แรนซัมแวร์ตัวใหม่มุ่งเป้าไปที่ data visualization tool บน Jupyter Notebook

Python Ransomware ตัวใหม่ กำลังมุ่งเป้าไปที่ระบบที่ใช้ Jupyter Notebook

Jupyter Notebook เป็น open source web environment ที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล และสร้างโมเดลข้อมูล เพื่อจำลองข้อมูลของ data science, computing และ machine learning ซึ่งรองรับภาษาโปรแกรมมากกว่า 40 ภาษา และถูกใช้โดยบริษัทต่างๆ รวมถึง Microsoft, IBM และ Google ควบคู่ไปกับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ล่าสุดทางทีม Nautilus ของ Aqua Security เพิ่งได้ค้นพบมัลแวร์ใหม่บนเครื่องมือที่เป็นที่นิยมนี้

ในขณะที่ Jupyter Notebook อนุญาตให้ผู้ใช้แบ่งปันเนื้อหากับผู้อื่น ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างปลอดภัยผ่าน Account credential หรือ tokens แต่บางครั้งผู้ใช้งานก็ไม่ได้มีการตั้งค่าบน AWS buckets ไว้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย ซึ่งจะทำให้ใครก็สามารถเปิดดูข้อมูลได้ ซึ่ง Python ransomware นี้ ก็จะมุ่งเป้าไปยังเครื่องที่มีความเสี่ยงในการโดนโจมตีเหล่านี้

นักวิจัยได้สร้าง honeypot ที่มีแอปพลิเคชั่น Jupyter Notebook ที่เปิดเผยข้อมูล เพื่อสังเกตพฤติกรรมของมัลแวร์ โดยพบว่าเมื่อแรนซัมแวร์เข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ได้ มันจะทำการเปิด terminal เพื่อดาวน์โหลดเครื่องมือที่ใช้ในการโจมตีอื่นๆ รวมทั้งตัวเข้ารหัส จากนั้นจึงสร้างสคริปต์ Python เพื่อติดตั้งแรนซัมแวร์

เมื่อการโจมตีจบลง ทางทีม Nautilus สามารถเก็บข้อมูลได้มากพอที่จะนำมาจำลองการโจมตีดังกล่าว โดยที่ตัวเข้ารหัสจะคัดลอก และเข้ารหัสไฟล์ ลบเนื้อหาที่ไม่ได้เข้ารหัส และทำการลบตัวเองออกจากระบบ

(more…)

มัลแวร์เรียกค่าไถ่ Egregor ใช้วิธีการปริ้นท์ Ransom Note ออกมาทางใบเสร็จเพื่อชี้แจงการเข้ารหัส

Bleeping Computer รายงานถึงแหล่งข้อมูลซึ่งระบุว่ามัลแวร์เรียกค่าไถ่มีการสั่งพิมพ์ Ransom note หรือโน้ตข้อความที่ทิ้งไว้เพื่อเรียกค่าไถ่เหยื่อออกมาในลักษณะใบเสร็จ โดยยืนยันว่าพฤติกรรมดังกล่าวอาจมาจากการใช้สคริปต์ในการสั่งพิมพ์ออกมา ไม่ใช่ฟีเจอร์ของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ Egregor เอง

Ransom note หรือโน้ตข้อความเรียกค่าไถ่เป็นลักษณะข้อความที่ผู้โจมตีใช้ในการชี้แจ้งเหยื่อถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขั้นตอนที่เหยื่อจะต้องปฏิบัติตามเพื่อเข้าสู่กระบวนการจ่ายค่าไถ่ ในบางครั้งแฮกเกอร์จะมีการแนบคำขู่เพิ่มหรือการจับเวลาเพื่อกดดันให้เหยื่อรีบจ่ายค่าไถ่ด้วย ทั้งนี้ยังไม่มีการพบตัวอย่างของสคริปต์ที่สั่งพิมพ์ Ransom note ออกมาทางใบเสร็จในขณะนี้

Bleeping Computer มีการรายงานเพิ่มเติมถึงพฤติกรรมการแพร่กระจายมัลแวร์เรียกค่าไถ่ Egregor ผ่านทางมัลแวร์กลุ่มโทรจันและบ็อตเน็ต QBot ซึ่งใช้ลักษณะเดียวกับ Trickbot/Ryuk, และ DoppelPaymer/BitPaymer ซึ่งแพร่กระจายผ่านทาง Dridex ด้วย

ที่มา: bleepingcomputer | bleepingcomputer