CISA แจ้งเตือนช่องโหว่ใน Microsoft Streaming กำลังถูกใช้ในการโจมตี

หน่วยงานความปลอดภัยทางไซเบอร์ของสหรัฐอเมริกา หรือ CISA สั่งให้หน่วยงาน US Federal Civilian Executive Branch (FCEB) ทำการป้องกันระบบเครือข่ายจากช่องโหว่ที่มีระดับความรุนแรงสูงใน Microsoft Streaming Service (MSKSSRV.SYS) ที่กำลังถูกใช้ในการโจมตี

CVE-2023-29360 (คะแนน CVSS 8.4/10 ความรุนแรงระดับ High) เป็นช่องโหว่ Untrusted Pointer Dereference ซึ่งทำให้ Hacker ที่เข้าถึงระบบได้ในระดับ Local ได้รับสิทธิ์ SYSTEM บนระบบ ซึ่งการโจมตีมีความซับซ้อนต่ำ และไม่จำเป็นต้องมีการโต้ตอบจากผู้ใช้ ถูกค้นพบโดย Thomas Imbert ซึ่งพบช่องโหว่จาก Synactiv ใน Microsoft Streaming Service Proxy (MSKSSRV.SYS) และรายงานไปยัง Microsoft ผ่านทาง Zero Day Initiative ของ Trend Micro

ทาง Microsoft ได้ออกอัปเดตเพื่อแก้ไขช่องโหว่ดังกล่าวแล้วใน Patch Tuesday เดือนมิถุนายน 2023 รวมถึงได้มีการเปิดเผยชุดสาธิตการโจมตีหรือ proof-of-concept (PoC) บน GitHub ใน ในวันที่ 24 กันยายน 2023

ทั้งนี้ทาง CISA ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการโจมตีที่กำลังดำเนินการอยู่ แต่ยืนยันว่าไม่พบหลักฐานว่าช่องโหว่นี้ถูกใช้ในการโจมตีจาก ransomware โดยทาง CISA ได้เพิ่มช่องโหว่ดังกล่าวไปยัง Known Exploited Vulnerabilities Catalog (KEV) หรือรายการช่องโหว่ที่พบว่ากำลังถูกใช้ในการโจมตี และแจ้งเตือนว่า “ช่องโหว่ดังกล่าวเป็นช่องทางที่พบว่าถูก Hacker ใช้โจมตีบ่อยครั้ง และก่อให้เกิดความเสี่ยงที่สำคัญต่อองค์กรของรัฐบาลกลาง”

โดยองค์กรของรัฐบาลกลางต้องทำตามคำสั่งของ CISA ตามที่ได้รับคำสั่งจากคำสั่งการปฏิบัติงานที่มีผลผูกพัน (BOD 22-01) ที่ออกในเดือนพฤศจิกายน 2021 ซึ่งต้องเร่งทำการอัปเดตระบบ Windows เพื่อป้องกันช่องโหว่ดังกล่าวภายในวันที่ 21 มีนาคม 2024

รวมถึงแม้ว่า KEV Catalog จะมุ่งเน้นไปที่การแจ้งเตือนหน่วยงานรัฐบาลกลางเกี่ยวกับช่องโหว่ที่ควรได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุด แต่องค์กรเอกชนทั่วโลกก็ควรแก้ไขตามเช่นกัน เพื่อป้องกันการโจมตีจากช่องโหว่ดังกล่าว

การโจมตีด้วย malware ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2023

Check Point บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์สัญชาติอเมริกัน-อิสราเอล ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับช่องโหว่ CVE-2023-29360 ว่าพบการโจมตีของมัลแวร์ในชื่อ Raspberry Robin ได้ใช้ช่องโหว่ดังกล่าวในการโจมตีมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2023

Raspberry Robin เป็นมัลแวร์ที่มีความสามารถของเวิร์ม ซึ่งถูกพบในเดือนกันยายน 2021 และแพร่กระจายผ่าน USB drives เป็นหลัก แม้ว่าจะไม่สามารถระบุได้ว่า Hacker กลุ่มใดเป็นผู้สร้างมัลแวร์ แต่ก็มีการเชื่อมโยงกับกลุ่ม Hacker หลายกลุ่มรวมถึง EvilCorp และกลุ่ม Clop ransomware โดยทาง Microsoft ได้รายงานไว้ในเดือนกรกฎาคม 2022 ว่าตรวจพบมัลแวร์ Raspberry Robin บนเครือข่ายขององค์กรหลายร้อยแห่งจากภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ

Raspberry Robin มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยนำกลยุทธ์ delivery ใหม่มาใช้ และเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ๆ รวมถึงการหลีกเลี่ยงการตรวจจับ โดยการทิ้งเพย์โหลดปลอมเพื่อทำให้นักวิจัยเข้าใจผิด

ที่มา : bleepingcomputer