กลุ่มแฮ็กเกอร์ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ SSRF บน Ivanti เพื่อติดตั้ง DSLog backdoo

กลุ่มแฮ็กเกอร์ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ server-side request forgery (SSRF) บน Ivanti Connect Secure, Policy Secure และ ZTA gateways ในการติดตั้ง DSLog backdoor ใหม่บนอุปกรณ์เหยื่อ

ช่องโหว่นี้มีหมายเลข CVE-2024-21893 ถูกเปิดเผยครั้งแรกในรูปแบบ Zero-Day ที่กำลังถูกใช้ในการโจมตีในวันที่ 31 มกราคม 2024 พร้อม ๆ กับการอัปเดตความปลอดภัย และวิธีการรับมือกับภัยคุกคามจาก Ivanti

ช่องโหว่ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อ SAML component (Security Assertion Markup Language) ซึ่งทำให้แฮ็กเกอร์สามารถข้ามขั้นตอนในการยืนยันตัวตน (Bypass authentication) และสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกควบคุมไว้ได้บน Ivanti gateways เวอร์ชัน 9.x และ 22.x

การอัปเดตที่สามารถแก้ไขช่องโหว่นี้ได้คือ Ivanti Connect Secure เวอร์ชัน 9.1R14.4, 9.1R17.2, 9.1R18.3, 22.4R2.2, 22.5R1.1 และ 22.5R2.2, Ivanti Policy Secure เวอร์ชัน 22.5R1.1 และ ZTA เวอร์ชัน 22.6R1.3

ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2024 Shadowserver ผู้ให้บริการเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์ออกมารายงานว่า พบกลุ่มแฮ็กเกอร์หลายกลุ่มพยายามที่จะโจมตีโดยใช้ช่องโหว่นี้ โดยที่บางกลุ่มใช้ PoC หรือ proof-of-concept ซึ่งถูกเปิดเผยโดย Rapid7 ในการโจมตี ทั้งนี้ยังไม่มีรายงานในส่วนของอัตราความสำเร็จของการโจมตี ณ ช่วงเวลานั้น

รายงานฉบับใหม่จาก Orange Cyberdefense ออกมายืนยันถึงความสำเร็จของการโจมตีช่องโหว่ CVE-2024-21893 สำหรับการติดตั้ง backdoor ตัวใหม่ที่มีชื่อว่า DSLog ซึ่งทำให้กลุ่มแฮ็กเกอร์สามารถ execute คำสั่งจากระยะไกล บนเครื่อง Ivanti เซิร์ฟเวอร์ที่ถูกโจมตีได้

Orange ยังระบุเพิ่มเติมว่าสังเกตพบ backdoor ตัวใหม่นี้ในครั้งแรก ตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2024 หลังจากวิเคราะห์ อุปกรณ์ที่ถูกโจมตี ซึ่งได้ดำเนินการลดผลกระทบด้วย XML mitigation ตามที่ Ivanti แนะนำ (บล็อก API endpoints ทั้งหมด) แต่ยังไม่ได้อัปเดตแพตซ์

DSLog backdoor

จากการตรวจสอบ Log บนอุปกรณ์ Ivanti ที่ถูกโจมตีแล้วนั้น กลุ่มนักวิจัยจาก Orange พบ backdoor ถูกป้อนคำสั่งเพิ่มเติมใส่ code บนอุปกรณ์ โดยการขอยืนยันตัวตนผ่าน SAML ซึ่งประกอบด้วยหลายคำสั่งภายในที่ถูก encoded ไว้แล้ว

ซึ่งคำสั่งเหล่านี้นั้นสามารถถูกเรียกใช้งานเพื่อเปิดเผยข้อมูลของระบบภายใน และทำให้สามารถเข้าถึงไฟล์ได้จากภายนอก (index2.txt) แสดงให้เห็นว่าจุดประสงค์ของแฮ็กเกอร์คือการเก็บ และรวบรวมข้อมูลภายในก่อนการโจมตี และยืนยันได้ว่าถูกเข้าถึงสิทธิ์ Root แล้ว

ภายใต้คำสั่งผ่านระบบ SAML นั้นแสดงให้เห็นถึงการพยายามที่จะรักษาความปลอดภัยสิทธิ์การอ่าน/เขียนระบบไฟล์บนอุปกรณ์ที่ถูกโจมตี, การตรวจจับการแก้ไข logging script อย่างถูกต้อง (DSLog.