือเครื่องเป้าหมายต้องมีการติดตั้ง Java Runtime Environment (JRE) เพื่อทำให้ไฟล์ JAR สามารถทำงานได้ โดยรายงานระบุว่า Java JRE ถูกติดตั้งโดยทั่วไปอยู่แล้วประมาณ 70-80%, นักวิจัยระบุอีกว่าผู้ริเริ่มพัฒนา cross-platform malware นั้นเป็นคนในบราซิล และพบว่ามีการโจมตีธนาคารต่างๆ แล้วโดยแนบไฟล์ผ่านอีเมลล์ ซึ่งมีชื่อของมัลแวร์ดังต่อไปนี้ Trojan-Banker.

New Flash flaw could let attackers control Macs, Adobe urges users to update

นักวิจัยจาก Kaspersky Lab ได้ค้นพบช่องโหว่บน Flash Player ซึ่งช่องโหว่นี้อยู่ในส่วน Pixel Blender ที่ออกแบบมาในการประมวลผลภาพและวิดีโอ โดยผู้บุกรุกสามารถใช้ช่องโหว่นี้เข้าควบคุมเครื่องระยะไกลได้
ช่องโหว่นี้จะมีผลกระทบกับผู้ใช้ Flash Player บน Mac เวอร์ชั่น 13.0.0.201 และเวอร์ชั่นที่ต่ำกว่า, บน Windows เวอร์ชั่น 13.0.0.182 และเวอร์ชั่นที่ต่ำกว่า, บน Linux เวอร์ชั่น 11.2.202.350 และเวอร์ชั่นที่ต่ำกว่า

สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง Adobe แนะนำให้อัพเดตทันที โดยผู้ใช้ Chrome/IE11/Windows/Mac จะได้อัพเดตเวอร์ชั่น 13.0.0.206 (Chrome และ IE11 อัพเดตอัตโนมัติ) และผู้ใช้ Linux จะได้อัพเดตเวอร์ชั่น 11.2.202.356

นักวิจัยจาก Kaspersky Lab ได้ค้นพบช่องโหว่บน Flash Player ซึ่งช่องโหว่นี้อยู่ในส่วน Pixel Blender ที่ออกแบบมาในการประมวลผลภาพและวิดีโอ โดยผู้บุกรุกสามารถใช้ช่องโหว่นี้เข้าควบคุมเครื่องระยะไกลได้
ช่องโหว่นี้จะมีผลกระทบกับผู้ใช้ Flash Player บน Mac เวอร์ชั่น 13.0.0.201 และเวอร์ชั่นที่ต่ำกว่า, บน Windows เวอร์ชั่น 13.0.0.182 และเวอร์ชั่นที่ต่ำกว่า, บน Linux เวอร์ชั่น 11.2.202.350 และเวอร์ชั่นที่ต่ำกว่า

สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง Adobe แนะนำให้อัพเดตทันที โดยผู้ใช้ Chrome/IE11/Windows/Mac จะได้อัพเดตเวอร์ชั่น 13.0.0.206 (Chrome และ IE11 อัพเดตอัตโนมัติ) และผู้ใช้ Linux จะได้อัพเดตเวอร์ชั่น 11.2.202.356

ที่มา : appleinsider

Viruses are coming to your smart TV, says Kaspersky chief

ล่าสุด Eugene Kaspersky ผู้บริหาร Kaspersky Labs ได้ให้สัมภาษณ์กับ Telegraph เกี่ยวกับอนาคตของความปลอดภัยบนคอมพิวเตอร์หลังจากที่มีการค้นพบบั๊ก Heartbleed ที่ส่งผลกระทบต่อเว็บไซต์ 60% ทั่วโลกที่มีช่องโหว่เรื่องความปลอดภัย เสี่ยงต่อการโดนโจรกรรมข้อมูลได้ เค้าได้เตือนให้ตระหนักถึงอันตราย เมื่อกระแส Internet of Things หรืออุปกรณ์ต่างๆ เริ่มใส่ฟังก์ชั่นต่ออินเตอร์เน็ตได้ ไม่ว่าจะเป็น ทีวี, ตู้เย็น, เครื่องซักผ้า และเครื่องปรับอากาศ ยิ่งอุปกรณ์ฉลาดเท่าไหร่ ผู้ใช้ก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย สิ่งที่ผู้ใช้ต้องทำก็คือหมั่นอัพเดทระบบรักษาความปลอดภัยให้อัพเดทตลอดเวลา

"ภัยคุกคามเริ่มแพร่กระจายมากขึ้น จากมือถือก็ลุกลามไปยังเครื่องใช้ในบ้าน เช่น ทีวีที่ทุกวันนี้สามารถต่ออินเตอร์เน็ตได้แล้ว ซึ่งเหล่าแฮกเกอร์อาจใช้ช่องทางนี้เป็นช่องทางใหม่ในการปล่อยมัลแวร์หรือไวรัสต่างๆ เพื่อแอบดูผ่านกล้องที่ติดกับทีวี ทาง Kaspersky ก็ได้พัฒนาซอฟท์แวร์ความปลอดภัยต้นแบบสำหรับสมาร์ททีวีสำเร็จเรียบร้อยแล้ว เหลืออยู่ที่ว่าจะปล่อยออกมาช่วงไหนให้คนได้ใช้งานกันเท่านั้นเอง"

นอกจากตัวทีวีเอง หลายบ้านก็นิยมต่อ set-top boxes ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ iOS หรือ Android นั่นหมายความว่านี่ก็ยังเป็นอีกจุดหนึ่งที่เหล่าแฮกเกอร์ใช้เป็นช่องทางเข้ามาได้ ซึ่งทางบริษัทค้นพบว่ามีการจู่โจมหรือไวรัสใหม่ๆเพิ่มขึ้นวันละ 12 ตัว โดยบริษัทด้านการเงินถือเป็นเป้าหมายที่ใหญ่ที่สุด

เหล่าผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยด้าน IT ก็ออกมาเตือนว่า การก่อการร้ายบนไซเบอร์ในอนาคตจะมีขนาดใหญ่และขยายวงกว้างขึ้น ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดก็คือการมุ่งโจมตีสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างโรงงานผลิตไฟฟ้า, โรงงานต่างๆ, ท่าเรือ และเครื่องบินซึ่งระบบต่างๆ เหล่านี้ถูกออกแบบและสร้างเมื่อ 20-40 ปีก่อน ซึ่งภัยคุกคามทางไซเบอร์ยังไม่มี แต่สถานการณ์ปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก และผลที่ตามมาอาจจะเกินกว่าที่หลายคนคาดเอาไว้เพราะทุกอย่างควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่

ที่มา : DIGITAL TRENDS

Skype Malware Stealing Victims' Processing Power to Mine Bitcoins

ผู้เขี่ยวชาญของ Kaspersky Lab ที่ใช้ชื่อว่า Dmitry Bestuzhev ได้รับข้อความในโปรแกรม Skype ที่ส่งมาจากเพื่อนโดยข้อความที่ส่งมานั้นได้เขียนมาว่า "this is my favorite picture of you" และได้แนบลิงค์มากับข้อความด้วย เมื่อผู้ใช้กดที่ลิงค์ก็จะเป็นการดาวน์โหลดโทรจันมาลงที่เครื่อง โดยโทรจันตัวนี้แอนตี้ไวรัสบางโปรแกรมยังไม่สามารถตรวจจับได้ และเมื่อโทรจันถูกดาวน์โหลดมาลงที่เครื่องแล้ว โทรจันจะดาวน์โหลดมัลแวร์ตัวอื่นๆมาลงที่เครื่องอีกต่อหนึ่ง ซึ่งหนึ่งในมัลแวร์ที่ดาวโหลดมานั้นจะมีความสามารถในการทำ Bitcoin-mining (คือการเอาเครื่องของเหยื่อไปคำนวณข้อมูลที่ใช้บันทึกการแลกเปลี่ยน Bitcoin ซึ่งเรียกว่า Block โดยทุกครั้งที่คำนวณได้ 1 Block ก็จะได้ประมาณ 50 Bitcoins) ทางผู้เชื่ยวชาญได้ระบุว่า “ถ้าคุณเห็นเครื่องของคุณมีการใช้งาน CPU อย่างหนักทั้งๆที่คุณไม่ได้ใช้ ให้สันนิษฐานไว้เลยว่าเครื่องของคุณน่าจะมีการติดมัลแวร์” การแพร่กระจายผ่านทางโปรแกรม Skype เพิ่งเริ่มต้นในอาทิตย์ที่ผ่านมาและมีผู้ใช้มากกว่า 2 พันคนที่คลิกที่ลิงค์นี้แล้วดาวน์โหลดโทรจันตัวนี้ไปลงที่เครื่อง

ที่มา: net-security

Skype Malware Stealing Victims' Processing Power to Mine Bitcoins

ผู้เขี่ยวชาญของ Kaspersky Lab ที่ใช้ชื่อว่า Dmitry Bestuzhev ได้รับข้อความในโปรแกรม Skype ที่ส่งมาจากเพื่อนโดยข้อความที่ส่งมานั้นได้เขียนมาว่า "this is my favorite picture of you" และได้แนบลิงค์มากับข้อความด้วย เมื่อผู้ใช้กดที่ลิงค์ก็จะเป็นการดาวน์โหลดโทรจันมาลงที่เครื่อง โดยโทรจันตัวนี้แอนตี้ไวรัสบางโปรแกรมยังไม่สามารถตรวจจับได้ และเมื่อโทรจันถูกดาวน์โหลดมาลงที่เครื่องแล้ว โทรจันจะดาวน์โหลดมัลแวร์ตัวอื่นๆมาลงที่เครื่องอีกต่อหนึ่ง ซึ่งหนึ่งในมัลแวร์ที่ดาวโหลดมานั้นจะมีความสามารถในการทำ Bitcoin-mining (คือการเอาเครื่องของเหยื่อไปคำนวณข้อมูลที่ใช้บันทึกการแลกเปลี่ยน Bitcoin ซึ่งเรียกว่า Block โดยทุกครั้งที่คำนวณได้ 1 Block ก็จะได้ประมาณ 50 Bitcoins) ทางผู้เชื่ยวชาญได้ระบุว่า “ถ้าคุณเห็นเครื่องของคุณมีการใช้งาน CPU อย่างหนักทั้งๆที่คุณไม่ได้ใช้ ให้สันนิษฐานไว้เลยว่าเครื่องของคุณน่าจะมีการติดมัลแวร์” การแพร่กระจายผ่านทางโปรแกรม Skype เพิ่งเริ่มต้นในอาทิตย์ที่ผ่านมาและมีผู้ใช้มากกว่า 2 พันคนที่คลิกที่ลิงค์นี้แล้วดาวน์โหลดโทรจันตัวนี้ไปลงที่เครื่อง

ที่มา: net-security