แฮกเกอร์ชาวอิหร่านแฮกเซิร์ฟเวอร์ VPN เพื่อฝัง backdoors ในบริษัทต่างๆ ทั่วโลก
แฮกเกอร์ชาวอิหร่านมุ่งโจมตี VPN จาก Pulse Secure, Fortinet, Palo Alto Networks และ Citrix เพื่อแฮ็คเข้าสู่บริษัทขนาดใหญ่
ClearSky บริษัทรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ของอิสราเอลออกรายงานใหม่ที่เผยให้เห็นว่ากลุ่มแฮกเกอร์ที่มีรัฐบาลอิหร่านหนุนหลังในปีที่เเล้วได้มุ่งเน้นให้ความสำคัญสูงในการเจาะช่องโหว่ VPN ทันทีที่มีข่าวช่องโหว่สู่สาธารณะเพื่อแทรกซึมและฝัง backdoors ในบริษัทต่างๆ ทั่วโลก โดยมุ่งเป้าหมายเป็นองค์กรด้านไอที, โทรคมนาคม, น้ำมันและก๊าซ, การบิน, รัฐบาล, และ Security
โดยบางการโจมตีเกิดขึ้น 1 ชั่วโมงหลังจากมีการเปิดเผยข้อมูลช่องโหว่ต่อสาธารณะ ซึ่งรายงานนี้ได้หักล้างแนวคิดที่ว่าแฮกเกอร์อิหร่านไม่ซับซ้อน และมีความสามารถน้อยกว่าประเทศคู่แข่งอย่างรัสเซีย จีน หรือเกาหลีเหนือ โดย ClearSky กล่าวว่ากลุ่ม APT ของอิหร่านได้พัฒนาขีดความสามารถด้านเทคนิคจนสามารถ exploit ช่องโหว่ 1-day (ช่องโหว่ที่ได้รับการแพตช์แล้วแต่องค์กรยังอัปเดตแพตช์ไม่ทั่วถึง) ในระยะเวลาอันสั้น ในบางกรณี ClearSky กล่าวว่าพบแฮกเกอร์อิหร่านทำการ exploit จากข้อบกพร่องของ VPN ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากข้อบกพร่องถูกเปิดเผยสู่สาธารณะ
ตามรายงานของ ClearSky ระบุวัตถุประสงค์ของการโจมตีเหล่านี้คือการละเมิดเครือข่ายองค์กร จากนั้นกระจายไปทั่วทั้งระบบภายในขององค์กรเเละฝัง backdoors เพื่อ exploit ในเวลาต่อมา
ในขั้นตอนที่ย้ายจากเครื่องหนึ่งไปจากอีกเครื่องหนึ่งในองค์กร (lateral movement) มีการใช้เครื่องมือแฮก open-sourced เช่น Juicy Potato เเละ Invoke the Hash รวมไปถึงการใช้ซอฟต์แวร์ดูแลระบบที่เหมือนกับผู้ดูแลระบบใช้งานปกติอย่าง Putty, Plink, Ngrok, Serveo หรือ FRP
นอกจากนี้ในกรณีที่แฮกเกอร์ไม่พบเครื่องมือ open-sourced หรือ local utilities ที่ช่วยสนับสนุนการโจมตีของพวกเขา พวกเขายังมีความรู้ในการพัฒนามัลเเวร์เองด้วย
อีกหนึ่งการเปิดเผยจากรายงานของ ClearSky คือกลุ่มอิหร่านก็ดูเหมือนจะทำงานร่วมกันเเละทำหน้าที่เป็นหนึ่งเดียวกันที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งในรายงานก่อนหน้านี้เกี่ยวกับกลุ่มอิหร่านมักจะมีลักษณะการทำงานที่ไม่เหมือนกันและแต่ละครั้งที่มีการโจมตีจะเป็นการทำงานเพียงกลุ่มเดียว
แต่การโจมตีเซิร์ฟเวอร์ VPN ทั่วโลกนั้นดูเหมือนจะเป็นผลงานการร่วมมือของกลุ่มอิหร่านอย่างน้อยสามกลุ่ม ได้แก่ APT33 (Elfin, Shamoon), APT34 (Oilrig) และ APT39 (Chafer)
ปัจจุบันวัตถุประสงค์ของการโจมตีเหล่านี้ดูเหมือนจะทำการ reconnaissance เเละ ฝัง backdoors สำหรับสอดแนม อย่างไรก็ตาม ClearSky กลัวว่าในอนาคตอาจมีการใช้ backdoor เหล่านี้เพื่อวางมัลแวร์ทำลายข้อมูลที่สามารถก่อวินาศกรรมต่อบริษัทได้ ทำลายเครือข่ายและการดำเนินธุรกิจ โดยสถานการณ์ดังกล่าวมีความเป็นไปได้มากหลักจากที่มีการพบมัลแวร์ทำลายข้อมูล ZeroCleare เเละ Dustman ซึ่งเป็น 2 สายพันธุ์ใหม่ในเดือนกันยายน 2019 และเชื่อมโยงกลับไปยังแฮกเกอร์ชาวอิหร่าน นอกจากนี้ ClearSky ก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าแฮกเกอร์อิหร่านอาจ Exploit การเข้าถึงบริษัทเหล่านี้เพื่อโจมตีของลูกค้าพวกเขา
ClearSky เตือนว่าถึงแม้บริษัทจะอัปเดตเเพตช์เเก้ไขช่องโหว่เซิร์ฟเวอร์ VPN ไปแล้ว ก็ควรสแกนเครือข่ายภายในของพวกเขาสำหรับตรวจเช็คสัญญาณอันตรายต่างๆ ที่อาจบ่งบอกว่าได้ถูกแฮกไปแล้วด้วย
โดยสามารถตรวจสอบ indicators of compromise (IOCs) ได้จากรายงานฉบับดังกล่าวที่ https://www.
Iranian hackers have been hacking VPN servers to plant backdoors in companies around the world
Iranian Hackers Target Universities in Global Cyberattack Campaign
Cobalt Dickens ซึ่งเป็นกลุ่มที่เชื่อมโยงกับรัฐบาลอิหร่านตกเป็นผู้ต้องสงสัยอยู่เบื้องหลังการโจมตีมหาวิทยาลัยทั่วโลกเพื่อขโมยข้อมูลประจำตัว
กลุ่มนักวิจัยของ Secureworks ได้เปิดเผยการโจมตีหลังจากเริ่มพบ URL ปลอมแปลงในหน้าเว็บเข้าสู่ระบบของมหาวิทยาลัย หลังจากนำหมายเลข IP ไปวิเคราะห์เพิ่มเติมพบการโจมตีขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับ 16 โดเมนที่มีเว็บไซต์ปลอมแปลงมากกว่า 300 แห่งและหน้าเว็บเข้าสู่ระบบของ 76 มหาวิทยาลัยใน 14 ประเทศ ผู้บุกรุกมุ่งเป้าไปที่โรงเรียนในสหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, ออสเตรเลีย, แคนาดา, จีน, อิสราเอล, ญี่ปุ่นและตุรกี เป็นต้น และได้แจ้งเตือนไปยังเป้าหมายดังกล่าว
ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจะถูกหลอกให้ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบในหน้าเข้าสู่ระบบปลอม หลังจากนั้นจะเปลี่ยนเส้นทางไปยังหน้าเว็บที่ถูกต้อง เพื่อให้เหยื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบเป็นครั้งที่สอง โดเมนส่วนใหญ่ในเหตุการณ์ดังกล่าวจะเชื่อมต่อกับบาง IP และ DNS ซึ่งโดเมนหนึ่งถูกจดทะเบียนในเดือนพฤษภาคมปีพ.ศ. 2561 เพื่อนำโดเมนย่อยที่ออกแบบมาใช้หลอกเป้าหมายของมหาวิทยาลัยและเปลี่ยนเส้นทางผู้เข้าชมไปยังหน้าการเข้าสู่ระบบปลอมบนโดเมนอื่นที่ควบคุมโดยผู้บุกรุก เพื่อใช้ข้อมูลประจำตัวที่ได้มาขโมยทรัพย์สินทางปัญญาอย่างงานวิจัยต่างๆ
ที่มา : darkreading