รวมข่าว BlueKeep ระหว่างวันที่ 1 – 11 พฤศจิกายน 2019

 

รวมข่าว BlueKeep ระหว่างวันที่ 1 - 11 พฤศจิกายน 2019

BlueKeep คืออะไร

BlueKeep หรือช่องโหว่ CVE-2019-0708 เป็นช่องโหว่ที่สามารถรันคำสั่งอันตรายจากระยะไกลได้ พบใน Remote Desktop Services กระทบ Windows 7, Windows Server 2008 R2, Windows Server 2008, Windows Server 2003 และ Windows XP

ช่องโหว่นี้ได้รับแพตช์ความปลอดภัยแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม 2019 ที่ผ่านมา โดยช่องโหว่นี้มีคำเตือนให้ผู้ใช้งานเร่งอัปเดตเพราะว่าช่องโหว่นี้สามารถเอามาทำเวิร์มแพร่กระจายได้เหมือน WannaCry ที่ใช้ช่องโหว่ CVE-2017-0144 EternalBlue (Remote Code Execution ใน SMB)

พบการโจมตีด้วยช่องโหว่ BlueKeep แล้ว

2 พฤศจิกายน 2019 Kevin Beaumont นักวิจัยผู้ตั้งชื่อเล่นให้ CVE-2019-0708 ว่า BlueKeep เปิดเผยการค้นพบการโจมตีด้วยช่องโหว่ BlueKeep บน honeypot ที่เขาเปิดล่อเอาไว้ทั่วโลกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2019 ซึ่งการโจมตีครั้งนี้ทำให้เหล่า honeypot เกิดจอฟ้า

จากการวิเคราะห์ crash dump ที่ได้จากเหล่า honeypot พบว่าการโจมตีดังกล่าวยังไม่ได้แพร่โดยเวิร์ม แต่เกิดจากการใช้ Metasploit พยายามรันคำสั่งอันตรายเพื่อติดตั้งมัลแวร์ขุดเหมือง เนื่องจากโมดูลสำหรับโจมตีด้วย BlueKeep ใน Metasploit ยังไม่ค่อยเสถียร เลยทำให้เกิดจอฟ้า

อ่านต่ออย่างละเอียด thehackernews

ไม่ใช่เวิร์มแต่ก็อันตรายนะ ไมโครซอฟต์ออกมาเตือนอีกรอบ

8 พฤศจิกายน 2019 ไมโครซอฟต์ออกรายงานวิเคราะห์การโจมตี BlueKeep ร่วมกับ Kevin Beaumont และ Marcus Hutchins ด้วยมัลแวร์ขุดเหมืองดังกล่าว พร้อมกับเตือนให้ผู้ใช้งานเร่งแพตช์ เพราะต้องมีการโจมตีที่รุนแรงกว่านี้ตามมาแน่นอน

อ่านต่ออย่างละเอียด https://www.

First Cyber Attack ‘Mass Exploiting’ BlueKeep RDP Flaw Spotted in the Wild

นักวิจัยพบการโจมตีเพื่อติดตั้ง Cryptocurrency mining โดยอาศัยช่องโหว่ BlueKeep

BlueKeep (CVE-2019-0708) คือช่องโหว่ wormable เพื่อมันสามารถแพร่กระจายโดยตัวมันเองจากเครื่องหนึ่งสู่อีกเครื่องโดยที่เหยื่อไม่ต้องมีการโต้ตอบใดๆ การพบในครั้งนี้เกิดจากการที่ EternalPot RDP honeypot ของ Kevin Beaumont เกิดหยุดทำงานและทำการรีบูตตัวเอง จากการตรวจสอบจึงทำให้พบการโจมตีเพื่อแพร่กระจาย Cryptocurrency mining ดังกล่าว การค้นพบในครั้งนี้นับว่าเป็นการประยุกต์ใช้ช่องโหว่ BlueKeep เพื่อใช้ในการโจมตีอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก

อย่างไรก็ตาม Microsoft ได้ปล่อยแพทช์สำหรับช่องโหว่ออกมาก่อนหน้านี้แล้ว หากยังสามารถทำการอัพเดตแพทช์ได้ สามารถทำตามข้อแนะนำดังต่อไปนี้:

ปิดการใช้งาน RDP services ถ้าไม่จำเป็น
บล็อก port 3389 ที่ใช้ firewall หรือสร้างการเชื่อมต่อให้ผ่านเฉพาะ private VPN
เปิดการใช้งาน Network Level Authentication (NLA) เป็นการป้องกันบางส่วนสำหรับการโจมตีที่ไม่ได้รับอนุญาต

ที่มา : thehackernews

Cyber News: Microsoft emits free remote-desktop security patches for WinXP to Server 2008 to avoid another WannaCry

Microsoft เตือนช่องโหว่ RDP ตัวใหม่ อาจถูกนำไปแพร่มัลแวร์ ออกแพตช์พิเศษให้แม้แต่ Windows Server 2003, และ Windows XP

Microsoft อัปเดตแพตช์ล่าสุดเป็นการแก้ไขความปลอดภัยช่องโหว่ที่สำคัญ CVE-2019-0708 เกี่ยวข้องกันการใช้งาน Remote Desktop Services หรือ Terminal Services เป็นช่องโหว่ที่อนุญาตให้สามารถเรียกใช้คำสั่งได้จากระยะไกลโดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ตัวตน ช่องโหว่ดังกล่าวไม่กระทบ Windows 8 และ Windows 10 แต่ส่งผลกระทบกับระบบปฎิบัติการรุ่นเก่าอย่าง Windows 7, Windows Server 2008 R2, Windows Server 2008, Windows Server 2003, และ Windows XP

ซึ่ง Microsoft ได้ออกแพตช์พิเศษให้กับ Windows XP และ Windows Server 2003 ซึ่งยกเลิกการสนับสนุนไปแล้วอีกด้วย โดยสามารถดูรายละเอียดได้จาก https://support.