นักวิจัยพบมัลแวร์ “BlackRock” ถูกเเฝงไปกับแอปพลิเคชันปลอม Clubhouse เวอร์ชัน Android

Lukas Stefanko นักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จาก ESET ได้เปิดเผยถึงการพบมัลแวร์ที่ถูกเรียกว่า “BlackRock” โดยมัลแวร์ดังกล่าวจะถูกเเฝงไปกับแอปพลิเคชันปลอมของแอปพลิเคชันยอดนิยมในขณะนี้อย่าง Clubhouse เวอร์ชัน Android ซึ่งในขณะนี้แอปพลิเคชันยังไม่มีเวอร์ชัน Android

นักวิจัยกล่าวต่อว่ามัลแวร์ถูกสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการขโมยข้อมูลการเข้าสู่ระบบของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ โดยมัลแวร์ได้กำหนดเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วยแอปทางการเงินและการช็อปปิ้งทุกประเภท รวมถึงแอปการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลตลอดจนแอปโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Twitter, Whatsapp, Amazon, Netflix และบริการออนไลน์อื่น ๆ อีก 458 รายการ

“BlackRock” จะใช้การโจมตีแบบ Overlay Attack ที่ช่วยให้สามารถขโมยข้อมูล Credential ของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อและเมื่อใดก็ตามที่แอปที่เป็นเป้าหมายเปิดตัวขึ้น ระบบจะขอให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลการเข้าสู่ระบบของตน ซึ่งจะทำให้ผู้โจมตีสามารถทราบและเข้าถึงข้อมูล Credential ผู้ที่ตกเหยื่อ นอกจากนี้มัลแวร์ยังสามารถดัก SMS ที่อาจใช้กับฟีเจอร์การยืนยันตัวตนหลายขั้นตอนของผู้ใช้อีกด้วย

นักวิจัยกล่าวอีกว่ามัลแวร์ถูกเเพร่กระจายโดยเว็บไซต์ของผู้ประสงค์ร้ายที่ได้ทำการสร้างเว็บไซต์ที่เหมือนกันเว็บไซต์ Clubhouse ที่ถูกต้องและเมื่อผู้ใช้ดาวน์โหลดแอปจากเว็บไซต์ตัวเว็บผู้ใช้จะได้รับ Android Package Kit (APK) ของ Clubhouse เวอร์ชันปลอม

ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อของมัลแวร์ “BlackRock” ผู้ใช้ควรทำการหลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดแอปจากเว็บไซต์ที่ไม่รู้เเหล่งที่มา อย่างไรก็ตาม Clubhouse กำลังวางแผนที่จะเปิดตัวแอปเวอร์ชัน Android ซึ่งในขณะนี้มีเพียงแพลตฟอร์มสำหรับผู้ใช้ iOS เท่านั้น ผู้ใช้ Android ควรทำการติดตามข่าวสารของแอปพลิเคชันและควรทำการดาวน์โหลดแอปจาก Google Play เท่านั้น

ที่มา: hackread

แจ้งเตือน “XcodeSpy” มัลแวร์ชนิดใหม่ที่พุ่งเป้าโจมตีในลักษณะ Supply-chain attack กับนักพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS

นักวิจัยจากบริษัท SentinelOne บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ค้นพบมัลแวร์บนโปรเจกต์ Xcode ที่ถูกเรียกว่า “XcodeSpy” ซึ่งกำลังกำหนดเป้าหมายไปยังนักพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS เพื่อทำการโจมตีในลักษณะ Supply-chain attack และเพื่อติดตั้งแบ็คดอร์บนระบบปฏิบัติการ macOS บนคอมพิวเตอร์ของผู้พัฒนา

Xcode เป็นเครื่องมือสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชัน (Integrated Development Environment - IDE) ที่สร้างโดย Apple ซึ่ง Xcode จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชันที่ทำงานบน macOS, iOS, tvOS และ watchOS

นักวิจัยจากบริษัท SentinelOne กล่าวว่าได้ค้นพบ iOS โปรเจกต์ที่มีชื่อว่า TabBarInteraction โดยโปรเจกต์ดังกล่าวเป็นโปรเจกต์ Xcode ที่ถูกต้องสำหรับผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน จากการตรวจสอบโปรเจกต์โดยทีมนักวัยจัยพบว่าผู้ประสงค์ร้ายได้ทำการโคลนโปรเจกต์ TabBarInteraction ที่ถูกต้องและได้เพิ่มสคริปต์ 'Run Script' ที่เป็นอันตรายลงไปยังโปรเจกต์ เมื่อผู้พัฒนาแอปพลิเคชันสร้างโปรเจกต์ code จะเรียกใช้ Run Script โดยอัตโนมัติเพื่อทำการสร้างไฟล์ที่ชื่อว่าว่า .tag ใน /tmp และภายในไฟล์จะมีคำสั่ง mdbcmd เพื่อเปิด Reverse shell กลับไปที่เซิร์ฟเวอร์ของผู้ประสงค์ร้าย นอกจากนี้แบ็คดอร์ยังสามารถทำให้ผู้ประสงค์ร้ายเข้าถึงการอัปโหลดและดาวน์โหลดไฟล์, ดึงข้อมูลหรือดักฟังจากกล้อง, ไมโครโฟนและคีย์บอร์ดของผู้ที่ตกเหยื่อได้อีกด้วย

ทั้งนี้ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันจากซอฟต์แวร์ Xcode ควรระมัดระวังในการใช้งานอย่างมาก และไม่ควรดึงโปรเจกต์จากผู้พัฒนาที่ไม่รู้จักหรือไม่รู้เเหล่งที่มา เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของผู้ประสงค์ร้าย

ที่มา: bleepingcomputer, hackread

แจ้งเตือน! NCC Group พบกลุ่มเเฮกเกอร์พยายามใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ CVE-2021-22986 ในอุปกรณ์ F5 BIG-IP โจมตีอุปกรณ์ที่ไม่ได้รับการอัปเดตแพตช์เป็นจำนวนมาก

ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จากบริษัท NCC Group และนักวิจัยด้านรักษาความปลอดภัยจาก Bad Packets ได้ตรวจพบการพยายามใช้ช่องโหว่ CVE-2021-22986 ในอุปกรณ์ F5 BIG-IP และ BIG-IQ อย่างมากในสัปดาห์ที่ผ่านมา

สืบเนื่องมาจากเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคม F5 Networks ได้เปิดตัว การอัปเดตด้านความปลอดภัยสำหรับช่องโหว่ร้ายเเรงจำนวน 7 รายการในผลิตภัณฑ์ BIG-IP ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่: i-secure

โดยหลังจากที่นักวิจัยด้านความปลอดภัยได้ทำการเผยแพร่โค้ด Proof-of-Concept สำหรับช่องโหว่ทางสาธารณะหลังจากที่ทาง F5 Networks ได้ทำการการแก้ไขช่องโหว่แล้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จาก NCC Group และ Bad Packets ได้สังเกตเห็นกลุ่มแฮกเกอร์หลายกลุ่มเริ่มทำการโจมตีอุปกรณ์ F5 BIG-IP และ BIG-IQ ที่ไม่ได้รับการอัปเดตเเพตช์จำนวนมาก นอกจากนี้ทีม Unit 42 จาก Palo Alto Networks ยังได้พบการพยายามที่จะใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ CVE-2021-22986 เพื่อทำการติดตั้ง Mirai botnet ในรุ่นต่างๆ แต่ในขณะนี้ยังมีไม่ความชัดเจนการโจมตีเหล่านั้นประสบความสำเร็จหรือไม่

สำหรับช่องโหว่ CVE-2021-22986 เป็นช่องโหว่การเรียกใช้โค้ดจากระยะไกลที่ช่วยให้ผู้โจมตีที่ไม่ได้รับการพิสูจน์ตัวตนสามารถรันคำสั่งได้ในส่วน iControl REST interface ซึ่งมีคะแนน CVSS อยู่ที่ 9.8 /10 และมีผลต่ออุปกรณ์ BIG-IP และ BIG-IQ

ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ออกมาแนะนำให้ผู้ดูแลระบบควรรีบทำการอัปเดตเเพตช์โดยด่วนเพื่อป้องกันการตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีจากผู้ประสงค์ร้าย

ที่มา: securityaffairs, bleepingcomputer, thehackernews

ทีม Project Zero พบกลุ่มเเฮกเกอร์พยายามใช้ช่องโหว่ Zero-day จำนวน 11 รายการ ในการโจมตีผู้ใช้ Windows, iOS และ Android

ทีม Project Zero จาก Google ได้เปิดเผยถึงการค้นพบกลุ่มเเฮกเกอร์พยายามใช้ช่องโหว่ Zero-day จำนวน 11 รายการ ในการโจมตีที่กำหนดเป้าหมายไปที่ผู้ใช้ Windows, iOS และ Android

ตามรายงานการโจมตีพบแคมเปญการโจมตีจากกลุ่มแฮกเกอร์เกิดขึ้นในสองช่วงเวลาคือในเดือนกุมภาพันธ์และตุลาคม 2020 ที่ผ่านมา โดยช่องโหว่ Zero-day จำนวน 11 รายการ ที่ถูกใช้ในการโจมตีมีรายละเอียดดังนี้

ช่องโหว่ CVE-2020-6418 - เป็นช่องโหว่ในโมดูล TurboFan ของ Chrome (ถูกแก้ไขช่องโหว่แล้วในกุมภาพันธ์ 2020)
ช่องโหว่ CVE-2020-0938 - เป็นช่องโหว่ใน Font บน Windows (ถูกแก้ไขช่องโหว่แล้วในกุมภาพันธ์ 2020)
ช่องโหว่ CVE-2020-1020 - เป็นช่องโหว่ใน Font บน Windows (ถูกแก้ไขช่องโหว่แล้วในกุมภาพันธ์ 2020)
ช่องโหว่ CVE-2020-1027 - เป็นช่องโหว่ Client Server Run-Time Subsystem (CSRSS) บน Windows (ถูกแก้ไขช่องโหว่แล้วในกุมภาพันธ์ 2020)
ช่องโหว่ CVE-2020-15999 - เป็นช่องโหว่ Freetype Heap buffer overflow บน Chrome (ถูกแก้ไขช่องโหว่แล้วในตุลาคม 2020)
ช่องโหว่ CVE-2020-17087 - เป็นช่องโหว่ Heap buffer overflow ใน cng.

พบช่องโหว่ใน zoom ส่งผลให้ผู้อื่นสามารถเห็นข้อมูลที่ไม่ต้องการแชร์ได้เป็นช่วงเวลาสั้นๆ

ช่องโหว่ดังกล่าวคือ CVE-2021-28133 โดยปกติผู้ใช้งานสามารถเลือกที่จะแชร์หน้าจอเฉพาะส่วนที่ต้องการ, แอพพลิเคชั่นที่ต้องการ หรือเลือกที่จะแชร์หน้าจอทั้งหมด แต่ช่องโหว่ดังกล่าวนี้จะแสดงข้อมูลของแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ให้ผู้เข้าร่วมคนอื่นเห็นเป็นช่วงเวลาสั้นๆ หากแอพพลิเคชั่นดังกล่าวถูกเปิดซ้อนบนแอพพลิเคชั่นที่ถูกแชร์อยู่

ปัญหาดังกล่าวถูกทดสอบบนเวอร์ชั่น 5.4.3 และ 5.5.4 ทั้งบน Windows และ Linux มีการเปิดเผยว่าช่องโหว่ดังกล่าวได้รับการแจ้งไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ปีที่แล้ว และปัจจุบันช่องโหว่ดังกล่าวก็ยังไม่มีการปล่อยแพทช์ออกมา โดย zoom แจ้งว่ารับทราบถึงปัญหาดังกล่าวแล้ว และกำลังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการแก้ไข แม้ว่าข้อมูลดังกล่าวจะถูกแสดงเพียงแค่ระยะเวลาสั้นๆ แต่หากมีการอัดวิดีโอไว้ ก็จะสามารถเปิดย้อนกลับมาเพื่อดูได้

ที่มา: thehackernews

Acer ถูกโจมตีด้วยกลุ่ม REvil Ransomware และถูกเรียกร้องค่าไถ่ที่เป็นจำนวนเงิน 50 ล้านดอลลาร์

Acer บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านคอมพิวเตอร์ถูกโจมตีด้วย REvil Ransomware ซึ่งกลุ่มผู้ประสงค์ร้ายได้เรียกร้องค่าไถ่ที่เป็นจำนวนเงิน 50 ล้านดอลลาร์

BleepingComputer และ Valery Marchive จาก LegMagIT ได้พบตัวอย่างไฟล์จากกลุ่ม REvil ransomware และทำให้สามารถยืนยันการโจมตีได้จากบันทึกค่าไถ่และการสนทนาของตัวเเทน Acer กับผู้โจมตี โดยการโจมตีถูกเริ่มตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา ตัวแทน Acer ได้รับการติดต่อจากตัวเเทนของกลุ่ม REvil Ransomware ที่ได้แชร์ลิงก์ไปยังหน้าข้อมูลที่เผยแพร่ตัวอย่างไฟล์และภาพที่ถูกละเมิดจากเครือข่ายของ Acer ซึ่งถูกปิดเป็นความลับในช่วงเวลาดังกล่าว โดยกลุ่ม REvil ได้แสดงความต้องการค่าไถ่เป็นจำนวนมากถึง 50 ล้านดอลลาร์และยังได้ทำการเสนอส่วนลด 20 % ถ้าหากทาง Acer ชำระเงินภายในวันพุธที่ผ่านมา และจะส่งตัวถอดรหัสกับรายงานช่องโหว่และการลบไฟล์ที่ถูกขโมยออกไปด้วย

Vitali Kremez ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยได้ออกมาแสดงข้อสันนิษฐานกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากแพลตฟอร์ม Andariel cyberintelligence ของ Intel ตรวจพบกลุ่ม Revil ที่ได้กำหนดเป้าหมายไปยังเซิร์ฟเวอร์ Microsoft Exchange บนโดเมนของ Acer การโจมตีดังกล่าวได้ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ ProxyLogon เพื่อปรับใช้ ransomware โดยเหตุการณ์การตรวจจับนี้ยังไม่ได้รับการยืนยันจาก Acer ซึ่งหาก REvil ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ล่าสุดของ Microsoft Exchange เพื่อขโมยข้อมูลหรือเข้ารหัสอุปกรณ์ก็จะเป็นครั้งแรกที่การดำเนินการเรียกค่าไถ่จากการใช้เวกเตอร์นี้ในการโจมตี

ทั้งนี้ผู้ดูแลระบบควรทำการตรวจสอบระบบของท่านอยู่เสมอและควรทำการอัปเดตเเพตช์ความปลอดภัยอยู่เป็นประจำและควรพิจาณาการใช้ไฟล์วอลในระบบของท่าน เพื่อป้องกันการตกเป็นเป้าหมายของผู้ประสงค์ร้าย

ที่มา: bleepingcomputer

LINE อนุญาตให้บริษัทสัญชาติจีนเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน ออกแถลงการณ์ขอโทษแล้ว

งานแถลงข่าวเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ที่ผ่านมา หน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่นประกาศการเข้าตรวจสอบ Z Holdings ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ LINE หลังจากที่สื่อญี่ปุ่นรายงานว่าบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติจีนที่ทำธุรกิจร่วมกันนั้นสามารถเข้าถึงข้อความและข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน LINE ได้

สำนักข่าว The Asashi Shimbun ซึ่งเป็นผู้รายงานข่าวต้นเรื่องได้ออกรายงานว่า วิศวกรชาวจีนจำนวน 4 คนได้มีการเข้าถึงระบบของ LINE เพื่ออ่านข้อความและข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน ได้แก่ ชื่อ, หมายเลขโทรศัพท์, อีเมลแอดเดรสและชื่อ LINE ID โดยวิศวกรทั้ง 4 คนทำงานให้กับบริษัทซอฟต์แวร์ในเซี่ยงไฮ้เกี่ยวกับโครงการ AI ร่วมกับ LINE

ในขณะนี้หน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่นได้ทำการตรวจสอบเหตุการณ์ดังกล่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นของการไม่ปฏิบัติตามนโยบายด้านข้อมูลส่วนบุคคล อีกทั้งหากการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวเกิดขึ้นในลักษณะที่ไม่ได้รับอนุญาต LINE อาจเจอปัญหาเพิ่มเติมจากการไม่เปิดเผยเหตุการณ์ดังกล่าวในรายงาน Transparency report อีก

ในฝั่งของ LINE นั้น The Ashi Shimbun รายงานว่าทาง LINE ไม่พบการเข้าถึงในลักษณะที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือมีลักษณะเป็น Data breach แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม LINE ได้มีการยกเลิกสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลแล้วตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

แม้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะยังมีความไม่ชัดเจนอยู่ในหลายประเด็น ทั้ง LINE และ Z Holding ก็ได้มีการออกจดหมายขอโทษแก่ผู้ใช้งานแล้ว และมีการกล่าวถึงการตรวจสอบเพิ่มเติมที่จะเกิดขึ้นต่อไป

อ่านแถลงจากหน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่น: kantei
รายงานจาก The Asahi Shimbun: asahi
จดหมายขอโทษจาก LINE: linecorp
จดหมายขอโทษจาก Z Holdingz: z-holdings
ที่มา: therecord

Microsoft ออกสคริปช่วยบรรเทาผลกระทบจากช่องโหว่ใน Exchange

Microsoft ออก Exchange On-premises Mitigation Tool (EOMT) ซึ่งเป็นสคริป PowerShell เพื่อช่วยองค์กรขนาดเล็กในการบรรเทาผลกระทบจากช่องโหว่ ProxyLogon ใน Exchange โดยสคริปดังกล่าวรองรับ Exchange 2013, 2016 และ 2019 โดยสคริปดังกล่าวจะ

ตรวจสอบว่ามีช่องโหว่หรือไม่
บรรเทาผลกระทบจากช่องโหว่ CVE-2021-26855 ด้วย URL Rewrite configuration
ดาวน์โหลดและรัน Microsoft Safety Scanner เพื่อค้นหา webshell ที่อาจมีฝังไว้
ลบไฟล์อันตรายที่ Microsoft Safety Scanner พบ

Microsoft ระบุว่าสคริปดังกล่าวเป็นเพียงการบรรเทาผลกระทบชั่วคราวเท่านั้น ผู้ดูแลระบบควรอัปเดตแพตช์จะเป็นการดีที่สุด สามารถอ่านรายละเอียดของสคริปดังกล่าวได้ที่ microsoft

ที่มา msrc-blog

เปิดตัวโครงการ Sigstore ฐานข้อมูลออนไลน์สาธารณะสำหรับข้อมูลการรับรองซอฟต์แวร์

Google, Linux Foundation, RedHat และมหาวิทยาลัย Purdue ได้ร่วมกันเปิดตัวโครงการ Sigstore ภายใต้แนวคิดของที่มีลักษณะคล้ายกับโครงการ Let's Encrypt สำหรับการทำ Code signing

โครงการ Sigstore จะเป็นโครงการฐานข้อมูลการรับรองซอฟต์แวร์, อิมเมจของ Container หรือไบนารี โดยจะเป็นช่องทางให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์สสามารถทำ Code signing กับข้อมูลในโครงการของตัวเองได้ฟรี พร้อมกับเป็นช่องทางที่ให้ผู้ใช้งานคนอื่นสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้บนพื้นฐานของ X509 PKI และการมี Tranparency log ซึ่งคล้ายกับโครงการ Certificate transparency

ในขณะนี้โครงการบางส่วนยังอยู่ในช่วงพัฒนา อาทิ ส่วนสำหรับการมอนิเตอร์การทำ Code signing ใหม่ อย่างไรก็ตามส่วนที่เป็น Ledger (rekor), โปรแกรม cosign สำหรับการทำ Signing กับ Container (cosign) และข้อมูลของ Root CA (fulcio) ได้ถูกเปิดเผยออกมาแล้ว

ผู้ที่สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ sigstore

ที่มา: security

ชาวเกาหลีใต้วัย 20 ถูกตำรวจจับกุมหลังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายของมัลแว์เรียกค่าไถ่ Gandcrab

ตำรวจเกาหลีใต้ประกาศการเข้าจับกุมผู้ต้องสงสัยวัย 20 ปีเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาหลังจากพบหลักฐานซึ่งบ่งชี้ว่าผู้ต้องสงสัยคนนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายมัลแวร์เรียกค่าไถ่ Gandcrab ผ่านการใช้บริการ Ransomware-as-a-Service เพื่อแพร่กระจายมัลแวร์เรียกค่าไถ่ผ่านทางอีเมลกับเป้าหมายในประเทศเกาหลีใต้ กระบวนการสืบสวนถูกดำเนินการผ่านการติดตามลักษณะธุรกรรมของ cryptocurenncy ที่มีการเชื่อมโยงกับบัญชีธนาคารจริง

จากการตรวจสอบ ผู้ต้องสงสัยรายนี้มีพฤติกรรมในการส่งอีเมลกว่า 6,500 ฉบับในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน 2019 โดยปลอมแปลงเอกสารทางราชการในลักษณะต่าง ๆ พร้อมกับแนบไฟล์ของมัลแวร์ Gandcrab เมื่อกระบวนการเข้ารหัสเสร็จสิ้น มัลแวร์เรียกค่าไถ่จะเรียกเงินค่าไถ่เป็นจำนวนประมาณ 1,300 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 40,000 บาทในสกุลบิทคอยน์ การติดตามการโจมตีพบผู้เสียหายแล้วกว่า 120 ราย

แม้ลักษณะการส่งอีเมลเป็นจำนวนมาก ทางหน่วยงานเกาหลีกล่าวว่าผู้ต้องสงสัยทำเงินจากปฏิบัติการได้เพียงแค่ 12 ล้านวอน หรือประมาณ 320,000 บาทเท่านั้น เนื่องจากเขาจะได้รับเงินจากการจ่ายค่าไถ่เพียงแค่ 7% จากมูลค่าทั้งหมดที่ถูกจ่ายผ่านบริการ Ransomware-as-a-Service

ที่มา: therecord