นอกจากกลุ่ม Sandworm และ APT28 หรือที่รู้จักกันในชื่อ Fancy Bear กลุ่มแฮ็กเกอร์ชาวรัสเซียอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล APT29 กำลังใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ CVE-2023-38831 ใน WinRAR สำหรับการโจมตีทางไซเบอร์ (more…)
แฮ็กเกอร์รัสเซียใช้ฟีเจอร์ Ngrok และ WinRAR โจมตีสถานทูต
Ransom Demands Return: New DDoS Extortion Threats From Old Actors Targeting Finance and Retail
Akamai security ออกเเจ้งเตือนถึงการขู่การโจมตี DDoS Attack ที่กำหมดเป้าหมายไปยังธุรกิจธนาคาร, การเงินและการค้าปลีก
ทีมวิจัย Security Intelligence Research Team (SIRT) จาก Akamai security intelligence & threat research ได้ออกมาเเจ้งเตือนถึงภัยคุกคามจากกลุ่มที่อ้างตัวว่าเป็นกลุ่ม Fancy Bear และ Armada Collective ซึ่งได้ทำการข่มขู่และตั้งเป้าหมายทำปฏิบัติการโจมตี DDoS Attack ในภาคธุรกิจธนาคาร, กลุ่มการเงินและธุรกิจการค้าปลีก
ทีม SIRT กล่าวว่าการข่มขู่นั้นเริ่มต้นจากอีเมลโดยมีข้อความระบุว่าถึงการเตือนการโจมตี DDoS Attack ที่กำลังจะเกิดขึ้นกับบริษัทเว้นแต่จะมีการจ่ายเงินค่าไถ่เป็น Bitcoin ซึ่งในบางกรณีอีเมลยังเตือนว่าหากมีการเปิดเผยข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการโจมตีสู่สาธารณะเมื่อใดการโจมตีจะเริ่มต้นขึ้นทันที ข้อความลักษณะนี้นั้นมีความคล้ายคลึงกับแคมเปญขู่กรรโชกทรัพย์ด้วยการโจมตี DDoS Attack ล่าสุดที่ถูกบันทึกไว้ในเดือนพฤศจิกายน 2019
ในข้อเรียกร้องและการจ่ายเงินนั้นจะเห็นว่ากลุ่ม Armada Collective ต้องการค่าไถ่เริ่มต้นที่ 5 BTC และเพิ่มเป็น 10 BTC ถ้าหากเลยกำหนดเวลาจ่ายและจะเพิ่มขึ้น 5 BTC ในแต่ละวันหลังจากนั้น ส่วนกลุ่ม Fancy Bear นั้นจะเริ่มต้นที่ 20 BTC และจะเพิ่มเป็น 30 BTC หากเลยกำหนดเวลาจ่ายพร้อมกับเพิ่มอีก 10 BTC ในแต่ละวัน
ทั้งนี้ในอีเมล์ยังระบุว่าจะมีการทดสอบโจมตี DDoS Attack กับเป้าหมายเพื่อพิสูจน์ความร้ายเเรงของการโจมตีซึ้งผู้โจมตีอ้างว่าพวกเขาสามารถทำการโจมตี DDoS Attack ได้ถึง 2Tbps
Akamai SIRT ได้ออกข้อเเนะนำให้องค์กรหรือบริษัทที่ตกเป็นเป้าหมายไม่ให้ทำการจ่ายเงินค่าไถ่จากการข่มขู่เพราะไม่มีการรับประกันว่าผู้โจมตีที่ทำการข่มขู่นั้นจะหยุดการโจมตีและอาจเป็นการสนับสนุนให้ผู้โจมตีทำการโจมตีต่อองค์กรอื่นๆ ต่อไป ทั้งนี้องค์กรหรือบริษัทที่ตกเป็นเป้าหมายควรทำการวางเเผนที่เตรียมพร้อมสู่สถานะการถ้าหากเกิดการโจมตีว่าจะต้องมีขึ้นตอนการรับมือยังไง เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบส่วนต่างๆ มีความพร้อมไหมรวมถึงถ้าหากเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเกิดการลาหรือเจ็บป่วยก็ควรต้องวางเเผนหาคนรับผิดชอบหน้าที่เเทน เพื่อเป็นการป้องกันและเตรียมพร้อมสู่สถานการณ์จริง
ที่มา : blogs.
How Microsoft Cleverly Cracks Down On “Fancy Bear” Hacking Group
การ hack กลุ่มแฮคเกอร์กลับนั้นไม่ใช่สิ่งที่ทาง Microsoft ผู้ซึ่งพยายามที่จะปกป้องลูกค้าจากเหล่าแฮคเกอร์ อาชญากรไซเบอร์ หรือกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐนั้นเลือกที่จะทำ ซึ่งทาง Microsoft เองเลือกที่จะใช้ตัวกฎหมายเป็นเครื่องมือในการจัดการกับแฮคเกอร์กลุ่มใหญ่ที่มีชื่อว่า Fancy Bear โดยทางองค์กรได้ทำการขโมยข้อมูลเซิร์ฟเวอร์จากความช่วยเหลือของตัวกฎหมาย Microsoft ให้ทีมกฎหมายฟ้อง Fancy Bear ในศาสสรัฐบาลกลางนอก Washington DC
Fancy Bear คือกลุ่ม hacker ที่รู้จักกันในอีกหลายๆ ชื่อ เช่น APT28, Sofacy, Sednit, และ Pawn Storm เริ่มมีการเคลื่อนไหวตั้งแต่ปี 2007 และเคยถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการพยายามแฮคข้อมูลของคณะกรรมการพรรคเดโมแครต หรือ Democratic National Committee (DNC) เป็นที่เชื่อกันว่ากลุ่มแฮคเกอร์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับหน่วยสืบราชการลับของรัสเซียแม้ว่าทาง Microsoft ยังไม่พบการเชื่อมต่อใดๆ ระหว่างสองฝ่ายนี้ Fancy Bear เลือกจะที่ใช้ Domain Name ที่มีความคล้ายกับ domain ที่ทาง Microsoft ให้บริการอยู่ จึงทำให้ Microsoft สามารถใช้จุดนี้ทำให้กลุ่ม Fancy Bear ถูกนำตัวมาขึ้นศาล
ความตั้งใจของ Microsoft ไม่ใช่การนำตัวแฮคเกอร์เหล่านี้มาขึ้นศาล แต่ว่าต้องการที่จะเป็นเจ้าของ domain ของ Fancy Bear ซึ่งทำหน้าที่เป็น command-and-control เซิร์ฟเวอร์ ถึงแม้ว่า Microsoft จะไม่ได้สิทธิ์ครอบครองอย่างเต็มตัว แต่เมื่อปีที่ผ่านมาศาลตัดสินให้ Domain Name registrars ที่ชื่อ "compelling them to alter" ซึ่งเป็น DNS ของอย่างน้อย 70 domains ของ Fancy Bear ให้วิ่งไปที่เซิร์ฟเวอร์ที่ถูกควบคุมโดย Microsoft ซึ่งต่อมา Microsoft ใช้คดีความนี้เป็นเครื่องมือในการช่วยสร้าง Sinkhole Domains ซึ่งทำให้หน่วยอาชญากรรมดิจิตอลขององค์กรสามารถใช้เฝ้าสังเกตุการณ์พฤติกรรมได้
ที่มา : thehackernews