ภัยพิบัติที่เกิดจากภัยภายในองค์กร

ในปัจจุบันเราจะเห็นข่าวข้อมูลรั่วไหลจากองค์กรและบริษัทต่างๆมากมาย ข้อมูลที่หลุดออกมาไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลแผนการตลาด, ข้อมูลของลูกค้าที่ใช้บริการ, ข้อมูลบัตรเครดิตของลูกค้า, ข้อมูลเงินเดือนของพนักงาน และอื่นๆอีกมากมาย ส่งผลให้องค์กรหรือบริษัทเหล่านั้นสูญเสียและมีผลกระทบมากมาย โดยสิ่งที่องค์กรเหล่านั้นสูญเสียนั้นมีหลายๆสิ่งที่ไม่สามารถตีค่าเป็นตัวเงินได้ ไม่ว่าจะเป็น ความน่าเชื่อถือขององค์กร, ความเชื่อมั่นของลูกค้า, ชื่อเสียงขององค์กร, โอกาสในการทำธุรกิจ, ความสามารถในการสู้ในเชิงการค้า และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก อาจจะมากกว่าเวลาทั้งหมดที่ใช้หรือก่อตั้งองค์กรนั้นๆขึ้นมาก็เป็นได้ ทำให้บริษัทต่างๆล้วนเห็นความสำคัญต่อ Cyber Security หรือการป้องกันการโจรกรรมข้อมูลต่างๆจากแฮคเกอร์ โดยถือว่าเป็นภัยคุกคามจากภายนอก แต่หารู้ไม่ว่าภัยจากภายในองค์กรก็น่ากลัวไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภัยคุกคามจากภายนอกเลยทีเดียว

ในช่วงเดือนมกราคม 2014 เกิดเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลซึ่งถือเป็นภัยภิบัติต่อชาวเกาหลีใต้เลยก็ว่าได้ เมื่อข้อมูลบัตรเครดิตจำนวน 105.8 ล้านใบและข้อมูลของเจ้าของบัตรจำนวน 15-20 ล้านรายถูกพนักงานที่เป็น Software Engineer ทำสำเนาออกไปด้วย USB Drive จาก 3 สถาบันการเงินของเกาหลีใต้คือ KB Kookmin Card, Lotte Card, และ NH Nonghyup โดยเหตุการณ์นี้นับว่าเป็นการรั่วไหลข้อมูลครั้งใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้เลยทีเดียว โดยเมื่อข่าวปรากฎขึ้นพบว่ามีลูกค้าถึงห้าแสนรายยื่นเรื่องขอทำบัตรใหม่แล้วและอีกทั้งยังมีกลุ่มลูกค้าอีก 130 คนยื่นเรื่องขอฟ้องแบบกลุ่มต่อบริษัทบัตรเครดิต และส่งผลให้ผู้บริหาร 27 คนได้ยื่นใบลาออก รวมถึง CEO ของ NH Nonghyup Card และผู้บริหารระดับสูงหลายคน ยื่นใบลาออกเพื่อรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเลยทีเดียว

ข้อมูลที่ถูกนำออกมาได้ถูกขายไปแล้วอย่างน้อยสองครั้ง โดยหลังจากตำรวจสามารถตามจับพนักงานคนดังกล่าวและผู้ซื้อรายหนึ่งได้แล้ว พบว่าการกระทำผิดนี้ทำมาแล้วเป็นเวลา 1 ปีครึ่งเลยทีเดียว โดยพนักงานคนดังกล่าวกล่าวว่าได้เขียนโปรแกรมสำหรับการหลบเลี่ยงการตรวจจับการโกงเงิน (anti-fraud software) ขึ้นในขณะที่ทำสำเนาข้อมูลจากเครื่องของสถาบันมาสู่ USB Drive ของพนักงานคนดังกล่าว

การเกิดเหตุรั่วไหลครั้งนี้ส่งผลต่อแบรนด์(Brand) และความน่าเชื่อถืออย่างมาก มีหลายบริษัทที่ต้องล้มละลายหรือไม่สามารถกลับมายืนในธุรกิจได้ เนื่องด้วยไม่สามารถกู้ชื่อเสียงกลับมาได้นั่นเอง โดยการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลเหล่านี้เราสามารถทำได้ด้วยการคอย audit พนักงานที่ทำงานกับข้อมูลที่สำคัญเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอและติดตั้งระบบตรวจจับพฤติกรรมที่ผิดปกติของผู้ใช้งาน เพื่อคอยสอดส่องการใช้งานต่างๆ ซึ่งในกรณีนี้ พนักงานที่เป็นผู้ร้ายจำเป็นต้องมีสิทธิ์การเข้าถึงระบบงานและสำเนาข้อมูลออกมาจำนวนมาก หากเราตั้งค่าของระบบเตือนภัยให้มีการเตือน(Alert) เมื่อผู้ใช้งานมีการสำเนาข้อมูลจำนวนมากกลับมาจากเซอร์เวอร์ได้ ซึ่งหากผู้ดูแลระบบได้รับการเตือนก่อนหน้านี้ เหตุการณ์ทั้งหมดก็อาจไม่เกิดขึ้นและจะสามารถจับผู้กระทำความผิดได้ในทันทีก็เป็นได้


รูปภาพ infographic ค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นในกรณีข้อมูลรั่วไหลต่างๆจากเว็บไซต์
http://www.zdnet.com/this-worlds-biggest-data-breaches-infographic-is-terrifying-7000018680/

For more information, please contact: +662-615-7005 or contact@i-secure.co.th

References:


Leave a comment!

You must be logged in to post a comment.