มัลแวร์ใช้ฟีเจอร์ Microsoft Windows Error Reporting (WER) เพื่อรันโค้ดอันตรายแบบไม่มีไฟล์ (fileless)

Hossein Jazi และ Jérôme Segura จาก MalwareBytes เปิดเผยผลการวิเคราะห์ซึ่งตรวจพบในมัลแวร์สายพันธุ์ใหม่ วิธีการนี้เคยถูกใช้ในมัลแวร์ Netwalker และมัลแวร์เรียกค่าไถ่ Cerber มาก่อนแล้ว

มัลแวร์เริ่มต้นการแพร่กระจายผ่านทางสคริปต์ macro ในไฟล์ทางอีเมล โดยสคริปต์ดังกล่าวนั้นถูกพัฒนามาจากโครงการโอเพนซอร์สสำหรับการประเมินความปลอดภัยระบบชื่อ CactusTorch ซึ่งมีความสามารถในการโหลดไบนารีซึ่งถูกคอมไพล์จาก .Net ไปยังโปรเซสที่ต้องการเพื่อฝังโค้ดที่เป็นอันตรายได้

ในกรณีของมัลแวร์ดังกล่าว มัลแวร์มีการโหลดโมดูลที่มีชื่อว่า Kraken และกำหนดเป้าหมายในการแทรกโค้ดไบนารีไปยังโปรเซส werfault.

Goodbye Cerber? Hello Magniber Ransomware!

แจ้งเตือนมัลแวร์เรียกค่าไถ่ชนิดใหม่ "Magniber"

นักวิจัยด้านความปลอดภัย Michael Gillespie ได้ประกาศการค้นพบมัลแวร์เรียกค่าไถ่ชนิดใหม่ภายใต้ชื่อ Magniber ซึ่งใช้ช่องทางการแพร่กระจายผ่านทางการโจมตีแบบ drive-by download หรือทาง exploit kit โดยลักษณะของ Magniber นั้นมีความคล้ายคลึงกับมัลแวร์เรียกค่าไถ่ Cerber ซึ่งแพร่กระจายมานานแล้วเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะไฟล์ที่เข้ารหัสและระบบการจ่ายเงินค่าไถ่

นักวิจัยด้านปลอดภัยคนอื่นๆ ได้มีการตรวจพบ Magniber ในเวลาไร่เรี่ยกัน โดย Magniber เมื่อเริ่มต้นทำงานบนระบบแล้วจะมีการตรวจสอบว่าภาษาของระบบนั้นถูกตั้งค่าให้เป็นภาษาเกาหลีหรือไม่ หากว่าระบบมีการใช้งานภาษาเกาหลีเป็นภาษาหลักก็จะเริ่มทำการเข้ารหัสทันที แต่หากระบบมีการใช้งานเป็นภาษาอื่นก็จะไม่ได้ดำเนินการเข้ารหัส ดังนั้นการแพร่กระจายของ Magniber จึงตรวจพบในเกาหลีใต้เป็นจำนวนมาก

ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถป้องกันผลกระทบจาก Magniber ได้โดยการอัพเดป OS และซอฟต์แวร์ที่ใช้งานให้เป็นเวอร์ชันใหม่อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลั๊กอินของเบราว์เซอร์อย่าง Java runtime และ Adobe Flash Player

ที่มา : BLEEPINGCOMPUTER