Adobe เเก้ไขช่องโหว่ระดับ “Critical” จำนวน 18 รายการในผลิตภัณฑ์ InDesign และ Framemaker

 

Adobe ได้เปิดตัวแพตซ์การอัปเดตด้านความปลอดภัยเพื่อแก้ไขช่องโหว่ระดับ “Critical” จำนวน 18 รายการที่อาจทำให้ผู้โจมตีสามารถรันโค้ดได้โดยไม่ได้รับอนุญาตบนอุปกรณ์ที่ใช้ Adobe InDesign, Adobe Framemaker และ Adobe Experience Manager เวอร์ชันที่มีช่องโหว่ โดยช่องโหว่ที่มีความสำคัญมีดังนี้

ช่องโหว่สำหรับผลิตภัณฑ์ Adobe InDesign ได้รับการเเก้ไขช่องโหว่จำนวน 5 รายการถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2020-9727, CVE-2020-9728, CVE-2020-9729, CVE-2020-9730 และ CVE-2020-9731ช่องโหว่เป็นประเภท Memory Corruption ช่องโหว่จะทำให้ผู้โจมตีสามารถโค้ดได้โดยไม่ได้รับอนุญาต ช่องโหว่นี้มีจะส่งผลกรทบกับ Adobe InDesign สำหรับ macOS ผู้ใช้ Adobe InDesign สำหรับ macOS ควรทำการอัปเดตเป็นเวอร์ชัน 15.1.2 เพื่อแก้ไขช่องโหว่นี้
ช่องโหว่สำหรับผลิตภัณฑ์ Adobe Framemaker ได้รับการเเก้ไขช่องโหว่จำนวน 2 รายการถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2020-9726 และ CVE-2020-9725 ช่องโหว่เป็นประเภท Out-of-Bounds Read และ Stack-based Buffer Overflow ช่องโหว่จะทำให้ผู้โจมตีสามารถโค้ดได้โดยไม่ได้รับอนุญาต ช่องโหว่นี้มีจะส่งผลกระทบกับ Adobe Framemaker สำหรับ Windows ผู้ใช้ควรทำการอัปเดต Adobe Framemaker ให้เป็นเวอร์ชัน 2019.0.7 เพื่อแก้ไขช่องโหว่นี้
ช่องโหว่สำหรับผลิตภัณฑ์ Adobe Experience Manager ได้รับการเเก้ไขช่องโหว่จำนวน 11 รายการถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2020-9732, CVE-2020-9733, CVE-2020-9734, CVE-2020-9735, CVE-2020-9736, CVE-2020-9737, CVE-2020-9738, CVE-2020-9740, CVE-2020-9741, CVE-2020-9742 และ CVE-2020-9743 ช่องโหว่เป็นประเภท Cross-Site Scripting (XSS) ช่องโหว่จะทำให้ผู้โจมตีสามารถเรียกใช้ JavaScript ในเบราว์เซอร์และอาจนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลที่สำคัยได้ ช่องโหว่จะส่งผลกระทบกับผู้ติดตั้ง Adobe Experience Manager ก่อนเวอร์ชั่น 6.5.6.0 หรือ 6.4.8.2 และผู้ใช้ AEM Forms add-on ผู้ใช้ควรทำการอัปเดตเเพตซ์ AEM เป็นเวอร์ชั่น 6.5.6.0 หรือ 6.4.8.2 และทำการอัปเดตเเพตซ์ AEM Forms add-on Service Pack เพื่อทำการเเก้ไขช่องโหว่ดังกล่าว

ทั้งนี้ Adobe ได้ออกคำเเนะนำให้ผู้ใช้ควรทำการอัปเดตผลิตภัณฑ์ของ Adobe ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อป้องกันผู้ประสงค์ร้ายใช้ประโยชน์จากช่องโหว่เป็นช่องทางในการโจมตีระบบของผู้ใช้

ที่มา: bleepingcomputer.

Unsecured Adobe Server Exposes Data for 7.5 Million Creative Cloud Users

บริษัทซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ของสหรัฐอเมริกาชื่อ Adobe ประสบปัญหาด้านการรักษาความปลอดภัยอย่างรุนแรงเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ซึ่งมีการเปิดเผยข้อมูลของผู้ใช้งาน จากบริการ Creative Cloud ที่เป็นนิยมในตอนนี้ ด้วยจำนวนสมาชิกที่ใช้บริการประมาณ 15 ล้านคน

Adobe Creative Cloud หรือ Adobe CC เป็นการบริการให้สมาชิกสามารถใช้งานซอฟต์แวร์ของ Adobe ได้โดยการเช่า เช่น Photoshop, Illustrator, Premiere Pro, InDesign, Lightroom และอีกมากมาย

เมื่อต้นเดือนนี้ Bob Diachenko นักวิจัยด้านความปลอดภัยได้ร่วมมือกับบริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ Comparitech ค้นพบฐานข้อมูล Elasticsearch ที่ไม่มีการตั้งรหัสผ่านของบริการ Adobe Creative Cloud ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ต้องใช้รหัสผ่านหรือผ่านการตรวจสอบ

ข้อมูลที่เปิดเผยจากฐานข้อมูลซึ่งขณะนี้มีข้อมูลส่วนตัวของบัญชีผู้ใช้งาน Adobe Creative Cloud อยู่เกือบ 7.5 ล้านบัญชี ข้อมูลที่ถูกเปิดเผยจากบริการ Creative Cloud ได้แก่ ที่อยู่อีเมล วันที่สมัครสมาชิก ผลิตภัณฑ์ Adobe ที่สมัครเป็นสมาชิก สถานะการสมัครสมาชิก สถานะการชำระเงิน รหัสสมาชิก ประเทศ เวลาการเข้าสู่ระบบล่าสุด และสมาชิกดังกล่าวเป็นพนักงานของ Adobe หรือไม่

ไม่มีข้อมูลทางการเงินรั่วไหล แต่จากข้อมูลที่รั่วไหลออกมา สามารถนำข้อมูลผู้ใช้งาน Adobe Creative Cloud ไปทำอีเมลฟิชชิงเพื่อหลอกลวงผู้ใช้งานได้ Comparitech กล่าวในบล็อกโพสต์" อาชญากรไซเบอร์อาจทำตัวเหมือน Adobe หรือ บริษัท ที่เกี่ยวข้องและหลอกให้ผู้ใช้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเช่น รหัสผ่านส่วนตัว

Diachenko ที่ค้นพบฐานข้อมูลที่รั่วไหลแจ้งให้ Adobe ทราบทันทีในวันที่ 19 ตุลาคม

บริษัท Adobe ได้มีมาตรการการแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วโดยปิดการเข้าถึงฐานข้อมูลที่เป็นสาธารณะในวันเดียวกัน ตามรายงานของบล็อกที่เผยแพร่โดย Adobe ในวันศุกร์

ปลายสัปดาห์ที่แล้ว Adobe ได้ตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่เกิดขึ้นจากข้อผิดพลาด ได้มีการปิดระบบที่ที่มีการทำงานที่ผิดพลาดโดยทันทีเพื่อแก้ไขปัญหาช่องโหว่ที่เกิดขึ้น

ปัญหานี้ไม่มีส่งผลกระทบต่อการทำงานของผลิตภัณฑ์หรือบริการหลักของ Adobe แต่อย่างใดแต่ทาง Adobe ได้มีการตรวจสอบกระบวนการพัฒนา เพื่อช่วยป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

สิ่งที่ผู้ใช้ควรทำ

ผู้ใช้ส่วนใหญ่ควรระวังอีเมลที่เป็นฟิชชิ่ง ซึ่งจะเป็นขั้นตอนต่อไปที่อาชญากรไซเบอร์ทำหลังจากได้ข้อมูลข้องผู้ใช้งาน เพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัวเช่นรหัสผ่านและข้อมูลทางการเงิน

แม้ว่าฐานข้อมูลจะไม่เปิดเผยข้อมูลทางการเงินใดๆ แต่ก็เป็นความคิดที่ดีที่ผู้ใช้งานควรจะระมัดระวังและคอยสังเกตการณ์ธนาคารของคุณและใบแจ้งยอดการชำระเงินการทำกิจกรรมทางการเงิน หากพบสิ่งที่ผิดปกติควรรีบแจ้งไปยังธนาคารทันที

Adobe ได้แนะนำให้ผู้ใช้งานเปิดการใช้งาน two-factor authentication เพื่อช่วยรักษาข้อมูลของผู้ใช้งานให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ที่มา thehackernews