บริษัทผู้ผลิตโซลูชันป้องกันมัลแวร์ Emsisoft คอนฟิกระบบผิด ข้อมูลในฐานข้อมูลสำหรับใช้ทดสอบระบบรั่วไหล

Emsisoft ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าทางบริษัทได้มีการตรวจสอบการตั้งค่าที่ผิดพลาดในฐานข้อมูล ซึ่งในส่วนระบบที่ใช้สำหรับประเมินประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์และทดสอบ บันทึกการใช้งานตรวจพบการเข้าถึงบางส่วนของฐานข้อมูลแต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีข้อมูลมากน้อยแค่ไหนที่ถูกเข้าถึงไปบ้าง

ในการตรวจสอบเบื้องต้น ฐานข้อมูลดังกล่าวถูกติดตั้งผิดพลาดไว้ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม จนถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การตั้งค่าผิดพลาดนั้นถูกตรวจพบ การตรวจสอบพบว่าในฐานข้อมูลดังกล่าวนั้นมีข้อมูลส่วนบุคคลเฉพาะในลักษณะที่เป็นอีเมลทั้งหมด 14 รายการ จาก 7 องค์กร/บริษัท ที่แตกต่างกันออกไป

ข้อมูลในส่วนอื่นซึ่งคาดว่าได้รับผลกระทบนั้น ได้ว่า Technical log ซึ่งเกิดจากการทำงานของโซลูชัน Endpoint protection ของ Emsisoft เองซึ่งไม่มีข้อมูลส่วนบุคคลประกอบอยู่ รวมไปถึงไม่มีข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับลูกค้าหรือผู้ใช้งาน การตรวจสอบเหตุการณ์ไม่พบหลักฐานที่ยืนยันการโจมตีดังกล่าวตั้งใจพุ่งเป้ามาที่บริษัท และไม่พบผลกระทบต่อระบบ Production

Emsisoft ได้มีการประสานงานกับผู้ได้รับผลกระทบและดำเนินการเสริมความปลอดภัยตามความเหมาะสมแล้ว

ที่มา: securityweek

TrickBot Malware Gets UEFI/BIOS Bootkit Feature to Remain Undetected

มัลแวร์ TrickBot เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ TrickBoot ทำให้มัลแวร์สามารถเข้าควบคุมเฟิร์มแวร์ในระดับ UEFI ได้

นักวิจัยจากบริษัท Advanced Intelligence (AdvIntel) และ Eclypsium ได้ออกรายงานถึงการพบความสามารถใหม่ในโมดูล TrickBot ที่จะช่วยให้มัลแวร์ TrickBot สามารถเข้าถึงแล้วควบคุม BIOS หรือเฟิร์มแวร์ UEFI ของคอมพิวเตอร์ที่ติดไวรัสได้

ตามรายงานของนักวิจัยด้านความปลอดภัยซึ่งได้ระบุว่ามัลแวร์ TrickBot ได้ทำการปรับใช้โมดูล bootkit ซึ่งเป็นฟีเจอร์นี้จะช่วยให้มัลแวร์ TrickBot สามารถเข้าถึงแล้วควบคุม BIOS หรือเฟิร์มแวร์ UEFI ของคอมพิวเตอร์ที่ติดไวรัสและมัลแวร์สามารถคงอยู่ได้ต่อไปหลังจากผู้ใช้ทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการ อีกทั้งภายในโมดูลยังมีความสามารถที่จะช่วยให้ผู้ประสงค์ร้ายสามารถทำได้ดังนี้

สามารถปิดการเข้าถึงอุปกรณ์จากระยะไกลที่ระดับเฟิร์มแวร์ผ่านการเชื่อมต่อระยะไกลของมัลแวร์ทั่วไป สามารถ Bypass ระบบ Security control เช่น BitLocker, ELAM, Windows 10 Virtual Secure Mode, Credential Guard, Endpoint Protection และซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส เป็นต้น
สามารถทำให้ผู้ประสงค์ร้ายกำหนดเป้าหมายการโจมตีช่องโหว่ Intel CSME หรือบางส่วนของ SPI controller ได้
สามารถ Reverse ACM หรือการอัปเดตไมโครโค้ดที่แก้ไขช่องโหว่ของ CPU เช่น Spectre, MDS เป็นต้น
นักวิจัยด้านความปลอดภัยยังกล่าวอีกว่ามัลแวร์มีโค้ดสำหรับอ่านเขียนและลบเฟิร์มแวร์ ซึ่งปัจจุบันโมดูลของ TrickBot ยังสามารถทำงานกับคอนโทรลเลอร์ SPI เท่านั้น ด้วยมัลแวร์ TrickBot มีความเกี่ยวเนื่องกับกลุ่ม Ransomware ในอนาคตอาจมีความเป็นไปได้ว่ากลุ่มผู้ประสงค์ร้ายนั้นจะใช้ฟีเจอร์ใหม่ของมัลแวร์ TrickBot นี้ทำการทำลายระบบของบริษัทหรือองค์กรต่างๆ ปฏิเสธการจ่ายเงินที่ถูกเรียกร้อง ทั้งนี้โมดูลนี้ยังสามารถใช้เพื่อป้องกันไม่ให้ทำการค้นหาหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่สำคัญได้โดยทำให้ความสามารถในการบู๊ตของระบบล้มเหลว

ผู้ใช้งานควรหลีกเลี่ยงการการดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บไซต์ที่ไม่รู้จักและทำการอัปเดตซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสอยู่เสมอเพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของมัลแวร์

ที่มา: zdnet | thehackernews