รู้จัก ThreatIngestor เครื่องมือรวบรวมภัยคุกคามจากแหล่งข้อมูลสาธารณะ

โดยปกติแล้ว นักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์มักจะมีการเผยแพร่ที่เกี่ยวข้องกับ Threat Intelligence หรือข้อมูลภัยคุกคามที่ถูกค้นพบล่าสุดอยู่ในแหล่งข้อมูลสาธารณะอย่าง Twitter หรือเว็บไซต์ของนักวิจัยด้วยความปลอดภัย ซึ่งเราสามารถสกัดเอาข้อมูลภัยคุกคามจากแหล่งข้อมูลสาธารณะมาใช้งานได้ฟรี

เพื่อให้การสกัดเอาข้อมูลภัยคุกคามจากแหล่งข้อมูลสาธารณะสามารถทำได้ง่ายขึ้น ทีมตอบสนองการโจมตีและภัยคุกคาม (Intelligent Response) จะมาแนะนำเครื่องมือสำหรับสกัดและรวบรวมข้อมูลภัยคุกคามจากแหล่งข้อมูลสาธารณะ โดยเครื่องมือนี้มีชื่อว่า ThreatIngestor
ThreatIngestor คืออะไร

ThreatIngestor คือเครื่องมือสำหรับสกัดและรวบรวมข้อมูลภัยคุกคามจากข้อความภายในแหล่งข้อมูลสาธารณะ เช่น RSS feed, Twitter และแหล่งข้อมูลอื่นๆ ถูกสร้างโดย InQuest

ThreatIngestor สามารถรวบรวมข้อมูลได้ทั้งหมด 6 รูปแบบ ได้แก่

Domains ที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคาม
Hashes ที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคาม
IP Addresses ที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคาม โดยรองรับทั้ง IPv4 และ IPv6
URLs ที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคาม
YARA Signatures สำหรับตรวจจับภัยคุกคาม และ
Tasks ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลภัยคุกคามที่จำเป็นต้องใช้นักวิเคราะห์ในการสกัดข้อมูลเอง เช่น ข้อมูลที่อาจมีการฝังอยู่ใน PDF File ทำให้ ThreatIngestor ไม่สามารถสกัดข้อมูลออกมาได้

โดยข้อมูลที่รวบรวมมานั้นสามารถตั้งค่าเพื่อนำไปใช้ต่อได้อย่างหลากหลาย เช่น เขียนลงไฟล์ csv , เชื่อมต่อกับ MISP, เขียนลง database เพื่อนำไปแสดงผลในรูปแบบหน้าเว็บ เป็นต้น

สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลที่ ThreatIngestor รองรับและการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ต่อได้จากหน้า GitHub ของ ThreatIngestor และ คู่มือการใช้งาน ThreatIngestor  
วิธีการติดตั้ง ThreatIngestor
ThreatIngestor ถูกเขียนด้วย Python ทำให้สามารถติดตั้งได้ง่ายผ่านเมนู pip โดยต้องการ Python 3.6+ และ Python development headers จากนั้นใช้คำสั่ง
pip install threatingestor

หรือ

pip install threatingestor[all]
เพื่อติดตั้ง plugin พร้อมกับ ThreatIngestor 

นอกจากนี้หากต้องการให้ ThreatIngestor ดึงค่าจาก RSS Feed ต้องติดตั้ง feedparser เพิ่มเติมด้วย
pip install feedparser
และหากต้องการนำผลลัพธ์ไปแสดงผลในรูปแบบหน้าเว็บ web interface ที่มาพร้อมกับ ThreatIngestor ต้องติดตั้ง hug เพิ่มเติมด้วย
pip install hug
ซึ่งสามารถศึกษาวิธีติดตั้งได้จากคู่มือการติดตั้ง
วิธีการใช้งาน ThreatIngestor
ThreatIngestor ทำงานร่วมกับไฟล์ config.

รู้จักแพลตฟอร์มแชร์ข้อมูลภัยคุกคาม Malware Information Sharing Platform (MISP) และการตั้งค่าเบื้องต้น

คำว่า Threat Intelligence หรือ ข้อมูลภัยคุกคาม นั้นมักเป็นคำที่ถูกใช้และพูดถึงกันอย่างแพร่หลายในแวดวงความปลอดภัยไซเบอร์ การครอบครองข้อมูลภัยคุกคามนั้นยิ่งข้อมูลมีคุณภาพมากเท่าไหร่และมาถึงเราเร็วมากเท่าไหร่ ความเป็นต่อในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม Threat Intelligence หรือ ข้อมูลภัยคุกคามมักถูกมองว่าเป็นโซลูชันหรือผลิตภัณฑ์ที่มีราคาแพง โดยเฉพาะข้อมูลภัยคุกคามเฉพาะภาคส่วนหรือข้อมูลภัยคุกคามที่มีที่มาจาก Dark Web ดังนั้นในบทความนี้ทีมตอบสนองการโจมตีและภัยคุกคาม (Intelligent Response) จะมานำเสนออีกด้านหนึ่งของการรับและใช้งานข้อมูลภัยคุกคามที่ฟรีและยังการันตีได้ถึงคุณภาพอีกด้วย ผ่านแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า Malware Information Sharing Platform หรือ MISP ครับ

MISP คืออะไร?
MISP คือโครงการโอเพนซอร์สที่ทำให้เราสามารถรับ ส่งและเผยแพร่ข้อมูลของภัยคุกคามได้ระหว่างระบบ MISP ด้วยกัน รวมไปถึงมีฟีเจอร์ที่ทำให้เราสามารถส่งข้อมูลภัยคุกคามไปยังระบบหรืออุปกรณ์อื่นๆ ระบบ MISP ยังสามารถถูกใช้เพื่อจัดเก็บ ค้นหาและเชื่อมความสัมพันธ์โดยใช้ตัวบ่งชี้ภัยคุกคาม (Indicator of Compromise - IOC) เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์การโจมตีที่เกิดขึ้นได้ด้วย
ติดตั้ง MISP ได้อย่างไรบ้าง?
MISP สามารถติดตั้งได้จากหลายช่องทาง ได้แก่

ติดตั้ง MISP โดยใช้ Vagrant
ติดตั้ง MISP โดยใช้ Docker 
ติดตั้ง MISP โดยใช้ Puppet
ติดตั้ง MISP โดยใช้ Ansible
ติดตั้ง MISP แบบอัตโนมัติด้วยสคริปต์ AutoMISP
ใช้ Cloud Image (เฉพาะ AWS)
ติดตั้งแบบ manual โดยใช้คู่มือของแต่ละระบบปฏิบัติการ

สำหรับใครที่แค่อยากลองใช้เฉยๆ ไม่อยากติดตั้งอะไรมากมาย ก็สามารถเลือกใช้ MISP ในรูปแบบของ virtual machine ซึ่งซัพพอร์ตทั้ง VMware และ VirtualBox ได้จากที่นี่
เริ่มดึงข้อมูลจากฟีดภัยคุกคามฟรี
ทุกๆ MISP instance ที่ติดตั้งจะมีรายการของฟีดภัยคุกคามฟรีพร้อมใช้งานมาให้ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถทำการ Cache ข้อมูลที่มีอยู่แล้วมาอยู่บน instance ของเราและใช้งานต่อได้ทันที โดยดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

เลือก Sync Actions ที่ Menu Bar จากนั้นเลือกที่แท็บ List Feeds
ที่หน้าต่าง Feeds - MISP จะมีรายการของฟีดที่เราสามารถดึงข้อมูลมาใช้งานได้อยู่ โดยทั่วไปนั้นจะไม่มีการดึงฟีดใดๆ มาเป็นค่าเริ่มต้น
ผู้ใช้งานสามารถเลือกดึงข้อมูลจากฟีดได้ โดยทำการเลือกแหล่งของฟีดที่ต้องการเปิด หลังจากนั้นจะปรากฎตัวเลือกให้เปิดการดึงฟีดขึ้นมา ทำการเลือก Enable selected และ Enable caching for selected เมื่อเลือกฟีดที่ต้องการใช้งานเสร็จสิ้น
คลิก Fetch and store all feed data ระบบ MISP จะเริ่มทำการดึงข้อมูลจากฟีดที่เราเลือกมาบนระบบ หรือ instance ของเรา

การตั้งค่าเกี่ยวกับ Feeds เพิ่มเติมสามารถดูได้จาก Managing Feeds
สร้างข้อมูลภัยคุกคามเพื่อเผยแพร่
ภายใต้ระบบของ MISP นั้น ตัวบ่งชี้ภัยคุกคามซึ่งโดยส่วนมากเป็นข้อมูลในลักษณะของ machine-readable นั้นจะถูกผูกภายใต้เหตุการณ์ (Event) ซึ่งแตกต่างกับข้อมูลภัยคุกคามแบบไร้รูปแบบที่ตัวบ่งชี้ภัยคุกคามจะถูกเผยแพร่เพียงอย่างเดียว ไม่มีข้อมูลแวดล้อมอื่นๆ ประกอบแต่อย่างใด

ดังนั้นหากเราต้องการเผยแพร่ข้อมูลภัยคุกคามที่เราเจอบ้าง เราสามารถทำได้โดย

ที่ Menu Bar เลือก Add Event
ที่หน้าต่าง Add Event ให้ทำการระบุข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เราพบตามหัวข้อดังต่อไปนี้

วันที่และเวลา (Date)
รูปแบบการเผยแพร่ข้อมูล (Distribution) โดยสามารถเลือกได้ว่าจะเผยแพร่เฉพาะภายในองค์กร เผยแพร่เฉพาะให้กับกลุ่มที่มีการเชื่อมต่อหรือเผยแพร่แบบไม่มีข้อจำกัด
ระดับของภัยคุกคาม (Threat Level)
สถานะการวิเคราะห์ (Analysis)
รายละเอียดของเหตุการณ์ (Event Info)

เพิ่มข้อมูลตัวบ่งชี้ภัยคุกคามหรือ Attribute ให้แก่ Event นั้นๆ โดยเลือกที่เครื่องหมายบวกบริเวณรายการ Attributes
ที่หน้า Add Attribute ให้ทำการระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวบ่งชี้ภัยคุกคามตามหัวข้อดังต่อไปนี้

กลุ่มของ Attribute (Category)
ประเภทของ Attribute (Type) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับกลุ่มของ Attribute ที่เลือก
รูปแบบการเผยแพร่ข้อมูล (Distribution) โดยสามารถตั้งค่าให้เหมือนหรือแตกต่างกับการตั้งค่าของเหตุการณ์ได้
ระบข้อมูลตัวบ่งชี้ภัยคุกคามลงในช่อง Value
ระบุรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวบ่งชี้ภัยคุกคามได้ในช่อง Contextual Comment

หากต้องการให้เหตุการณ์และข้อมูลที่เราเพิ่มเข้าไปนั้นสามารถถูกแชร์และเข้าถึงได้ ให้ทำการเผยแพร่เหตุการณ์และข้อมูลที่เราเพิ่มเข้าไปด้วยตัวเลือก Publish event ด้วย
รับ-ส่งข้อมูลระหว่าง MISP Instance
ความสามารถที่โดดเด่นอย่างหนึ่งของ MISP คือการเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อเพื่อรับ-ส่งข้อมูลภัยคุกคามกับ MISP instance อื่นๆ

ในตัวอย่างด้านล่างนั้นองค์กร B (OrgB) ได้มีการสร้าง MISP instance เป็นของตนเองในชื่อ ServerB และต้องการที่จะ synchronize กับ ServerA ซึ่งเป็นขององค์กร A (OrgA) ดังนั้นจะต้องมีการดำเนินการดังต่อไปนี้

ที่ ServerA ให้ผู้ดูแลระบบทำการเพิ่ม Organization ใหม่สำหรับ OrgB ไว้ภายใต้ ServerA
ทำการสร้างบัญชีผู้ใช้งานใหม่เพื่อเป็น Sync User ซึ่งผูกไว้กับ OrgB บน ServerA
ที่ ServerB ทำการเพิ่ม MISP instance ปลายทางที่เราจะเชื่อมต่อด้วย (ในกรณีนี้คือ ServerA) โดยใช้ AuthKey ของ Sync User บน ServerA ในการยืนยันตัวตน

เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนด้านบนเสร็จสิ้น ฝั่ง ServerB จะมีการปรากฎของปุ่มเพื่อทดสอบการเชื่อมต่อ หากการตั้งค่าทุกอย่างถูกต้องและเชื่อมต่อถึงกันได้ สถานะของระบบปลายทางจะปรากฎตามตัวอย่างด้านล่าง

ในกรณีที่ ServerA มีการดึงข้อมูลจาก MISP instance อื่นมา หากการตั้งค่า Distribution ของเหตุการณ์หรือข้อมูลภัยคุกคามนั้นไม่จำกัดเฉพาะภายใน Organization ปัจจุบันของเรา ServerB ซึ่งเชื่อมต่อเข้ามาก็จะดึงข้อมูลไปได้เช่นเดียวกัน

ทั้งนี้รูปแบบของการดึงข้อมูลจะเสมือนกับการสร้างสำเนาของข้อมูลที่มีค่า UUID เดียวกัน การแก้ไขใดๆ กับข้อมูลภัยคุกคามซึ่งอยู่ MISP instance เรานั้นจะไม่กระทบกับข้อมูลที่ผู้สร้างกำหนดไว้ตั้งแต่แรก จนกว่าเราจะทำการ Propose การแก้ไขของเราไปยังต้นน้ำ
สรุป
Malware Intelligence Sharing Platform (MISP) เป็นแพลตฟอร์มอย่างง่ายที่ช่วยให้ผู้ใช้งานหรือองค์กรเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อบกับภัยคุกคามได้แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมไปถึงสามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ Threat Intelligence ภายในองค์กรได้อย่างประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามนอกจากเทคโนโลยีแล้ว องค์กรควรมีการคำนึงถึงกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภัยคุกคามและการนำไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไปด้วย