New IoT Device Vulnerability “ConnManDo”

ConnMan คือ Network Manager ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาไว้ใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีการลง Operating System เอาไว้ในตัว ซึ่งถูกใช้อย่างแพร่หลายในอุปกณ์ IoT ConnMan ถูกพบว่ามีช่องโหว่ร้ายแรงในฟังก์ชัน DNS-Proxy เวอร์ชันที่ได้รับผลกระทบคือ ConnMan 1.34 และรุ่นก่อนหน้า ช่องโหว่ดังกล่าวมีความเสี่ยงต่อการเกิด Buffer Overflow ซึ่งอาจทำให้เกิด DoS และ Remote Code Execution ช่องโหว่นี้สามารถถูกทำให้เกิดซ้ำๆได้ ตราบเท่าที่ผู้โจมตีสามารถนำไปพัฒนาต่อเพื่อใช้ในการโจมตีเป้าหมายที่ต้องการ
ข้อแนะนำ ให้อัพเดท ConnMan เป็นเวอร์ชัน 1.35 ขึ้นไป และไม่ควรเชื่อมต่อปุกรณ์ IoT กับ Network ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ เช่น Free Access Point

ที่มา : NRI-SECURE

New malware program infects ATMs, dispenses cash on command

นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Proofpoint ค้นพบมัลแวร์บนตู้ ATM ตัวใหม่ที่ประเทศเม็กซิโก เรียกว่า “GreenDispenser” ที่ช่วยให้แฮกเกอร์สามารถถอนเงินสดจากตู้ ATM ได้ตามต้องการ และเตือนให้ระวังมัลแวร์จะแพร่กระจายสู่ทั่วทุกมุมโลกในเร็วๆ นี้
GreenDispenser หลังจากที่มัลแวร์ถูกติดตั้ง หน้าจอเครื่อง ATM จะแสดงข้อความ “We regret his ATM is temporary out of service.

Hilton hotels in credit-card-stealing malware infection scare

Hilton เครือโรงแรมชั้นนำระดับโลก ได้ออกมาแถลงข่าวว่าถูกแฮกระบบ Sales ของโรงแรม และถูกขโมยข้อมูลบัตรเครดิตของลูกค้าไป โดยมีการคาดการณ์ว่าการถูกโจมตีครั้งนี้มีต้นตอมาจากมัลแวร์ที่ถูกติดตั้งลงไปยังเครื่อง Point-of-Sale (POS) ของทางโรงแรมทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ยังไม่มีการเปิดเผยจำนวนของข้อมูลบัตรเครดิตที่ถูกขโมยออกไป แต่จากการตรวจสอบของทาง VISA พบว่า มัลแวร์นี้ฝังตัวอยู่นระบบของ Hilton ตั้งแต่วันที่ 21 เดือนเมษายน จนถึงวันที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมานี้ และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกของธุรกิจชื่อดังที่ถูกโจมตีในลักษณะนี้ โดยในปี 2014 ที่ผ่านมา ทั้ง Target, Home Dopot และ UPS ต่างก็เคยถูกโจมตีมาแล้วเช่นกัน

ที่มา : theregister

Researcher releases FireEye local file disclosure zero-day

นักวิจัยด้านความปลอดภัย Kristian Erik Hermansen ค้นพบช่องโหว่ 0-day ในอุปกรณ์ Fireeye ช่องโหว่นี้อยู่บนสคริป PHP ซึ่งอนุญาตให้ผู้โจมตีสามารถเข้าถึงไฟล์ต่างๆ บนเว็บเซิฟเวอร์ได้ (Local File Disclosure)

นักวิจัยด้านความปลอดภัยยังได้ค้นพบอีกด้วยว่า Web Server รันอยู่บนสิทธิ์ของ root ที่เป็นผู้ใช้งานที่มีสิทธิ์สูงที่สุดบน Linux โค้ดที่ใช้สำหรับโจมตีช่องโหว่ 0-day ดังกล่าวถูกเผยแพร่ลงบนเว็บไซต์ exploit-db.

Kaspersky Patches Critical Vulnerability in Antivirus Products

Kaspersky ประกาศออกแพทช์แก้ไขช่องโหว่ร้ายแรงบนผลิตภัณฑ์ Kaspersky Anti-Virus ที่ถูกค้นพบและเปิดเผยโดยวิศวกรด้านความปลอดภัยของ Google เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

Tavis Ormandy วิศวกรจาก Google ได้รายงานว่าพบช่องโหว่บน Kaspersky Anti-Virus เวอร์ชั่น 2015, 2016 พร้อมทั้งโพสรูปบนทวิตเตอร์ส่วนตัวว่าสามารถโจมตี Kaspersky Anti-Virus ได้สำเร็จ แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่า Kaspersky Internet Security และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จะมีช่องโหว่ดังกล่าวนี้ด้วยหรือไม่

อย่างไรก็ตาม Tavis Ormandy ไม่ได้บอกรายละเอียดเกี่ยวกับช่องโหว่นี้ บอกแต่ว่าเป็นช่องโหว่ Buffer Overflow บนโปรแกรมที่ตั้งค่าแบบพื้นฐานหรือ default configuration หลังจากที่ได้รายงานช่องโหว่ดังกล่าว ทาง Kaspersky ได้มีการออกแพทช์เพื่อแก้ไขช่องโหว่นี้ ผ่านทางการอัพเดทแบบอัตโนมัติให้กับผู้ใช้ Kaspersky Anti-Virus แล้วภายใน 24 ชั่วโมง

ที่มา : securityweek

Remote File Overwrite Vulnerability Patched by Cisco in IMC Supervisor, UCS Director

Cisco ประกาศออกแพทช์แก้ไขช่องโหว่ที่อนุญาตผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถเขียนไฟล์ระบบ ทับไฟล์เดิม (Remote File Overwrite) บนอุปกรณ์ Integrated Management Controller (IMC) Supervisor และ UCS Director products

อย่างไรก็ตามทาง Cisco ได้อธิบายรายละเอียดของช่องโหว่นี้ว่า เกิดขึ้นจากการรับค่าที่ไม่ปลอดภัยจาก User มาประมวลผลใน JavaServer Page (JSP) ส่งผลกระทบให้ผู้โจมตีสามารถเขียนไฟล์ระบบทับไฟล์เดิมได้ และทำให้เกิด Denial-of-Service (DoS) บนอุปกรณ์

สำหรับระบบที่ได้รับผลกระทบจากช่องโหว่ Remote File Overwrite ได้แก่ Cisco IMC Supervisor เวอร์ชั่นก่อน 1.0.0.1 เช่นเดียวกับ Cisco USC Director ก่อนเวอร์ชั่น 5.2.0.1 หากระบบที่ใช้การตั้งค่าพื้นฐานหรือ default configuration จะได้รับผลกระทบโดยตรง คำแนะนำผู้ดูแลระบบควรอัพเกรดระบบเพื่อแก้ไขช่องโหว่โดยเร็ว

ที่มา : tripwire

200 Million WhatsApp Users Vulnerable to vCard Vulnerability

พบช่องโหว่ที่อันตรายใน WhatsApp เวอร์ชั่น Web มีผู้ใช้งานมากกว่า 200 ล้านคนที่ตกอยู่ในความเสี่ยง
Kasif Dekel นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Check Point พบช่องโหว่ของ WhatsApp vCard ที่ทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถโจมตี สามารถทำให้ผู้ใช้งานดาวน์โหลดมัลแวร์หรือ ransomware เข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้ทันที

นอกจากนี้ ช่องโหว่สามารถทำได้ง่ายเพียงแค่สร้าง .Bat ไฟล์และส่งข้อความไปให้เพื่อนหรือผู้ใช้คนอื่นๆ เมื่อผู้ใช้คลิ๊กเปิดไฟล์ ก็จะรันมัลแวร์หรือโค้ดอันตรายซึ่งอาจส่งผลกระทบโดยตรง เช่น เครื่องถูกยึดอย่างสมบูรณ์, ถูก Monitor การใช้งานต่างๆ, ใช้เครื่องเหยื่อเพื่อแพร่กระจายไวรัส เป็นต้น

ทีมด้านความปลอดภัยของ WhatsApp ได้อัพเดทเพื่อแก้ไขช่องโหว่นี้ใน Web Client แล้ว ซึ่งช่องโหว่นี้จะกระทบกับผู้ใช้ WhatsApp เวอร์ชั่นก่อน V0.1.4481

ที่มา : thehackernews

SYNful Knock: Backdoor Malware Found in Cisco Routers

FireEye รายงานถึงรอม SYNful Knock เป็นรอมที่ถูกดัดแปลงและติดตั้งเข้ากับเราท์เตอร์ใน 4 ประเทศ ได้แก่ ยูเครน, ฟิลิปปินส์, เม็กซิโก, และอินเดีย เราท์เตอร์เหล่านี้ถูกติดตั้งในหลายที่รวมถึงหน่วยงานรัฐบาล ตัวรอมจะเปิดช่องโหว่เพื่อรอรับคำสั่งจากเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเราท์เตอร์ที่พบ SYNful Knock แล้วมี 3 รุ่น ได้แก่ Cisco 1841, Cisco 2811, และ Cisco 3825
รอม SYNful Knock ถูกออกแบบให้เป็นโมดูลที่มีความสามารถแยกกันไป รอมแต่ละชุดสามารถติดตั้งโมดูลเพิ่มเติมได้ถึง 100 ชุด รับคำสั่งจาก TCP SYN ทางพอร์ต 80 ที่ถูกต้องตามเงื่อนไข แพ็กเก็ตนี้สามารถเรียกให้มัลแวร์ในรอมทำงานได้เสมอแม้ตัวเราท์เตอร์จะตั้ง filter ไว้ก็ตาม เมื่อรอมได้รับคำสั่งจากเซิร์ฟเวอร์ เซิร์ฟเวอร์จะสามารถเชื่อมต่อเข้ามาติดตั้งโมดูลเพิ่มเติมได้

ทางซิสโก้ยืนยันการโจมตี และระบุว่าได้ออกประกาศแจ้งเตือนลูกค้าไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยการโจมตีนี้ไม่ใช่ช่องโหว่ของสินค้าแต่เป็นการดัดแปลงที่ต้องการสิทธิ์ผู้ดูแลระบบหรือเข้าถึงตัวเครื่องเพื่อดัดแปลงเราท์เตอร์โดยตรง ซึ่งยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าใครเป็นคนสร้างเฟิร์มแวร์นี้ แต่ซีอีโอของ FireEye ระบุว่า คนที่มีทรัพยากรระดับนี้ได้ต้องเป็นระดับรัฐ

ที่มา : thehackernews

SharePoint 2013 XSS Vulnerability Discovered

นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก FortiGuard Labs พบช่องโหว่ Cross-site Scripting บน Microsoft SharePoint 2013 (CVE-2015-2522)

SharePoint เป็นโปรแกรมหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของบริษัทไมโครซอฟท์ สำหรับการใช้งานเอกสารร่วมกันและจัดการเอกสารผ่านเว็บเบราว์เซอร์ โดยช่องโหว่ดังกล่าวเกิดจากการที่ SharePoint อนุญาตให้ผู้ไม่ประสงค์ดีใส่โค้ดอันตรายเข้ามาที่ออฟชั่น Note ได้ อาจจะส่งผลให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถขโมยข้อมูลสำคัญ เช่น cookie ของผู้ใช้คนอื่นๆ, redirect ให้ผู้ใช้เปิดเว็บไซต์ที่เป็นอันตราย รวมไปถึงทำให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดโทรจันหรือมัลแวร์อื่นๆ ลงมาบนเครื่องได้

ทางไมโครซอฟต์ได้ทราบถึงช่องโหว่ XSS และออกแพทช์เพื่อแก้ไขช่องโหว่นี้แล้ว โดยให้ผู้ใช้ SharePoint 2013 เวอร์ชั่นก่อน 15.0.4571.1502 ควรอัพเดทโดยเร็วที่สุด

ที่มา : FORTINET

Improving Security for Bugzilla

Mozilla ผู้ดูแลเบราว์เซอร์ Firefox รายงานว่าเมื่อเดือนที่แล้ว เว็บ Bugzilla เว็บไซต์สำหรับติดตามบั๊กของโครงการถูกขโมยเอาข้อมูลออกไป ด้วยการแฮกบัญชีผู้ใช้เข้ามาอ่านข้อมูล ทำให้แฮกเกอร์เห็นช่องโหว่ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาแพตช์ และนำช่องโหว่นั้นออกไปโจมตีผู้ใช้งาน Firefox บัญชีที่ถูกแฮกไปตอนนี้ถูกระงับไปแล้ว ข้อมูลช่องโหว่ที่หลุดออกไปและมีการโจมตีทำให้ทาง Mozilla ต้องออกรุ่นพิเศษเพื่ออุดช่องโหว่เร่งด่วนเมื่อเดือนที่แล้ว แต่คาดว่าแฮกเกอร์ไม่ได้ข้อมูลอื่นๆ ไปอีก

เบื้องต้นนักพัฒนาที่สามารถเข้าถึงช่องโหว่ที่กำลังแก้ไขได้จะต้องเปลี่ยนรหัสผ่าน และเปิดใช้งานการยืนยันตัวตนสองขั้นตอน และนโยบายใหม่จะจำกัดนักพัฒนาที่เข้าถึงช่องโหว่เหล่านี้ให้น้อยลง พร้อมๆ กับการแก้ไขปัญหา ทาง Mozilla ก็ประสานงานกับเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

ที่มา : mozilla