QNAP ออกแพตช์แก้ไขช่องโหว่ zero-day ที่สอง ซึ่งถูกนำมาใช้ในการโจมตีในงาน Pwn2Own เพื่อยกระดับสิทธิ์เป็น root

QNAP ได้ออกแพตช์เพื่อแก้ไขช่องโหว่ zero-day ที่สอง ซึ่งถูกนักวิจัยด้านความปลอดภัยนำไปใช้โจมตีในการแข่งขันแฮ็ก Pwn2Own เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

ช่องโหว่ระดับ Critical นี้เป็นช่องโหว่ SQL injection (SQLi) ที่มีหมายเลข CVE-2024-50387 เป็นช่องโหว่ใน SMB service ของ QNAP และได้รับการแก้ไขแล้วในเวอร์ชัน 4.15.002 ขึ้นไป และ h4.15.002 ขึ้นไป

ช่องโหว่ zero-day นี้ได้รับการแก้ไขไปแล้วหนึ่งสัปดาห์หลังจากที่ YingMuo (ซึ่งทำงานร่วมกับโครงการฝึกงาน DEVCORE) สามารถเข้าถึงสิทธิ์ root และควบคุมอุปกรณ์ QNAP TS-464 NAS ได้ในงาน Pwn2Own Ireland 2024 (more…)

QNAP เพิ่มการป้องกัน ransomware บน NAS ให้กับ QTS เวอร์ชันล่าสุด

QNAP เพิ่มการป้องกัน ransomware บน NAS ให้กับ QTS เวอร์ชันล่าสุด

QNAP ผู้จำหน่ายฮาร์ดแวร์ของไต้หวัน ได้เพิ่ม Security Center ที่มีความสามารถในการป้องกัน ransomware ลงในระบบปฏิบัติการ QTS เวอร์ชันล่าสุดสำหรับอุปกรณ์ network-attached storage (NAS)

(more…)

ช่องโหว่ Zero-day RCE ในฟีเจอร์ Share ของ QNAP QTS กำลังถูกนำมาใช้ในการโจมตี

ผลลัพธ์จากการตรวจสอบด้านความปลอดภัยทั้งหมดของ QNAP QTS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับผลิตภัณฑ์ NAS ของบริษัท QNAP พบว่ามีช่องโหว่ 15 รายการที่มีระดับความรุนแรงแตกต่างกัน โดยมีช่องโหว่ 11 รายการที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข

หนึ่งในนั้นคือ CVE-2024-27130 ซึ่งเป็นช่องโหว่ stack buffer overflow ในฟังก์ชัน 'No_Support_ACL' ของ 'share.

QNAP แจ้งเตือนลูกค้ารีบอัปเดตแพตซ์เพื่อแก้ไขช่องโหว่ของ Linux Sudo ในอุปกรณ์ NAS

QNAP ผู้จำหน่ายฮาร์ดแวร์ด้านการสำรองข้อมูลของไต้หวัน ได้แจ้งเตือนไปยังผู้ใช้งานให้รีบทำการอัปเดตแพตซ์ด้านความปลอดภัยในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลบนเครือข่าย Network-Attached Storage ที่ใช้งานบนระบบ Linux เพื่อป้องกันช่องโหว่การยกระดับสิทธิ์ Sudo ที่มีระดับความรุนแรงสูง

CVE-2023-22809 (คะแนน CVSS 7.8/10 ระดับความรุนแรงสูง) เป็นช่องโหว่การ bypass sudoers policy ใน Sudo เวอร์ชัน 1.9.12p1 เมื่อใช้ sudoedit ทำให้สามารถเพิ่มระดับสิทธิ์โดยการแก้ไขไฟล์ที่ไม่ได้รับอนุญาต โดยการเพิ่ม arbitrary entries ลงในรายการไฟล์ที่ต้องดำเนินการ ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ที่ใช้ Sudo เวอร์ชัน 1.8.0 ถึง 1.9.12p1 รวมไปถึงระบบปฏิบัติการ NAS ของ QTS, QuTS Hero, QuTScloud และ QVP (QVR Pro)

การป้องกัน

ทำการอัปเดตเพื่อแก้ไขช่องโหว่โดยทันทีจาก QNAP โดยทำการเลือกประเภทผลิตภัณฑ์ และรุ่นของอุปกรณ์
หากต้องการอัปเดต QTS, QuTS Hero หรือ QuTScloud ผู้ใช้งานต้องคลิกตัวเลือก "Check for Update" ในส่วน "Live Update" หลังจากเข้าสู่ระบบในฐานะผู้ดูแลระบบและไปที่ Control Panel > System > Firmware Update

QNAP NAS ตกเป็นเป้าหมายในการโจมตีมาอย่างต่อเนื่อง อย่างในกรณีล่าสุดที่พบแคมเปญการโจมตีของ DeadBolt และ eCh0raix ransomware ที่มีการใช้ช่องโหว่ของ QNAP NAS เพื่อเข้ารหัสข้อมูลบนอุปกรณ์ QNAP NAS ที่เข้าถึงได้จากอินเทอร์เน็ต

ที่มา : bleepingcomputer

QNAP แจ้งเตือนผู้ใช้ QNAP NAS ให้รีบอัปเดตเฟิร์มแวร์และแอปพลิเคชันหลังจากพบการโจมตีจากแรนซัมแวร์สายพันธุ์ใหม่

ผู้ผลิต QNAP ออกเเจ้งเตือนให้ลูกค้าทำการอัปเดตเฟิร์มแวร์และแอปพลิเคชันที่ติดตั้งในอุปกรณ์ Network-Attached Storage (NAS) เพื่อป้องกันแรนซัมแวร์สายพันธุ์ที่ชื่อ AgeLocker ransomware

AgeLocker ransomware ถูกพบการใช้งานครั้งเเรกตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดย AgeLocker จะใช้อัลกอริธึม Actually Good Encryption (AGE) ในการเข้ารหัสเครื่องผู้ใช้ ซึ่งอัลกอริทึมการเข้ารหัส AGE ถือว่ามีความปลอดภัยในการเข้ารหัสและเมื่อผู้ใช้ถูกเข้ารหัสผู้ใช้จะไม่สามารถกู้คืนข้อมูลได้นอกจากจ่ายค่าไถ่สำหรับข้อมูลที่ถูกเข้ารหัส

ทีม QNAP Product Security Incident Response Team (PSIRT) ได้ทำการตรวจพบหลักฐานว่าอาจมีการโจมตีด้วย AgeLocker ransomware ซึ่งทีม PSIRT พบว่า AgeLocker ได้ทำการเข้าถึงอุปกรณ์ QNAP จากเฟิร์มแวร์อุปกรณ์ หรือที่เรียกว่า QTS และแอปพลิเคชัน PhotoStation ที่ติดตั้งมาพร้อบกับระบบ QNAP

ทั้งนี้ผู้ใช้งานอุปกรณ์ QNAP NAS ควรทำการอัปเดตเฟิร์มแวร์และแอปพลิเคชัน PhotoStation เพื่อเป็นการป้องกันการตกเป็นเหยือของ AgeLocker ransomware และเพื่อป้องกันการสูญเสียของข้อมูลเนื่องจากการโจมตี

ที่มา : zdnet

ภาพจาก : bleepingcomputer