Oracle releases emergency patches for Java

หลังจากที่มีข่าวมาก่อนหน้าว่าจาวามีช่องโหว่มากมายที่ทำให้เหล่าแฮกเกอร์สามารถโจมตีได้ ตอนนี้ Oracle ได้ออก แพทช์ชุดใหญ่ที่แก้ไขช่องโหว่ต่าง ๆ ถึง 50 ช่องโหว่แล้ว ซึ่งเป็นแพทช์สำหรับทั้งบนเบราเซอร์และบนเซิร์ฟเวอร์

ตอนแรกแพทช์นี้ได้ตั้งใจไว้ว่าจะปล่อยออกมาในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2013 แต่ว่าหลังจากที่มีการโจมตีช่องโหว่เหล่านี้อย่างมาก Oracle ก็เลยเลื่อนกำหนดการขึ้นมา

โดยในจำนวน 50 ช่องโหว่ที่ได้ถูกแก้ไขนั้น ได้คะแนน CVSS (มาตรฐานการจัดระดับความอันตรายของช่องโหว่ในคอมพิวเตอร์) อยู่ที่สูงสุด หรือ 10.0 ทั้งสิ้น 26 ช่องโหว่ และมี 2 ช่องโหว่ได้ 9.3 คะแนน และทุกช่องโหว่สามารถถูกเข้าถึงได้ผ่านเครือข่ายโดยที่ไม่ต้องมีการตรวจสอบก่อน

ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ผู้ใช้ควรที่จะรีบอัพเดทอัพเดทจาวาในเครื่องของตนให้เร็วที่สุด ซึ่งแพทช์ที่ปล่อยออกมานี้ก็มีให้ดาวน์โหลดทั้งเวอร์ชั่น 6 และเวอร์ชั่น 7 ด้วย และ Oracle ยังประกาศว่าการปล่อยแพทช์ออกมาก่อนกำหนดในครั้งนี้เป็นสัญญาณว่า oracle นั้นมีความตั้งใจที่จะรีบแก้ไขช่องโหว่ในจาวา และกำลังพยายามทำให้จาวาปลอดภัยมากขึ้น

แต่ด้วยการที่มีอัพเดทใหญ่ปล่อยออกมาในตอนนี้และก่อนหน้า จึงเป็นไปได้ว่าเหล่าพวกที่ไม่หวังดีนั้นอาจจะฉวยโอกาสนี้ หลอกให้คนเข้าไปดาวน์โหลดอัพเดทของจาวาและแฝงมัลแวร์เข้ามาด้วย จึงแนะนำว่าขอให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดอัพเดทจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น

ที่มา : h-online

#OpFreeWildan: Indonesian government sites hacked in protest over Alleged Jember Hacker arrest

เมื่อเร็ว ๆ นี้ตำรวจอินโดนีเซียจับกุม Wildan Yani S. Hari อายุ 22 ปี ทำงานอยู่ที่ร้านอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของทีม  “Hacker Jember” สำหรับข้อหาเจาะเว็บไซต์ของประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย (presidensby.

ตัวอักษรเพียง 8 ตัว ก็สามารถทำให้โปรแกรมในแมคแครชได้?

ผู้เขียนข่าวต้องการให้ผู้ใช้แมคทราบและระวังการทำให้โปรแกรมเกิดการแครชขึ้นเท่านั้น   เว็บไซต์ 9to5Mac ค้นพบบั๊กจากเว็บไซต์ Open Radar (ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ใช้พูดคุยกันระหว่างนักพัฒนาแอพพลิเคชันของ iOS) ว่าเมื่อพิมพ์ข้อความที่กล่าวถึง (ดูได้ท้ายเบรค) จะทำให้โปรแกรมต่างๆ บนแมคนั้นเกิดอาการแครชในทันที เช่น TextEdit, Chrome หรือแม้กระทั่ง Safari มีเพียงบางโปรแกรมเท่านั้นที่ไม่เกิดการแครชขึ้น     บั๊กนี้ถูกคาดว่าน่าจะเกิดจากระบบตรวจคำผิดอัตโนมัติของแมค (spell checker) แต่บางกรณีที่พิมพ์ข้อความลงในบางกล่องข้อความ เช่น address bar ของ Safari ก็ทำให้เกิดการแครชได้แม้ไม่มีการตรวจคำผิดจากกล่อง address bar ก็ตาม โดยบั๊กนี้เกิดขึ้นกับแมคที่รัน Mountain Lion แต่ไม่เกิดขึ้นกับ Lion หรือ Snow Leopard

ข้อความดังกล่าวก็คือ File:///

ที่มา : blognone

Beware of fake Windows 8 Activators

Trend Micro พบเว็ปไซต์จำนวนมากซึ่งอยู่ในประเทศ ลัตเวียและโรมาเนีย ซึ่งอ้างว่าแจก Windows 8 activator ฟรี ซึ่งอันที่จริงแล้วเป็นมัลแวร์ซึ่งอาจจะส่งข้อมูลที่สำคัญออกไปให้แฮกเกอร์ได้หรือแม้กระทั่งควบคุมและยึดเครื่องของเหยื่อได้ นอกจากนี้ยังพบอีกว่าไอพีของเว็ปไซต์เหล่านี้เป็นโฮสของแอพพลิเคชั่นบนมือถือจำนวนมากซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นปลอม อย่าง Instagram และ Angry Bird อีกด้วย

ที่มา : thehackernews

000webhost vulnerable to Non-Persistent Cross site scripting

Vedachala นักวิจัยด้านความปลอดภัยค้นพบช่องโหว่ Cross site scripting บนเว็บไซต์ 000WebHost ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งฟรีซึ่งฟิลด์ Domain name, Subdomain name และ email address ในหน้า "Order Free Web Hosting"  ของเว็บไซต์ 000webhost.

Chinese hackers attacked the New York Times

หนังสือพิมพ์ New York Times รายงานว่าได้ถูกแฮกเกอร์ชาวจีนเข้ามาล้วงข้อมูลข้อหนังสือพิมพ์เป็นระยะเวลานานถึงสี่เดือน โดยเชื่อว่าการโจมตีนี้เกิดจากการที่หนังสือพิมพ์ได้ลงข่าวเกี่ยวกับทรัพย์สินของเครือญาติของนายกรัฐมนตรี
เหวิน เจียเป่า

โดยแฮกเกอร์ได้เริ่มโจมตีเข้ามาในช่วงสองสัปดาห์ก่อนหน้าที่ข่าวนี้จะถูกตีพิมพ์ และในช่วงนั้นทางกองบรรณาธิการก็ได้รับการเตือนจากทางการจีนว่าการเสนอข่าวดังกล่าวอาจจะมีผลตามมาได้ หลังจากนั้นทางหนังสือพิมพ์ก็ได้เพิ่มการเฝ้าระวังระบบเครือข่ายของตัวเอง แล้วก็พบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น ทางหนังสือพิมพ์จึงได้ให้บริษัท Mandiant มาทำการตรวจสอบ

จากการตรวจสอบพบว่าแฮกเกอร์น่าจะใช้วิธีการส่งฟิชชิ่งเมล (spear phishing)  ให้กับหัวหน้ากองบรรณธิการในสาขาเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นคนรายงานข่าวของนายก และแฮกเกอร์ยังสามารถแฮกอีเมลของอดีตหัวหน้าบรรณธิการของสาขาปักกิ่ง อีกด้วย หลังจากนั้นจึงได้ติดตั้งมัลแวร์ที่สามารถทำให้เข้าถึงคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายของหนังสือพิมพ์ได้ นอกจากนี้แฮกเกอร์ยังได้ปกปิดที่อยู่ของตัวเองด้วยการเข้าไปควบคุมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในมหาวิทยาลัยในสหรัฐก่อนที่จะใช้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเข้ามาเจาะระบบ

นอกจากนี้แฮกเกอร์ยังได้รหัสผ่านของพนักงานทุกคนในบรษัทและยังเข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 53 เครื่อง แต่ว่าไม่พบว่าแฮกเกอร์ได้คัดลอกข้อมูลของพนักงานออกไป และยังไม่สนใจข้อมูลอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ข้อมูลที่เกี่ยวกับนายกอีกด้วย

Mandiant ยังพบว่ามีมัลแวร์ประมาณ 45 ชนิดถูกติดตั้งลงไปในระบบของบริษัท แต่ว่า Symantec ซึ่งเป็นซอฟท์แวร์ที่บริษัทติดตั้งไว้สามารถตรวจเจอได้แค่ตัวเดียว ซึ่งทาง Symantec ก็ปฏิเสธที่จะให้ความเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยบอกว่าเป็นนโยบายของบริษัทที่จะไม่ให้ความเห็นแก่ลูกค้า

สุดท้าย Mandiant เชื่อว่าการโจมตีนี้น่าจะมาจากในประเทศจีน เพราะวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการโจมตีนี้เหมือนกับที่เคยใช้ในกองทัพที่จีนโจมตีสหรัฐ

ที่มา : h-online

Paypal แก้ปัญหา SQL Injection จ่ายเงินแก่ผู้แจ้งปัญหา 3,000 ดอลลาร์

เมื่อกลางปีที่แล้ว Paypal ประกาศล่าบั๊กความปลอดภัยในเว็บและให้เงินรางวัลแก่ผู้แจ้งบั๊ก วันนี้รายละเอียดบั๊กตัวแรกก็ออกมาแล้ว โดยเป็นบั๊ก SQL Injection ที่แจ้งไปตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา (เพียงเดือนกว่าๆ หลังประกาศล่าบั๊ก)
บั๊กนี้อยู่ในส่วนการยืนยันอีเมล โดยลิงก์ที่ Paypal ส่งไปยังอีเมลผู้ใช้เพื่อยืนยันมีพารามิเตอร์ login_confirm_number_id และ login_confirm_number ที่สามารถถูกโจมตีด้วย SQL Injection ได้
รายงานปัญหานี้ไปถึง Paypal เมื่อวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา ทาง Paypal ตอบกลับในวันที่ 7 สิงหาคม จนกระทั่งแก้ปัญหาจริงๆ เมื่อวันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมา ผู้พบบั๊กจึงเผยแพร่รายละเอียดทั้งหมด

ที่มา : blognone

Firefox ยกเลิกการโหลดปลั๊กอินอัตโนมัติ ด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัย

Mozilla ประกาศนโยบายใหม่ของ Firefox คือ "Click to Play" หรือปลั๊กอินที่ฝังตัวอยู่บนหน้าเว็บจะไม่โหลดตัวเองขึ้นมาพร้อมกับการแสดงผลหน้าเว็บนั้นๆ จนกว่าผู้ใช้จะเป็นฝ่ายคลิกให้ทำงานด้วยตัวเอง (ลักษณะเดียวกับ Flashblock)
นโยบาย Click to Play จะใช้กับปลั๊กอินทุกชนิด (เช่น Java/Silverlight/Acrobat) ยกเว้น Flash Player เวอร์ชันใหม่ๆ จะยังคงโหลดตัวเองอัตโนมัติอยู่ (แปลว่า Flash รุ่นเก่าเกินไปจะไม่โหลดอัตโนมัตินั่นเอง ในที่นี้คือ 10.2 หรือเก่ากว่า)
เหตุผลของ Mozilla คือความปลอดภัยของผู้ใช้ที่อาจโดนโจมตีจากช่องโหว่ของปลั๊กอิน (ซึ่ง Firefox ช่วยอะไรไม่ได้) และเสถียรภาพ-ประสิทธิภาพในการใช้งาน จากปลั๊กอินที่ออกแบบมาไม่ดีจนส่งผลกระทบต่อระบบ (เช่น ช้าหรือแครช) นั่นเอง
ผู้ใช้สามารถตั้งค่าเองได้ว่าจะปิด-เปิดปลั๊กอินใดได้บ้าง โดยตั้งค่าได้เจาะจงเป็นของแต่ละเว็บด้วย

ที่มา : blognone

PokerAgent Botnet steals more than 16k Facebook account credentials

Botnet ที่ชื่อว่า PokerAgent  ที่ถูกค้นพบเมื่อปีที่ผ่านมาซึ่งเป็นบอทเน็ตที่ถูกออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้เฟสบุ๊กและข้อมูลการจ่ายเงินของโปรแกรมที่ลิ้งอยู่กับบัญชีผู้ใช้ของเฟสบุ๊กเช่น แอพพลิเคชั่น Zynga Poker.

File Upload XSS Vulnerability in Mediafire

นักวิจัยด้านความปลอดภัยที่ชื่อว่า Mahadev Subedi จาก coolpokharacity.com ได้ออกมาเปิดเผยว่าเข้าได้ตรวจพบช่องโหว่ Persistent Cross site scripting บนเว็บ แชร์ไฟล์ชื่อดังที่มีชื่อว่า Mediafire
ซึ่งเป็นช่องโหว่ที่เกิดขึ้นบนหน้าอัพโหลดไฟล์โดยทางเว็บไซต์มีการตรวจสอบการรับ Input ที่ไม่ดีพอทำให้สามารถอัพโหลดไฟล์ที่มีชื่อที่แฝงการโจมตีได้ยกตัวอย่างเช่น การอัพไฟล์ที่มีชื่อว่า "><img src=x onerror=alert(1)>.jpg.