ฟีเจอร์ AI ใหม่ของ Google Pixel สามารถวิเคราะห์บทสนทนาทางโทรศัพท์เพื่อตรวจจับการหลอกลวงได้

Google ได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่เพื่อป้องกันการหลอกลวงโดยการใช้ AI ที่คอยตรวจสอบบทสนทนาทางโทรศัพท์บนอุปกรณ์ Google Pixel เพื่อจับรูปแบบการสนทนา และจะมีสัญญาณเตือนว่าผู้โทรอาจเป็นมิจฉาชีพ

นอกจากนี้ Google ยังได้เพิ่มฟีเจอร์ป้องกันแบบเรียลไทม์ใน Google Play Protect ที่จะตรวจจับแอปที่ไม่ปลอดภัยเมื่อพบใน Google Play

ฟีเจอร์เหล่านี้ได้เปิดให้ใช้งานแล้วบนอุปกรณ์ Google Pixel 6 และรุ่นใหม่กว่า โดยคาดว่าอุปกรณ์ Android รุ่นอื่นจะสามารถใช้งานฟีเจอร์ดังกล่าวนี้ได้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ฟีเจอร์การป้องกันแบบเรียลไทม์เหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อทำให้การใช้งาน Android ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยการหลีกเลี่ยง และบล็อกการใช้งานที่เป็นอันตราย

ตรวจจับการโทรหลอกลวงด้วย AI

ฟีเจอร์แรกที่ Google ประกาศคือระบบป้องกันการหลอกลวงโดยใช้ AI ในการวิเคราะห์การสนทนาทางโทรศัพท์ในขณะที่กำลังสนทนาอยู่ เพื่อระบุว่าผู้โทรเป็นมิจฉาชีพหรือไม่

ระบบจะทำงานแบบเรียลไทม์ด้วยการตรวจจับรูปแบบการสนทนาที่มักเกี่ยวข้องกับการหลอกลวง เช่น ผู้โทรแอบอ้างตัวเป็นบริษัท หรือมีการโทรฉุกเฉินหลังจากได้รับการแจ้งเตือนการละเมิดข้อมูล

เมื่อตรวจพบว่าการโทรเป็นการหลอกลวง จะมีการแจ้งเตือนปรากฏขึ้นบนโทรศัพท์เพื่อเตือนผู้ใช้ Android และถามว่าต้องการวางสายหรือไม่

แม้ว่าการประมวลผลทั้งหมดจะเกิดขึ้นบนอุปกรณ์ แต่ Google ได้เลือกที่จะปิดฟีเจอร์นี้ไว้เป็น default และอนุญาตให้ผู้ใช้เปิดใช้งานได้ผ่านการตั้งค่าแอปโทรศัพท์ หรือแม้กระทั่งขณะกำลังรับสายใดสายหนึ่ง

การเปิดตัวระบบป้องกันการหลอกลวงในระยะแรกจะรองรับเฉพาะการสนทนาที่เป็นภาษาอังกฤษ และขณะนี้กำลังทยอยเปิดใช้งานให้กับผู้ใช้ Google Pixel 6 ขึ้นไปในสหรัฐอเมริกา

Google ระบุว่า “Gemini Nano ซึ่งเป็นโมเดล AI บนอุปกรณ์ของเรา ทำหน้าที่เป็นตัวขับเคลื่อนการตรวจจับการหลอกลวงบนอุปกรณ์ Pixel 9”

“เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นที่จะนำฟีเจอร์ AI ไปสู่ผู้ใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้มากขึ้น การป้องกันด้วย AI นี้จึงมีให้สำหรับผู้ใช้ Pixel 6 ขึ้นไปด้วยโมเดลการเรียนรู้บนอุปกรณ์ของ Google ที่มีประสิทธิภาพ”

ระบบป้องกันการสะกดรอย

ฟีเจอร์ที่สองคือ "การตรวจจับภัยคุกคามแบบเรียลไทม์" ใน Google Play Protect ซึ่งเป็นเครื่องมือป้องกันมัลแวร์ และรักษาความปลอดภัยเริ่มต้นของ Android ที่ช่วยปกป้องผู้ใช้แบบเรียลไทม์

Google ประกาศว่า "Play Protect คือ การวิเคราะห์สัญญาณพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิ์ที่สำคัญ และการโต้ตอบกับแอป และบริการอื่น ๆ"

"ด้วยการตรวจจับภัยคุกคามแบบเรียลไทม์ หากพบแอปที่เป็นอันตราย ผู้ใช้จะได้รับการแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ ซึ่งช่วยให้สามารถดำเนินการป้องกันอุปกรณ์ได้ทันที

กระบวนการสแกน และตรวจจับนี้มีการจัดการในเครื่องผ่าน Private Computer Core ของ Android เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้

Google ชี้แจงว่าในการเปิดตัวครั้งแรก ระบบใหม่จะมุ่งเน้นไปที่ stalkerware ซึ่งเป็นแอปที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับเหยื่อโดยไม่ขอความยินยอม และไม่ให้ข้อมูลแก่เหยื่อ

ในอนาคต จะมีการเพิ่มประเภทของแอปที่เป็นอันตรายอื่น ๆ เช่น มัลแวร์, โฆษณาแฝง, banking trojans และ spyware เข้าไปด้วย

ที่มา : bleepingcomputer