TeslaCrypt 2.0 disguised as CryptoWall

TeslaCrypt มัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ระบาดหนักอีกตัวหนึ่ง เริ่มมีรุ่นใหม่ออกมาเป็นรุ่น 2.0 ซึ่งทาง Kaspersky รายงานว่ามีความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดหลายอย่าง

ประเด็นแรกที่เปลี่ยนคือหน้าจอแจ้งผู้ใช้ว่าตกเป็นเหยื่อของการเรียกค่าไถ่ จากเดิมเป็น GUI ของวินโดวส์ธรรมดา รุ่นใหม่นี้จะเป็นไฟล์ HTML แล้วเรียกเบราว์เซอร์ขึ้นมาแจ้งผู้ใช้ ที่น่าแปลกใจคือหน้าเว็บนี้เอามาจาก มัลแวร์อีกตัวคือ CryptoWall 3.0 ทั้งหมด ยกเว้น URL จ่ายเงินที่เป็นของ TeslaCrypt เอง นอกจากหน้าเว็บแล้ว กระบวนการเข้ารหัสภายในยังเปลี่ยนแปลงไป โดยใช้กระบวนการ secp256k1 และ ECDH แต่เครื่องของเหยื่อจะมีกุญแจหลัก master_btc_priv สำหรับถอดรหัสทุกไฟล์ และผู้ควบคุมมัลแวร์ใส่กุญแจสาธารณะ malware_pub ไว้ในตัวมัลแวร์ หากมีกุญแจลับ malware_priv ก็จะถอดรหัสของเหยื่อทุกคนได้ นอกจากนี้ master_btc_priv ยังเป็นกุญแจสำหรับถอนเงินออกจากบัญชี Bitcoin ที่เหยื่อจ่ายอีกด้วย ซึ่งจุดสำคัญคือ ในรุ่น 2.0 นี้ไม่มีไฟล์ key.

Think twice before you open email attachments from unknown senders

นักวิจัยด้านความปลอดภัยค้นพบ Ransomware ตัวใหม่ที่ใช้ชื่อว่า "Troldesh" ซึ่งถูกสร้างขึ้นในรัสเซีย ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์จำนวนมากทั่วโลกได้รับผลกระทบจาก Ransomware ตัวนี้

Troldesh จะแพร่กระจายผ่านทางไฟล์ที่แนบมากับ Spam email และจะทำการเข้ารหัสไฟล์ .xbtl ของเหยื่อทันที นอกจากนี้ Troldesh จะวางไฟล์ชื่อ 'README.txt' ซึ่งมีรายละเอียดการชำระเงินเพื่อปลดล็อกไว้ โดยแฮกเกอร์จะเรียกค่าไถ่ประมาณ $278 หรือ $250 ในการแลกเปลี่ยนคีย์สำหรับถอดรหัส

ที่มา : ehackingnews

New ransomware program targets gamers

มัลแวร์ค่าไถ่ หรือ Ransomware รูปแบบใหม่ ถูกค้นพบว่าเปลี่ยนแนวมาจู่โจมคนเล่นเกมโดยเฉพาะ โดยการเข้ารหัสไฟล์เซฟเกม และไฟล์ของผู้ใช้อื่นๆ ที่จำเป็นต่อการเล่นเกม ส่งผลให้เหยื่อไม่สามารถเล่นเกมต่อไปได้ จากนั้นจะเรียกค่าไถ่เป็นจำนวนเงิน หรือ Bitcoin เพื่อให้ปลดล็อคไฟล์เซฟเกม

New ransomware CoinVault allows users to decrypt one file for free

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีการเปิดเผย Ransomware ตัวใหม่ ชื่อว่า “CoinVault” โดยทีมวิจัยของ Webroot ผู้ให้บริการโซลูชันความปลอดภัยบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งใช้กลวิธีใหม่เพื่อโน้มน้าวให้เหยื่อจ่ายเงินเพื่อปลดล็อคข้อมูล
CoinVault ยังคงเป็นมัลแวร์เรียกค่าไถ่เหมือน CryptoWall มัลแวร์ต้นแบบ ซึ่งเมื่อถูกติดตั้งลงบนอุปกรณ์ของเหยื่อแล้ว จะทำการล็อคไฟล์เอกสาร, รูปภาพ, วิดีโอ และอื่นๆ โดยใช้การเข้ารหัสแบบ AES 256 bits รวมทั้งจัดการ Windows Volume Shadow Copy Service เพื่อไม่ให้เหยื่อสามารถ recorver ไฟล์ต่างๆ เหล่านั้นได้ เหยื่อจำเป็นต้องจ่ายค่าไถ่ภายใน 24 ชั่วโมง แล้วจะได้กุญแจไขรหัสเพื่อปลดล็อคไฟล์ดังกล่าว
ที่น่าสนใจ คือ วิธีการโน้มน้าวเหยื่อให้จ่ายค่าไถ่ หลังจากที่มัลแวร์ล็อคไฟล์ข้อมูลแล้ว จะแจ้งเตือนให้เหยื่อจ่ายค่าไถ่จำนวน 0.5 bitcoins (ประมาณ $200) ซึ่งค่าไถ่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกๆ 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ เหยื่อสามารถเลือกดูรายการไฟล์ทั้งหมดที่ถูกล็อคไว้ได้ตลอดเวลา และสามารถเลือกปลดล็อคฟรีได้หนึ่งไฟล์
วิธีรับมือกับมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ดีที่สุด คือ การไม่ดาวน์โหลดโปรแกรมแปลกปลอมที่ไม่รู้แหล่งที่มาแน่ชัด หรือขาดความน่าเชื่อถือ รวมทั้งไม่กดลิงค์โฆษณาใดๆ ที่อาจเป็นหนทางนำไปสู่การดาวน์โหลดมัลแวร์ได้ นอกจากนี้ การ Backup ข้อมูลบ่อยๆ ก็ถือเป็นทางออกที่ดีในการสำรองข้อมูลเมื่อมีเหตุผิดปกติเกิดขึ้นกับคอมพิวเตอร์ของเรา