กลุ่มแฮกเกอร์รัสเซียกำหนดเป้าหมายมุ่งโจมตีสถาบันพัฒนาวัคซีนต้านไวรัส COVID-19 ด้วยมัลแวร์

กลุ่มแฮกเกอร์รัสเซียกำหนดเป้าหมายมุ่งโจมตีสถาบันพัฒนาวัคซีนต้านไวรัส COVID-19 ด้วยมัลแวร์

ศูนย์รักษาความปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติของสหราชอาณาจักร หรือ National Cyber Security Centre (NCSC) ได้เปิดเผยถึงรายละเอียดของกลุ่มเเฮกเกอร์รัสเซียซึ่งได้ทำการโจมตีองค์กรที่เกี่ยวข้องในการวิจัยและพัฒนาวัคซีนต่อต้าน Coronavirus หรือ COVID-19 ซึ่งกิจกรรมการโจมตีดังกล่าวกำลังถูกดำเนินการด้วยกลุ่มภัยคุกคาม APT29

รายงานดังกล่าวประกอบด้วยข้อมูลจากหลายแหล่งซึ่งเป็นความพยายามร่วมมือกันของศูนย์รักษาความปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติของสหราชอาณาจักร (NCSC), สำนักงานความมั่นคงด้านการสื่อสารของแคนาดา (CSE), สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NSA) และ หน่วยงานด้านความมั่นคงปลอดภัยและโครงสร้างพื้นฐานทางไซเบอร์ (CISA ) โดยรายละเอียดของรายงานพบว่ากลุ่ม Cozy Bear นั้นพยายามทำการ Spear Phishing รวมไปถึงการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ Citrix (CVE-2019-19781), Pulse Secure (CVE-2019-11510), Fortigate (CVE-2019-13379) และ Zimbra Collaboration Suite (CVE-2019-9670)

รายงานยังกล่าวอีกว่าหลังจากกลุ่มเเฮกเกอร์สามารถเข้าถึงเครือข่ายภายในองค์กรที่ตกเป็นเหยื่อแล้วพวกเขาจะทำการดาวน์โหลดและติดตั้งมัลแวร์ SoreFang, WellMess และ WellMail

ผู้ดูแลระบบควรทำการรีบอัพเดตเเพตซ์การเเก้ไขช่องโหว่ที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อป้องกันการโจมตีและการหาประโยชน์จากช่องโหว่ โดยกลุ่มผู้ประสงค์ร้ายต่างๆ ทั้งนี้ผู้ที่สนใจ IOCs ของมัลแวร์ข้างต้นสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่: ncsc.

Google highlights Indian ‘hack-for-hire’ companies in new TAG report

Google TAG เผยอินเดียกำลังเป็นแหล่งยอดฮิตของธุรกิจ Hack for Hire

Google Threat Analysis Group (TAG) หรือ Google TAG ซึ่งเป็นทีมที่ติดตามกลุ่มอาชญากรรมระดับสูงและอาชญากรรมทางไซเบอร์ของ Google ได้เผยแพร่รายงานประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2020 ซึ่งเป็นรายงานจากการติดตามกลุ่มอาชญากรรมไซเบอร์ที่เป็นผู้โจมตีหรือได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลมากกว่า 270 กลุ่มจากกว่า 50 ประเทศ โดยประเด็นที่น่าสนใจมีดังนี้

ความพยายามในการแฮ็กและฟิชชิงของกลุ่มต่างๆ
ปัจจุบันจากการเเพร่ของโรค Coronavirus หรือ COVID-19 ที่เกิดการเเพร่กระจายเป็นจำนวนมากทำให้กลุ่มอาชญากรรมไซเบอร์ใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์นี้เพื่อทำการแฮ็กและฟิชชิงข้อมูลโดยพุ่งเป้าหมายไปที่ ผู้นำธุรกิจ, บริษัทที่ให้บริการด้านการเงินและการให้คำปรึกษา, บริษัทด้านการดูแลสุขภาพในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา, สโลวีเนีย, แคนาดา, อินเดีย, บาห์เรน, ไซปรัสและสหราชอาณาจักร ตัวอย่างกิจกรรมทางไซเบอร์ที่เห็นได้ชัดคือ บริษัท “hack-for-hire” หรือบริษัทรับจ้างแฮกข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตในประเทศอินเดียได้ทำการสร้างแอคเคาท์ Gmail ที่ทำการปลอมเเปลงเป็น WHO เพื่อใช้ในการฟิชชิงกลุ่มเป้าหมาย โดยทั้งนี้ Google TAG มองว่าบริษัท “hack-for-hire” ในอินเดียมีการเติบโตและมีจำนวนมากขึ้นจากไตรมาสก่อน

การดำเนินการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ปัจจุบันกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือรัฐสนับสนุนมีเป้าหมายเพื่อการดำเนินการเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยใช้การดำเนินการในเครือข่ายเว็บไซต์ของ Google เช่น YouTube, Play Store, AdSense นั้นมีมากขึ้นและทาง Google รับเเจ้งให้ได้ทำการตรวจเป็นจำนวนมากหลังจากการตรวจสอบ Google ได้ทำการยกเลิกบัญชีช่อง YouTube และบัญชีการโฆษณาเป็นจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา

ทั้งนี้ผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าไปอ่านต่อได้ที่: https://blog.

Emsisoft, Coveware เสนอความช่วยเหลือถอดรหัส Ransomware ฟรีในระหว่างการระบาดของโรค Coronavirus

บริษัท Emsisoft และ Coveware ได้ประกาศว่าจะทำการช่วยถอดรหัส Ransomware และเจรจาต่อรองการชำระเงินค่าไถ่ Ransomware ให้กับผู้บริการด้านการดูแลสุขภาพและโรงพยาบาลฟรี ระหว่างการระบาดของไวรัส Coronavirus เพื่ออำนวยความสะดวกทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลและห้องปฏิบัติการที่ต้องการความช่วยเหลือ

บริษัท Emsisoft ได้เสนอการช่วยเหลือถอดรหัสและเเก้ไขจุดบกพร่องบนระบบที่จะสามารถนำสู่การติดไวรัส Ransomware ฟรี ทั้งนี้ทางบริษัท Emsisoft ยังได้เสนอการช่วยเหลือกู้คืนระบบและถอดรหัสสำหรับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพและโรงพยาบาล ที่ต้องชำระเงินค่าไถ่เพื่อกู้คืนระบบ แต่พบว่าตัวถอดรหัสที่ได้รับไม่สามารถใช้งานได้

ทางด้านบริษัท Coveware ได้เสนอช่วยเหลือในการเจรจาต่อรองที่ส่วนลดค่าไถ่จากไวรัส Ransomware ให้แก่ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ, โรงพยาบาลและห้องปฏิบัติการที่ต้องการความช่วยเหลือ เพื่ออำนวยความสะดวกในช่วงระหว่างการระบาดของไวรัส Coronavirus หรือ (Covid-19)

ที่มา: bleepingcomputer

World Health Organization Warns of Coronavirus Phishing Attacks

WHO เตือนการโจมตีฟิชชิงอ้างข้อมูลไวรัสโคโรน่า

อาชญากรปลอมตัวเป็นองค์กรอนามัยโลกเพื่อขโมยเงินหรือข้อมูลสำคัญด้วยการส่งเมลฟิชชิ่งเพื่อขอให้เป้าหมายส่งข้อมูลที่เป็นชื่อผู้ใช้งานหรือรหัสผ่านและอาจมีการขอให้เปิดไฟล์มัลแวร์ที่แนบมาเพื่อติดตั้ง payloads ยังอุปกรณ์ของเป้าหมาย
แนวทางป้องกันหากคุณได้รับเมลจากองค์กร WHO ควรตรวจสอบความถูกต้องก่อนตามขั้นตอนด้านล่าง
1 ตรวจสอบชื่อที่อยู่อีเมลที่ส่งว่าอยู่ในลักษณะ ชื่อบุคคล@who.