Kaspersky ตรวจพบมัลแวร์ใน UEFI สายพันธุ์ใหม่ คาดพัฒนาโดยกลุ่มแฮกเกอร์จีน

ในกิจกรรม #SASatHome นักวิจัยมัลแวร์ Mark Lechtik และ Igor Kuznetsov จาก Kaspersky ออกมาเปิดเผยการตรวจพบและผลการวิเคราะห์มัลแวร์ในเฟิร์มแวร์ UEFI จากระบบซึ่งถูกโจมตีและมีการแจ้งเตือนจากซอฟต์แวร์ Firmware Scanner ว่ามีโค้ดต้องสงสัยอยู่ข้างใน

จากการตรวจสอบโค้ดดังกล่าวในเฟิร์มแวร์ UEFI ทีม Kaspersky ตรวจพบมัลแวร์ซึ่งมีคุณสมับติในการลักลอบดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรมอันตรายลงสู่ระบบโดยอัตโนมัติเมื่อคอมพิวเตอร์ถูกเปิดใช้งาน ส่วนของมัลแวร์ที่จะถูกดาวน์โหลดมาเพิ่มเติมนั้นถูกเรียกโดย Kaspersky ว่า "MosaicRegressor" malware framework

แม้ว่าการตรวจสอบจะยังไม่สมบูรณ์ Kaspersky พบว่า MosaicRegressor นั้นมีโมดูลในการลักลอบขโมยข้อมูลออกจากระบบ โดยส่วนของโค้ดที่พบในเฟิร์มแวร์ UEFI นั้นอาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งในวิธีการฝังตัวของเฟรมเวิร์ค ทีม Kaspersky ยืนยันการพบโมดูลอื่น ๆ ของ MosaicRegressor แล้ว แต่มีเพียงสองระบบเท่านั้นที่พบโค้ดอันตรายใน UEFI โค้ดของ

ระบบส่วนใหญ่ที่ตรวจพบการมีอยู่ของมัลแวร์นี้โดยส่วนใหญ่นั้นเกี่ยวข้องกับองค์กรระหว่างประเทศและกลุ่ม NGO ในแอฟริกา, เอเชียและยุโรป ด้วยลักษณะและความเกี่ยวข้องของเหยื่อนั้นชี้โยงกลับไปที่เกาหลีเหนือ อย่างไรก็ตามทีม Kaspersky กับพบความเหมือนของโค้ดมัลแวร์กับโค้ดที่ถูกพัฒนาโดยกลุ่มแฮกเกอร์จีน ความเกี่ยวข้องของมัลแวร์และปฏิบัติการในตอนนี้จึงเชื่อมโยงกับไปหากลุ่มแฮกเกอร์จีนมากกว่า

ผู้ที่สนใจรายงานการโจมตีและการวิเคราะห์มัลแวร์สามารถดาวโหลดรายงานฉบับดังกล่าวได้ที่ : Kaspersky

ที่มา : Zdnet

CIA Developed Windows Malware That Alters Boot Sector to Load More Malware

รายงานจากทาง WikiLeaks ระบุเกี่ยวกับ โปรเจค Angelfire ของทาง CIA ซึ่งเป็นการพัฒนา Malware Framework เพื่อนำไปใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการเป็น Windows ส่วนประกอบหลักของ Angelfire มีอยู่ 5 ส่วน คือ Solartime, Wolfcreek, Keystone, BadMFS, และ Windows Transitory File System

ทั้งนี้ Angelfire เป็นเพียงแค่หนึ่งในหลายๆ เครื่องมือที่ทาง CIA พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ hack ระบบคอมพิวเตอร์ Grasshopper, ELSA, AfterMidnight และ Assassin คือ Framework รุ่นก่อนๆ ที่ CIA เคยใช้ในการ hack
เมื่อเทียบกับเครื่องมือตัวอื่นๆ แล้ว Angelfire ยังไม่ใช้เครื่องมือที่ดีมากนัก เพราะยังมีข้อเสียอยู่หลายอย่าง เช่น Security Software บนตัวเครื่องผู้ใช้งานอาจตรวจเจอระบบไฟล์ของ BadMFS จากไฟล์ที่ชื่อว่า “zf” และผู้ใช้งานอาจเห็น popup เมื่อส่วนนึ่งของ Angelfire Framework เกิดการ crash และ Keystone สามารถปลอมเป็น Process ที่อยู่ C:\Windows\system32\svchost.