Backdoored in 30 Seconds: Attack Exploits Intel AMT Feature

เป็นเพราะไม่ได้เป็นรหัสผ่าน! นักวิจัยจาก F-secure เปิดเผยช่องโหว่บายพาสรหัสผ่าน BIOS, TPM Pin และ BitLocker ได้

นักวิจัยด้านความปลอดภัยเปิดเผยช่องโหว่ที่ช่วยให้ผู้โจมตีสามารถบายพาสการตรวจสอบรหัสผ่านเมื่อเริ่มต้นการทำงานคอมพิวเตอร์ อาทิ รหัสผ่าน BIOS, รหัสผ่านแบบ Pin ของ TPM หรือ BitLocker ได้ โดยมีต้นเหตุมาจากการที่ระบบหนึ่งยังคงใช้รหัสผ่านที่เป็นค่าเริ่มต้นที่สามารถคาดเดาได้ง่าย ซึ่งระบบนั้นคือ Intel AMT

Intel AMT เป็นระบบที่ทำงานอยู่ในซีพียู โดยช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง Intel AMT จากระยะไกลเพื่อตั้งค่าต่างๆ ได้ ปัญหาสำคัญคือ Intel AMT มักไม่ได้รับการตั้งค่าที่ถูกต้องทำให้ยังคงมีการใช้รหัสผ่านที่เป็นค่าเริ่มต้นไว้อยู่ ผู้โจมตีที่สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ทางกายภาพได้ก็สามารถบังคับให้ระบบบู๊ตเข้าระบบ Intel Management Engine BIOS extension (MEBx) ด้วยการกด Ctrl + P เมื่อบู๊ต แล้วใข้รหัสผ่านที่เป็นค่าเริ่มต้นดังกล่าวเพื่อข้ามผ่านการตรวจสอบรหัสผ่านจากฟีเจอร์อื่นๆ ไปได้

Intel AMT มักเป็นฟีเจอร์ที่ติดตั้งอยู่บนคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานภายในองค์กรและไม่ค่อยพบในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานทั่วไป อย่างไรก็ตามเราแนะนำให้ตรวจสอบว่ามีการใช้งาน Intel AMT อยู่หรือไม่ และทำการเปลี่ยนรหัสดังกล่าวให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันการโจมตีช่องโหว่ดังกล่าว

ที่มา : bankinfosecurity

Web Trackers Exploit Flaw in Browser Login Managers to Steal Usernames

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Princeton ได้ออกมาเปิดเผยเทคนิคการดึงข้อมูลที่บริษัทโฆษณาและวิเคราะห์นำมาใช้งานเพื่อเชื่อมโยงพฤติกรรมของผู้ใช้งานแม้ว่าผู้ใช้งานจะไม่ได้ทำการพิสูจน์ตัวตนเมื่อใช้งานเว็บไซต์ โดยเทคนิคดังกล่าวนั้นอาศัยฟีเจอร์ "จดจำและกรอกรหัสผ่านโดยอัตโนมัติ" ของเว็บเบราว์เซอร์ร่วมกับการสคริปต์เพื่อดึงข้อมูล

ในเทคนิคนี้ใน เว็บไซต์ที่ให้บริการจะใช้วิธีการฝังช่องกรอกข้อมูลสำหรับเข้าสู่ระบบที่ไม่สามารถเห็นได้จากหน้าเว็บไซต์เอาไว้ หากผู้ใช้งานที่เข้าชมหน้าเว็บไซต์ดังกล่าวเคยเข้าสู่ระบบมาก่อนแล้วและอนุญาตให้เบราว์เซอร์เก็บข้อมูลรหัสผ่านเอาไว้ เบราว์เซอร์จะทำการกรอกข้อมูลลงฟอร์มโดยอัตโนมัติทำให้เว็บไซต์ที่ให้บริการสามารถดึงข้อมูลดังกล่าวมาเชื่อมโยงการเยี่ยมชมของผู้ใช้งานได้

จากการวิจัยดังกล่าว มีการเปิดเผยว่ามีเพียงสองบริษัทด้านโฆษณาและวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้เทคนิคนี้ ได้แก่ Adthink และ OnAudience โดยทั้งสองบริษัทนั้นมีการเก็บข้อมูลเพียงแค่ชื่อผู้ใช้งานและอีเมล ไม่ได้เก็บข้อมูลรหัสผ่านที่ถูกกรอกลงฟอร์มโดยอัตโนมัติไปด้วย

ในขณะนี้มีเพียงเบราว์เซอร์เดียวคือ Google Chrome ที่จะไม่กรอกข้อมูลอัตโนมัติจนกว่าจะมี action ใดๆ จากผู้ใช้งาน แต่ก็ยังไม่ใช่วิธีป้องกันกรณีนี้ได้ดีนักเนื่องจากทางที่ดีที่สุดคือการไม่ให้เบราว์เซอร์เก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้เลย

ที่มา : bleepingcomputer