“Aikido Wiper” เครื่องมือที่สามารถสั่ง Antivirus และ EDR ลบข้อมูลบนเครื่องได้

นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Yair ค้นพบวิธีการใช้ช่องโหว่จากความสามารถของ Endpoint Detection and Response (EDR) และ Anti-Virus (AV) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายอย่าง Microsoft, SentinelOne, TrendMicro, Avast และ AVG ที่อยู่บนระบบของเหยื่อ เพื่อปกปิดพฤติกรรมการโจมตี, หลีกเลี่ยงการใช้สิทธิผู้ใช้งานระดับสูงในการโจมตี และสามารถลบทำลายข้อมูลได้ ซึ่งเป็นการโจมตีลักษณะเดียวกับ Wipers Malware โดยตั้งชื่อว่า “Aikido Wiper”

Wipers Malware คือ มัลแวร์ชนิดพิเศษที่มีเป้าหมายในการลบ หรือทำลายข้อมูลในระบบที่ถูกโจมตี และป้องกันไม่ให้เหยื่อสามารถกู้คืนข้อมูลได้

การค้นพบช่องโหว่

AV และ EDR มีความสามารถในการสแกนไฟล์ของคอมพิวเตอร์ เพื่อค้นหาไฟล์ที่เป็นอันตราย รวมถึงโหมด Real-Time Protection ที่จะสแกนไฟล์โดยอัตโนมัติ เมื่อไฟล์ถูกสร้างขึ้น และทำการวิเคราะห์ว่าไฟล์นั้นเป็นอันตรายหรือไม่ และถ้าพบว่าไฟล์นั้นเป็นอันตราย ก็จะถูกลบ (Deleted)/ กักกัน(Quarantined) ทันที โดยมี 2 กระบวนการ คือ กระบวนการแรก AV หรือ EDR ระบุได้ว่าไฟล์นั้นเป็นอันตราย และกระบวนการถัดมา AV หรือ EDR ดำเนินการลบไฟล์ที่เป็นอันตราย

แต่ถ้าหากเกิดมีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของไฟล์ จะทำให้ AV หรือ EDR เปลี่ยนเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของไฟล์ที่จะดำเนินการลบไปด้วย ซึ่งวิธีการนี้คือช่องโหว่ที่เรียกว่า time-of-check to time-of-use (TOCTOU)

ลักษณะการโจมตี

นักวิจัยได้ทำการทดสอบการใช้ช่องโหว่ time-of-check to time-of-use (TOCTOU) ด้วยขั้นตอนดังนี้

สร้างไฟล์ที่เป็นอันตรายที่ C:\temp\Windows\System32\drivers\ Mimikatz (ซึ่งไฟล์ Mimikatz จะถูกเปลี่ยนชื่อไฟล์เป็น ndis.

พบกลุ่มภัยคุกคามใหม่ จากประเทศอิหร่าน หลอกว่าโจมตีเพื่อเรียกค่าไถ่ แต่ทำลายข้อมูลทิ้งทั้งหมด โดยมีเป้าหมายเป็นประเทศอิสราเอล

พบกลุ่มภัยคุกคามใหม่ จากประเทศอิหร่าน หลอกว่าโจมตีเพื่อเรียกค่าไถ่ แต่ทำลายข้อมูลทิ้งทั้งหมด โดยมีเป้าหมายเป็นประเทศอิสราเอล
นักวิจัยจาก SentinelOne พบว่า วันที่ 25 May 2021 ที่ผ่านมาว่า กลุ่ม Agrius ถูกพบครั้งแรกในการโจมตีโดยมีเป้าหมายเป็นประเทศอิสราเอล ในปี 2020 โดยเครื่องมือที่ใช้พบว่ามีการใช้ Wiper malware ซึ่งเป็น มัลแวร์ที่มีเป้าหมายในการทำลายข้อมูล และ Ransomware ที่เป็นมัลแวร์ในการเรียกค่าไถ่ โดยแฮกเกอร์กลุ่มดังกล่าวจะไม่ได้มีแรงจูงใจในการโจมตีจากการเรียกค่าไถ่ แต่จะมุ่งไปที่การทำลายข้อมูลเป็นหลัก ในการติดตามการโจมตีที่ทาง SentinelOne ติดตามอยู่ พบว่า เมื่อกลุ่ม Agrius ทำการโจมตี ทางแฮกเกอร์จะแสร้งทำเป็นว่าขโมยและเข้ารหัสข้อมูลเพื่อเรียกค่าไถ่ แต่ว่าข้อมูลนั้นถูกทำลายไปแล้ว และนักวิจัยยังสงสัยอีกว่าแฮกเกอร์กลุ่มนี้อาจได้รับการสนับสนุนจากรัฐ

(more…)