Western Digital ยืนยันการถูกโจมตีจนทำให้บริการ My Cloud ล่ม [EndUser]

Western Digital บริษัทผู้ผลิตไดรฟ์คอมพิวเตอร์ในแคลิฟอร์เนีย และผู้ให้บริการจัดเก็บข้อมูล ออกมาเปิดเผยการถูกโจมตีทางไซเบอร์ที่ทำให้ Hacker สามารถเข้าถึงระบบของบริษัทหลายแห่ง โดยการโจมตีดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 26 มีนาคม

ซึ่งขณะนี้ทาง Western Digital กำลังเร่งสืบสวนหาสาเหตุ และจุดเริ่มต้นการโจมตี รวมไปถึงแจ้งไปยังหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

บริการ My Cloud ล่ม

นอกจากนี้เหตุการณ์การโจมตีดังกล่าวยังทำให้ Western Digital ได้ใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติมเพื่อปกป้องระบบ และการดำเนินงาน ทำให้ส่งผลกระทบต่อบริการ My Cloud

โดยผู้ใช้งานบริการจัดเก็บข้อมูลบนเครือข่าย (NAS) ของ Western Digital My Cloud พบว่าไม่สามารถเข้าถึงที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์ได้ โดยจะมีข้อความ Error Code "503 Service Temporarily Unavailable" ซึ่งกระทบต่อระบบคลาวด์, พร็อกซี เว็บ การตรวจสอบสิทธิ์ อีเมล และการแจ้งเตือน โดยหยุดทำงานไปนานกว่า 24 ชั่วโมง

ซึ่งหน้าสถานะบริการ My Cloud ได้ระบุว่าปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ดังนี้ My Cloud, My Cloud Home, My Cloud Home Duo, My Cloud OS5, SanDisk ibi และ SanDisk Ixpand Wireless Charger

ที่มา : bleepingcomputer

นักวิจัยจาก Western Digital เปิดเผยการค้นพบช่องโหว่การโจมตีในโปรโตคอล RPMB โดยช่องโหว่จะส่งผลกระทบกับผลิตภัณฑ์ของ Google, Intel และ MediaTek

นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Western Digital ได้เปิดเผยถึงช่องโหว่ในโปรโตคอล Replay Protected Memory Block (RPMB) ที่จะส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ของบริษัทยักษ์ใหญ่อื่น ๆ หลายแห่งเช่น Google, Intel และ MediaTek

นักวิจัยจาก Western Digital กล่าวว่าโดยทั่วไปแล้วการโจมตีด้วยเทคนิค Replay จะอนุญาตให้แฮกเกอร์ที่ทำการดักจับข้อมูลสามารถทำการ Replay ข้อมูลที่ทำการดักจับประเภทต่างๆ ในนามของผู้ใช้ที่ถูกต้อง ซึ่งการโจมตีดังกล่าวอาจเป็นประโยชน์สำหรับการลักลอบในการใช้บัญชีหรือทำการฉ้อโกงทางการเงิน

ฟีเจอร์ RPMB ได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันอุปกรณ์จากการโจมตีด้วยเทคนิค Replay ข้อมูลที่ทำการดักจับ โดยการจัดเตรียมพื้นที่ที่ได้รับการรับรองความถูกต้องและมีการป้องกันสำหรับการจัดเก็บข้อมูลเพื่อให้แน่ใจว่าแต่ละข้อความที่ทำการส่งผ่านจะไม่ซ้ำกันและไม่สามารถทำการ Replay ได้ ซึ่งโปรโตคอล RPMB มักพบในแท็บเล็ตและโทรศัพท์ที่ใช้เทคโนโลยี flash storage เช่น NVMe, UFS และ eMMC

ช่องโหว่ที่ได้รับการเปิดเผยถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2020-13799 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ของผู้จัดจำหน่ายรายอื่น ๆ เช่น Intel (CVE-2020-12355), Google (CVE-2020-0436) และ MediaTek

หน่วยงาน CERT/CC ได้ระบุไว้ในคำแนะนำว่าผู้จัดจำหน่ายรายหนึ่งซึ่งไม่ได้ระบุชื่อยืนยันว่าช่องโหว่นี้อาจนำไปสู่การปฏิเสธการให้บริการ (DoS) ทั้งนี้ผู้ใช้ควรทำการติดตามข้อมูลการอัปเดตแพตซ์และคำแนะนำในการแก้ไขช่องโหว่จากผู้จัดจำหน่ายที่จะมีการทยอยอัปเดตการแก้ไขช่องโหว่ในเร็ววันนี้

ที่มา: securityweek