กลุ่ม RansomHouse อ้างว่าได้โจมตี และขโมยข้อมูลของ AMD กว่า 450 GB

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา RansomHouse ได้มีการส่งข้อความผ่าน Telegram ของพวกเขาว่าจะมีการขายข้อมูลของบริษัทที่มีชื่อสามตัวอักษร และขึ้นต้นตัวอักษร “A” ซึ่งหลังจากนั้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมาทางกลุ่ม RansomHouse ก็ได้มีการเพิ่ม AMD ลงในเว็บไซต์ Data leak ของตนเองโดยอ้างว่ามีข้อมูลที่ขโมยมาได้จาก AMD กว่า 450 GB

RansomHouse ได้บอกว่าข้อมูลที่ได้ขโมยไปนั้นเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัย และข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลนี้รวมถึง CSV ที่เผยแพร่ออกมา ซึ่งมีรายชื่อของอุปกรณ์กว่า 70,000 เครื่อง ที่ดูเหมือนจะเป็นเครือข่ายภายในของ AMD รวมถึงรายการ Corporate Credential ของ User ที่ตั้งรหัสผ่านไม่รัดกุม เช่น ‘password’ ‘P@ssw0rd’ ‘amd!23’ ‘Welcome1’ และพวกเขากำลังวิเคราะห์เพื่อกำหนดมูลค่าของข้อมูล

ต่อมา AMD ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้าน Semiconductor ผู้ผลิต CPU และการ์ดจอ โดย AMD ได้ออกมาระบุว่าพวกเขากำลังสืบสวนเกี่ยวกับข่าว และเหตุการณ์ที่อ้างว่ามีการโจมตี และได้โมยข้อมูลออกไปกว่า 450 GB โดยกลุ่ม RansomHouse ในครั้งนี้

RansomHouse ได้ให้ข้อมูลกับ BleepingComputer ว่า partner ของพวกเขาได้เริ่มการโจมตี AMD เมื่อประมาณหนึ่งปีที่แล้ว แต่สาเหตที่ในเว็บไซต์ของพวกเขาได้ระบุถึงการรั่วไหลของข้อมูลเป็นวันที่ 5 มกราคม 2565 นั้น เนื่องจากเป็นวันที่กลุ่มถูกตัดขาดการเข้าถึงเครือข่ายของ AMD

ในขณะที่ RansomHouse ถูกเชื่อมโยงเข้ากับกลุ่ม Ransomware อย่าง WhiteRabbit แต่พวกเขาระบุว่าการโจมตีครั้งนี้ไม่ได้มีการเข้ารหัสอุปกรณ์ และไม่ได้มีการใช้ Ransomware ในการโจมตี AMD และพวกเขาไม่ได้ติดต่อกับ AMD เพื่อเรียกค่าไถ่แต่อย่างใด เนื่องจากทางกลุ่มมองว่าเสียเวลาในการเจรจากับตัวแทนขององค์กร ซึ่งการขายข้อมูลให้กับหน่วยงานอื่น ๆ หรือผู้โจมตีอื่น ๆ นั้นใช้เวลาน้อยกว่ามาก และมีมูลค่ามากกว่า

RansomHouse นั้นเป็นกลุ่มที่ใช้ข้อมูลขององค์กรมาใช้ในการเรียกค่าไถ่แลกกับการไม่เผยแพร่ข้อมูลขององค์กรออกสู่สาธารณะ หรือขายให้กับผู้โจมตีรายอื่น ๆ ได้เริ่มปฏิบัติการเมื่อเดือนธันวาคม 2564 โดยมีเหยื่อรายแรกคือ Saskatchewan Liquor and Gaming Authority (SLGA) และยังพบว่ากลุ่มได้มีความเชื่อมโยงกับกลุ่ม White Rabbit Ransomware จาก Note ที่ทิ้งไว้หลังจากที่โจมตีเหยื่อตามภาพตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 ทาง RansomHouse ได้เพิ่มเหยื่ออีกห้ารายไปยังเว็บไซต์ Dataleak ของพวกเขา รวมถึง AMD ด้วย และอีกหนึ่งในเหยื่อเหล่านี้คือ Shoprite Holdings ที่เป็นเครือข่าย Supermaket ที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกา ซึ่งได้ยืนยันแล้วว่าถูกโจมตี เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2565

แนวทางการป้องกัน

  •  ไม่เปิดอีเมล หรือไฟล์แนบจากผู้ส่งที่ไม่รู้จัก หรือดูน่าสงสัย
  • อัพเดตแพตช์บนระบบปฏิบัติการให้ล่าสุดเสมอ
  • อัพเดท Signature หรือเวอร์ชันของ Endpoint ให้เป็นปัจจุบัน
  • Backup ข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ในอนาคต
  • ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด

ที่มา : bleepingcomputer