จ่ายค่าไถ่ดีกว่าจ่ายค่าปรับ!? โรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัย New Jersey ยอมจ่ายค่าไถ่ 20 ล้านบาท แลกกับการไม่ให้แฮกเกอร์เปิดเผยข้อมูลคนไข้

โรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัย New Jersey ใน Newark ออกมาให้สัมภาษณ์และยอมรับกับ Bleeping Computer หลังจากที่ทางโรงพยาบาลฯ ตัดสินใจจ่ายค่าไถ่ให้กับกลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่ Suncrypt กว่า 20 ล้านบาท เพื่อแลกกับการไม่ปล่อยข้อมูลของคนไข้ขนาด 240 กิกะไบต์

อ้างอิงจากการสัมภาษณ์ Suncrypt มีการเรียกค่าไถ่จำนวนกว่า 1.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 53 ล้านบาท ทั้งนี้กลุ่ม Suncrypt ยอมที่จะตกลงลดราคาเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 และด้วยเหตุผลในการต่อรองอื่น ๆ

ทาง UNHJ ซึ่งเป็นตัวแทนของโรงพยาบาลออกมายอมรับว่า ทางโรงพยาบาลต้องการที่จะยับยั้งการรั่วไหลของข้อมูลของคนไข้เป็นอันดับแรก การเจรจาและการยอมจ่ายค่าไถ่จึงเริ่มขึ้น

หลังจากการโจมตี Bleeping Computer ได้มีการติดต่อกลุ่ม SunCrypt และได้รับการยืนยันว่ากลุ่ม SunCrypt จะไม่พุ่งเป้าโจมตีระบบของกลุ่มสาธารณสุขอีกต่อไป โดยอ้างว่า "We don't play with people's lives.

กลุ่มเรียกค่าไถ่ SunCrypt ปรับแผน ส่งพระรอง “DDoS attack” มาช่วยกระตุ้นให้เหยื่อรีบจ่ายค่าไถ่

กลุ่มแฮกเกอร์ซึ่งอยู่เบื้องหลังการแพร่กระจายของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ SunCrypt ซึ่งมีเอกลักษณ์ของการเป็นมัลแวร์เรียกค่าที่ไฟล์มัลแวร์เป็นโค้ด PowerShell นั้นมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธิ์ในการกระตุ้นให้เหยื่อจ่ายค่าไถ่โดยการโจมตีแบบ DDoS ใส่ระบบ

DDoS extortion เป็นหนึ่งในวิธีการโจมตีซึ่งมีมานานแล้วและเคยได้รับความนิยมอยู่ช่วงหนึ่ง อ้างอิงจากการรายงานของ Bleeping Computer พฤติกรรมของ SunCrypt แตกต่างจากการทำ DDoS extortion โดยตรงเนื่องจากการโจมตีแบบ DDoS ในรูปแบบนี้เป็นเพียง "พระรอง" ในการกระตุ้นให้เหยื่อรีบจ่ายค่าไถ่หลังจากที่ "พระเอก" คือมัลแวร์เรียกค่าไถ่ทำการเข้ารหัสข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว

จากประสบการณ์ของทางไอ-ซีเคียว วิธีการในลักษณะนี้ถือเป็นลักษณะหนึ่งของการโจมตีแบบ social engineering เช่นเดียวกับการสร้างเงื่อนไขการเพิ่มขึ้นของค่าไถ่หากไม่จ่ายในเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตามวิธีการนี้อาจส่งผลด้านลบต่อธุรกิจของ ransomware มากกว่าเมื่อเทียบกับการเรียกค่าไถ่ให้สูง แล้วรอให้เหยื่อมาต่อราคาลงถึงจุดที่รับได้ เนื่องจากเหยื่ออาจมีความยินดีที่จะจ่ายมากกว่า

ที่มา : bleepingcomputer