How my TV got infected with ransomware and what you can learn from it

Candid Wueest จาก Symantec รายงานถึงม้ลแวร์เรียกค่าไถ่ (ransomware) ที่ล็อกหน้าจอสมาร์ตทีวีจนใช้งานไม่ได้ โดยตัวแอพที่ติดตั้งเข้ามาจะเด้งขึ้นมาทุกสองวินาที และเริ่มต้นทำงานหลังบูตขึ้นมาเพียง 20 วินาทีทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถเข้าเมนูไปลบแอพออกจากระบบได้ทัน
การถอนการติดตั้งมัลแวร์เหล่านี้ที่ได้ผลที่สุดคือต่อสาย USB และใช้ adb เข้าไปสั่งถอนการติดตั้ง แต่หากผู้ใช้ไม่ได้เปิดโหมดนักพัฒนาไว้ก็จะยิ่งกลายเป็นเรื่องยุ่งยาก
ตอนนี้มัลแวร์กลุ่มนี้ยังไม่มีตัวไหนระบาดเป็นวงกว้าง อาจจะเพราะสมาร์ตทีวีเองยังไม่ได้รับความนิยมนัก แต่อย่างไรการใช้งานสมาร์ตทีวีก็ไม่ต่างจากคอมพิวเตอร์อื่นๆ ที่ควรดูแลความปลอดภัยให้ดี เช่น เปิดระบบตรวจสอบแอพก่อนติดตั้งเสมอ, ปิดฟีเจอร์ที่ไม่ได้ใช้งาน, หรือพิจารณาแยกอุปกรณ์เหล่านี้ออกจากเครือข่ายปกติ

ที่มา : Symantec

Viruses are coming to your smart TV, says Kaspersky chief

ล่าสุด Eugene Kaspersky ผู้บริหาร Kaspersky Labs ได้ให้สัมภาษณ์กับ Telegraph เกี่ยวกับอนาคตของความปลอดภัยบนคอมพิวเตอร์หลังจากที่มีการค้นพบบั๊ก Heartbleed ที่ส่งผลกระทบต่อเว็บไซต์ 60% ทั่วโลกที่มีช่องโหว่เรื่องความปลอดภัย เสี่ยงต่อการโดนโจรกรรมข้อมูลได้ เค้าได้เตือนให้ตระหนักถึงอันตราย เมื่อกระแส Internet of Things หรืออุปกรณ์ต่างๆ เริ่มใส่ฟังก์ชั่นต่ออินเตอร์เน็ตได้ ไม่ว่าจะเป็น ทีวี, ตู้เย็น, เครื่องซักผ้า และเครื่องปรับอากาศ ยิ่งอุปกรณ์ฉลาดเท่าไหร่ ผู้ใช้ก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย สิ่งที่ผู้ใช้ต้องทำก็คือหมั่นอัพเดทระบบรักษาความปลอดภัยให้อัพเดทตลอดเวลา

"ภัยคุกคามเริ่มแพร่กระจายมากขึ้น จากมือถือก็ลุกลามไปยังเครื่องใช้ในบ้าน เช่น ทีวีที่ทุกวันนี้สามารถต่ออินเตอร์เน็ตได้แล้ว ซึ่งเหล่าแฮกเกอร์อาจใช้ช่องทางนี้เป็นช่องทางใหม่ในการปล่อยมัลแวร์หรือไวรัสต่างๆ เพื่อแอบดูผ่านกล้องที่ติดกับทีวี ทาง Kaspersky ก็ได้พัฒนาซอฟท์แวร์ความปลอดภัยต้นแบบสำหรับสมาร์ททีวีสำเร็จเรียบร้อยแล้ว เหลืออยู่ที่ว่าจะปล่อยออกมาช่วงไหนให้คนได้ใช้งานกันเท่านั้นเอง"

นอกจากตัวทีวีเอง หลายบ้านก็นิยมต่อ set-top boxes ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ iOS หรือ Android นั่นหมายความว่านี่ก็ยังเป็นอีกจุดหนึ่งที่เหล่าแฮกเกอร์ใช้เป็นช่องทางเข้ามาได้ ซึ่งทางบริษัทค้นพบว่ามีการจู่โจมหรือไวรัสใหม่ๆเพิ่มขึ้นวันละ 12 ตัว โดยบริษัทด้านการเงินถือเป็นเป้าหมายที่ใหญ่ที่สุด

เหล่าผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยด้าน IT ก็ออกมาเตือนว่า การก่อการร้ายบนไซเบอร์ในอนาคตจะมีขนาดใหญ่และขยายวงกว้างขึ้น ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดก็คือการมุ่งโจมตีสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างโรงงานผลิตไฟฟ้า, โรงงานต่างๆ, ท่าเรือ และเครื่องบินซึ่งระบบต่างๆ เหล่านี้ถูกออกแบบและสร้างเมื่อ 20-40 ปีก่อน ซึ่งภัยคุกคามทางไซเบอร์ยังไม่มี แต่สถานการณ์ปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก และผลที่ตามมาอาจจะเกินกว่าที่หลายคนคาดเอาไว้เพราะทุกอย่างควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่

ที่มา : DIGITAL TRENDS