F5 แก้ไขช่องโหว่ auth bypass ของ BIG-IP ที่ทำให้สามารถสั่งรันโค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลได้

F5 แก้ไขช่องโหว่ระดับ Critical ใน F5 BIG-IP configuration utility ที่มีหมายเลข CVE-2023-46747 ทำให้ผู้โจมตีจากภายนอกสามารถเข้าถึง configuration utility เพื่อดำเนินการเรียกใช้โค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลได้โดยไม่ต้องผ่านการยืนยันตัวตน

ช่องโหว่นี้ได้รับคะแนน CVSS v3.1 ที่ 9.8 ซึ่งจัดว่าเป็น "ระดับ Critical" เนื่องจากสามารถโจมตีได้โดยไม่ต้องผ่านการยืนยันตัวตน และมีความซับซ้อนของวิธีการโจมตีต่ำ

"ช่องโหว่นี้อาจทำให้ผู้โจมตีที่ไม่ผ่านการยืนยันตัวตน เข้าถึงระบบ BIG-IP ผ่าน management port หรือที่อยู่ IP เพื่อเรียกใช้คำสั่งที่เป็นอันตรายได้" อ้างอิงจากข้อมูลที่ F5 ระบุไว้ในประกาศด้านความปลอดภัย (https://my.

พบช่องโหว่ระดับความรุนแรงสูงในอุปกรณ์ F5 BIG-IP และ BIG-IQ

มีการเปิดเผยช่องโหว่ด้านความปลอดภัยหลายรายการในอุปกรณ์ F5 BIG-IP และ BIG-IQ ซึ่งหากโจมตีได้สำเร็จ จะสามารถเข้าถึงระบบของอุปกรณ์ F5 ได้

บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ Rapid7 ระบุว่าช่องโหว่เหล่านี้อาจถูกนำไปใช้เพื่อเข้าถึงอุปกรณ์จากภายนอก โดยช่องโหว่นี้มีผลกระทบกับ BIG-IP เวอร์ชัน 13.x, 14.x, 15.x, 16.x และ 17.x และ BIG-IQ Centralized Management เวอร์ชัน 7.x และ 8.x

ช่องโหว่ที่มีระดับความรุนแรงสูง 2 รายการที่ถูกรายงานไปยัง F5 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2022 มีดังนี้

CVE-2022-41622 (คะแนน CVSS: 8.8) - ช่องโหว่ cross-site request forgery (CSRF) ผ่าน iControl SOAP นำไปสู่การเรียกใช้โค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลได้โดยไม่ต้องผ่านการตรวจสอบสิทธิ์

CVE-2022-41800 (คะแนน CVSS: 8.7) - ช่องโหว่ iControl REST ที่ทำให้ผู้ใช้งานที่ได้สิทธิ์ user เป็น administrator สามารถ bypass ข้อจำกัดบน Appliance mode ได้

Ron Bowes นักวิจัยของ Rapid7 ระบุว่า "ผลกระทบที่ร้ายแรงที่สุดของช่องโหว่ (CVE-2022-41622) คือ ผู้โจมตีจะสามารถเข้าถึง management interface ของอุปกรณ์ได้ แม้ว่าจะไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็ตาม"

"ถึงแม้จะต้องมีเงื่อนไขบางอย่างจึงจะสามารถใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ได้ เช่น ผู้ดูแลระบบที่มีเซสชันที่กำลังใช้งานอยู่ เชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ที่เป็นอันตรายที่ผู้โจมตีสร้างขึ้น รวมไปถึงผู้โจมตีจะต้องมีความเข้าใจบางอย่างเกี่ยวกับเครือข่ายเป้าหมายด้วย" Ron Bowes นักวิจัยของ Rapid7 ระบุในรายงาน

นอกจากนี้ยังมีการระบุถึงช่องโหว่การ security bypass 3 รายการ ซึ่ง F5 ระบุว่าจะไม่สามารถถูกโจมตีได้หากไม่สามารถเจาะผ่านอีกช่องโหว่หนึ่งก่อน (ซึ่งช่องโหว่ดังกล่าวยังไม่เคยถูกรายงานไว้)

โดยหากสามารถโจมตีได้สำเร็จ ผู้โจมตีจะสามารถใช้ Advanced Shell (bash) ในการเข้าถึงอุปกรณ์ และอาจใช้ช่องทางเหล่านี้ในการดำเนินการคำสั่งต่าง ๆ บนระบบ เช่น สร้าง, ลบไฟล์ หรือปิดการใช้งาน

แม้ว่า F5 จะยังไม่พบรายงานถึงการโจมตีด้วยช่องโหว่เหล่านี้ แต่ขอแนะนำให้ผู้ใช้งานติดตั้ง "engineering hotfix" ที่ F5 พึ่งเผยแพร่ออกมาเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

ที่มา: thehackernews

F5 แจ้งเตือนช่องโหว่ RCE ระดับ Critical บน F5 BIG-IP ซึ่งอาจส่งผลให้ถูกเข้าควบคุมระบบได้

F5 ได้ออกคำเตือนช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ที่อาจทำให้ผู้โจมตีสามารถสั่งรันโค้ดที่เป็นอันตรายบนระบบที่เข้าถึงได้โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบสิทธิ์ จากการดำเนินการกับไฟล์ และปิด services บน BIG-IP

ช่องโหว่นี้มีหมายเลข CVE-2022-1388 และมีระดับความรุนแรงของ CVSS v3 อยู่ที่ 9.8 ซึ่งอาจนำไปสู่การเข้าควบคุมระบบได้อย่างสมบูรณ์ โดยช่องโหว่จะเกิดขึ้นใน iControl REST component ซึ่งทำให้ผู้โจมตีสามารถส่ง request เพื่อ bypass การตรวจสอบจาก iControl REST บน BIG-IP

เนื่องจากการใช้งาน BIG-IP ในระบบที่สำคัญๆจำนวนมาก ทำให้วันนี้ทาง CISA ก็ได้ออกมาแจ้งเตือนถึงช่องโหว่ดังกล่าวด้วยเช่นเดียวกัน

โดยเวอร์ชันที่ได้รับผลกระทบมีดังนี้

BIG-IP versions 16.1.0 ถึง 16.1.2
BIG-IP versions 15.1.0 ถึง 16.1.5
BIG-IP versions 14.1.0 ถึง 14.1.4
BIG-IP versions 13.1.0 ถึง 13.1.4
BIG-IP versions 12.1.0 ถึง 12.1.6
BIG-IP versions 11.6.1 ถึง 11.6.5
ปัจจุบัน F5 ได้ออกแพตซ์แก้ไขออกมาแล้วในเวอร์ชัน v17.0.0, v16.1.2.2, v15.1.5.1, v14.1.4.6 และ v13.1.5 แต่เวอร์ชัน 12.x และ 11.x จะไม่มีแพตซ์ โดยที่ BIG-IQ Centralized Management, F5OS-A, F5OS-C และ Traffic SDC จะไม่ได้รับผลกระทบจากช่องโหว่ดังกล่าว

หากองค์กรใดที่ยังไม่สามารถอัปเดตได้ทันทีมีวิธีแก้ปัญหาชั่วคราวได้ 3 ช่องทางคือ

1.) บล็อกการเข้าถึงอินเทอร์เฟส iControl REST บน BIG-IP แต่วิธีการนี้อาจกระทบกับการทำ HA

2.) จำกัดการเข้าถึงจากผู้ใช้ หรืออุปกรณ์ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

3.) แก้ไขคอนฟิคใน httpd บน BIG-IP

พบอุปกรณ์ BIG-IP เปิดให้เข้าถึงได้กว่า 16,000 เครื่อง

Warfield Shodan แสดงให้เห็นว่าขณะนี้มีอุปกรณ์ F5 BIG-IP จำนวน 16,142 เครื่องที่เข้าถึงได้โดยตรงจากอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา รองลงมาคือจีน อินเดีย ออสเตรเลีย และญี่ปุ่นนักวิจัยด้านความปลอดภัยคาดว่าผู้โจมตีจะเริ่มสแกนหาอุปกรณ์ที่มีช่องโหว่ในเร็วๆ นี้ ดังนั้นผู้ดูแลระบบจะต้องรีบอัปเดตอุปกรณ์เหล่านี้โดยเร็วที่สุด หรืออย่างน้อยก็ใช้การบรรเทาผลกระทบ ดังนี้

ที่มา :  bleepingcomputer ,  techtalkthai

 

แจ้งเตือน! NCC Group พบกลุ่มเเฮกเกอร์พยายามใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ CVE-2021-22986 ในอุปกรณ์ F5 BIG-IP โจมตีอุปกรณ์ที่ไม่ได้รับการอัปเดตแพตช์เป็นจำนวนมาก

ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จากบริษัท NCC Group และนักวิจัยด้านรักษาความปลอดภัยจาก Bad Packets ได้ตรวจพบการพยายามใช้ช่องโหว่ CVE-2021-22986 ในอุปกรณ์ F5 BIG-IP และ BIG-IQ อย่างมากในสัปดาห์ที่ผ่านมา

สืบเนื่องมาจากเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคม F5 Networks ได้เปิดตัว การอัปเดตด้านความปลอดภัยสำหรับช่องโหว่ร้ายเเรงจำนวน 7 รายการในผลิตภัณฑ์ BIG-IP ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่: i-secure

โดยหลังจากที่นักวิจัยด้านความปลอดภัยได้ทำการเผยแพร่โค้ด Proof-of-Concept สำหรับช่องโหว่ทางสาธารณะหลังจากที่ทาง F5 Networks ได้ทำการการแก้ไขช่องโหว่แล้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จาก NCC Group และ Bad Packets ได้สังเกตเห็นกลุ่มแฮกเกอร์หลายกลุ่มเริ่มทำการโจมตีอุปกรณ์ F5 BIG-IP และ BIG-IQ ที่ไม่ได้รับการอัปเดตเเพตช์จำนวนมาก นอกจากนี้ทีม Unit 42 จาก Palo Alto Networks ยังได้พบการพยายามที่จะใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ CVE-2021-22986 เพื่อทำการติดตั้ง Mirai botnet ในรุ่นต่างๆ แต่ในขณะนี้ยังมีไม่ความชัดเจนการโจมตีเหล่านั้นประสบความสำเร็จหรือไม่

สำหรับช่องโหว่ CVE-2021-22986 เป็นช่องโหว่การเรียกใช้โค้ดจากระยะไกลที่ช่วยให้ผู้โจมตีที่ไม่ได้รับการพิสูจน์ตัวตนสามารถรันคำสั่งได้ในส่วน iControl REST interface ซึ่งมีคะแนน CVSS อยู่ที่ 9.8 /10 และมีผลต่ออุปกรณ์ BIG-IP และ BIG-IQ

ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ออกมาแนะนำให้ผู้ดูแลระบบควรรีบทำการอัปเดตเเพตช์โดยด่วนเพื่อป้องกันการตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีจากผู้ประสงค์ร้าย

ที่มา: securityaffairs, bleepingcomputer, thehackernews

FBI ออกแจ้งเตือนภัยถึงกลุ่มเเฮกเกอร์ชาวอิหร่านพยายามใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ CVE-2020-5902 (F5 BIG-IP) ทำการโจมตีระบบ

FBI ออกแจ้งเตือนภัยถึงกลุ่มเเฮกเกอร์ชาวอิหร่านพยายามใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ CVE-2020-5902 (F5 BIG-IP) ทำการโจมตีระบบ

FBI ได้ออกประกาศ Private Industry Notification (PIN) เพื่อเเจ้งเตือนถึงกลุ่มแฮกเกอร์ชาวอิหร่านพยายามใช้ประโยชน์จากข้อบกพร่องในช่องโหว่ CVE-2020-5902 ที่มีคะเเนนความรุนเเรงของช่องโหว่ CVSS: 10/10 โดยช่องโหว่ทำให้ผู้โจมตีสามารถเรียกใช้โค้ดจากระยะไกลโดยไม่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องและช่องโหว่จะส่งผลต่ออุปกรณ์ F5 Big-IP Application Delivery Controller (ADC)

FBI กล่าวว่ากลุ่มแฮกเกอร์ชาวอิหร่านถูกตรวจพบว่ามีการพยายามโจมตีภาคเอกชนและรัฐบาลของสหรัฐฯ โดยใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ที่ถูกพบตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม 2563 ทำการโจมตีอุปกรณ์ Big-IP ADC ที่ไม่ได้รับการอัปเดตเเพตซ์การติดตั้ง

FBI ยังกล่าวอีกว่าหลังจากกลุ่มแฮกเกอร์ทำการบุกรุกสำเร็จพวกเขาจะใช้ Webshell, Mimikatz, NMAP และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อทำการหาประโยชน์และทำการบุกรุกภายในเครือข่ายรวมถึงการปรับใช้ช่องโหว่ร่วมกับ Ransomware ในการโจมตีภายในเครือข่าย

FBI ได้ขอแนะนำผู้ดูแลระบบรีบทำการเเพตซ์ช่องโหว่ดังกล่าวให้เร็วที่สุดเพื่อป้องกันการโจมตีโดยใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ ทั้งนี้ F5 มีสคริปชื่อ CVE-2020-5902 Detection Tool สำหรับแสกนหา IoCs ในระบบ ว่าถูกโจมตีแล้วหรือยัง ซึ่งสามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่: https://github.

แจ้งเตือนช่องโหว่ระดับวิกฤติใน F5 BIG-IP รันโค้ดอันตรายจากระยะไกล

F5 Networks ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการเครือข่ายระดับองค์กรที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้เผยแพร่คำแนะนำด้านความปลอดภัยเพื่อเตือนลูกค้าให้ทำการอัพเดตเเพตซ์แก้ไขข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยที่เป็นอันตรายซึ่งมีแนวโน้มว่าจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อโจมตีองค์กรต่างๆ โดยช่องโหว่ดังกล่าวถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2020-5902 ช่องโหว่ที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ BIG-IP ซึ่งอยู่ในอุปกรณ์เน็ตเวิร์คเช่น Web Traffic Shaping Systems, Load balance, Firewall, Access Gateway ตลอดจนไปถึง SSL Middleware เป็นต้น

ทีมตอบสนองการโจมตีและภัยคุกคาม (Intelligent Response) จาก บริษัทไอ-ซีเคียว จำกัด จะมาติดตามรายละเอียดของช่องโหว่นี้ พร้อมทั้งอธิบายที่มาการตรวจจับและการป้องกันการโจมตีช่องโหว่นี้ โดยในบล็อกนี้นั้นเราจะทำการติดตามและอัปเดตข้อมูลรายวันเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับข้อมูลที่ทันสมัยที่สุด

รายละเอียดช่องโหว่โดยย่อ

รายละเอียดของช่องโหว่เชิงเทคนิค

การโจมตีช่องโหว่

ระบบที่ได้รับผลกระทบ

การตรวจจับและป้องกันการโจมตี

Root Cause ของช่องโหว่

การบรรเทาผลกระทบ

อ้างอิง

รายละเอียดช่องโหว่โดยย่อ
ช่องโหว่ CVE-2020-5902 เป็นช่องโหว่ Remote Code Execution (RCE) ที่เกิดขึ้นจากข้อผิดพลาดใน BIG-IP Management Interface หรือที่เรียกว่า TMUI (Traffic Management User Interface) โดยช่องโหว่นี้ถูกประเมินด้วยคะแนน CVSSv3 แบบ Base Score อยู่ที่ 10/10 ซึ่งถือว่าเป็นช่องโหว่ที่มีความรุนเเรงและอัตรายอย่างมาก

ผู้ประสงค์ร้ายสามารถใช้ประโยน์จากช่องโหว่นี้ผ่านทางอินเตอร์เน็ตเพื่อเข้าถึง TMUI Component ซึ่งทำงานบน Tomcat เซิร์ฟเวอร์บนระบบปฏิบัติการ Linux ของ BIG-IP ซึ่งช่องโหว่นี้ทำให้ผู้บุกรุกสามารถรันคำสั่งบนระบบได้ โดยการรันคำสั่งสามารถสร้างหรือลบไฟล์, Disable Service และยังสามารถรันคำสั่งโค้ด Java บนอุปกรณ์ที่ใช้ BIG-IP ได้

ช่องโหว่นี้ถูกค้นพบและรายงานโดย Mikhail Klyuchnikov นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Positive Technologies นักวิจัยได้ทำการค้นหาอุปกรณ์ BIG-IP ที่สามารถเข้าได้ผ่านอินเตอร์เน็ต โดยการใช้ Shodan Search พบว่ายังมีอุปกรณ์ BIG-IP ประมาณ 8,400 ที่สามารถเข้าได้ผ่านอินเตอร์เน็ตซึ่ง 40% อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา

รูปที่ 1 จำนวนอุปกรณ์ BIG-IP ที่สามารถเข้าได้ผ่านอินเตอร์เน็ต

รายละเอียดของช่องโหว่เชิงเทคนิค
ช่องโหว่ CVE-2020-5902 เป็นช่องโหว่ Directory Traversal ใน /tmui/locallb/workspace/tmshCmd.