Antileaks Hackers Launch DDOS Attacks on Russia Today(RT.com)

เว็บไซต์สำนักข่าว Russia Today (RT.com) ถูกโจมตีด้วยการ DDoS โดยกลุ่มแฮกเกอร์ Antileaks ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนกลุ่มแฮกเกอร์ดังกล่าวได้ทำการ DDoS เว็บไซต์ Wikileaks มาแล้ว

ที่มา : ehackingnews

Bafruz Trojan replicates Antivirus in order to disable it

มัลแวร์ Bafruz คือมัลแวร์ที่จะทำการสร้าง Backdoor ไว้ในเครื่องของเหยื่อเพื่อใช้สำหรับสร้างการเชื่อมต่อแบบ Peer-to-Peer(P2P) ไปยัง Command and Control Server (C&C Server) มัลแวร์ Bafruz ยังมีความสามารถในการขโมยข้อมูลบัญชี Facebook และ Vkontakte, ใช้เครื่องของเหยื่อเพื่อทำการโจมตีแบบ Distributed Denial of Service (DDOS), ทำการ Bitcoin mining (การใช้เครื่องทำการเพิ่ม Block ลงไปใน Block Chain ซึ่งจะได้รางวัลป็น 50 Bitcoins(เรท ณ ตอนที่เขียนข่าว) ทุก Block ที่ทำการเพิ่มเข้าไป), ดาวโหลดมัลแวร์ตัวอื่นๆ และปิดการทำงานทางด้านความปลอดภัยและโปรแกรมแอนตี้ไวรัสของเครื่องของเหยื่อ ส่วนที่น่าสนใจที่สุดของมัลแวร์ Bafruz ก็คือ วิธีการในการปิดการทำงานโปรแกรมแอนตี้ไวรัสของเครื่องของเหยื่อ วิธีการก็คือ เมื่อเครื่องของเหยื่อติดมัลแวร์ Bafruz มัลแวร์ Bafruz จะขึ้น ข้อความเตือนปลอมเหมือนในรูปซึ่งจะบอกให้เหยื่อต้องรีสตาร์ทเครื่องถ้าจะเอาไวรัสออก เมื่อเหยื่อกดให้รีสตาร์ท มัลแวร์จะรีสตาร์ทเครื่องของเหยื่อในเซฟโหมดซึ่งมัลแวร์สามารถปิดการทำงานทุกอย่างของแอนตี้ไวรัสได้ทั้งหมด สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่าง คือ ข้อความเตือนปลอมที่ขึ้นมานั้นจะขึ้นอยู่กับแอนตี้ไวรัสที่ลงบนเครื่องของเหยื่อ ไมโครซอฟได้เอามัลแวร์ Bafruz เข้าไปในรายชื่อมัลแวร์ที่สามารถเอาออกได้โดยใช้โปรแกรม Malicious Software Removal Tool (MSRT)

ที่มา : ehackingnews

Reuters hacked again

บล็อคของสำนักข่าวรอยเตอร์ได้ถูกเจาะระบบถึง 2 ครั้งภายใน 2 สัปดาห์ ในการเจาะระบบครั้งนี้ข่าวปลอมที่ถูกโพสขึ้นไปบนบล็อคคือ “รัฐมนตรีต่างประเทศของซาอุดิอาระเบีย เจ้าชาย Saud al-Faisal ได้เสียชีวิตลงแล้ว” ซึ่งรอยเตอร์ได้ยืนยันว่าข่าวนี้ไม่ได้ถูกโพสลงในบล็อคด้วยฝีมือของนักข่าว และข่าวนี้ไม่ได้เป็นความจริงอย่างแน่นอน ในตอนนี้รอยเตอร์กำลังพยายามทำงานเพื่อแก้ปัญหานี้อยู่โดยรอยเตอร์เชื่อว่า บุคคลที่อยู่เบื้องหลังการเจาะระบบครั้งนี้น่าจะเป็นคนๆเดียวกับที่เจาะระบบบล็อคของรอยเตอร์และขโมยหนึ่งในบัญชีทวิตเตอร์ของรอยเตอร์เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา การสืบสวนหลังจากการเจาะระบบครั้งแรกได้แสดงให้เห็นว่ารอยเตอร์ได้ใช้ WordPress เวอร์ชั่นเก่าที่มีปัญหาทางด้านความปลอดภัยซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไปอยู่ซึ่งนั้นเป็นอาจจะเป็นช่องโหว่ที่แฮกเกอร์ใช้ป็นช่องทางในการเจาะระบบ

ที่มา : net-security

World's largest oil company Saudi Aramco hit by malware

Saudi Aramco บริษัทน้ำมันแห่งชาติของซาอุดิอาระเบียได้รายงานว่า ได้มีการขโมยข้อมูลสำคัญเกิดขึ้นในเครือข่ายของพวกเขา ตอนนี้ยังไม่รู้ว่ามัลแวร์ที่แพร่กระจายอยู่ในเครือข่ายของพวกเขาคืออะไร พวกเขาได้โพสข้อความลงใน Facebook ของพวกเขาดังนี้ “ในวันพุธที่ 15 สิงหาคม ปี 2012 พนักงานของ Saudi Aramco ได้ยืนยันว่าบริษัทได้มีการแยกระบบอิเล็กทรอนิกส์ออกจากการเชื่อมต่อที่มาจากภายนอกทั้งหมด เพื่อป้องกันการโจมตีที่จะทำลายบางส่วนของเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์แบบทันที การโจมตีนี้เป็นที่ต้องสงสัยว่าจะเกิดจากไวรัสที่แพร่กระจายอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่อยู่ในบริษัทโดยที่ไม่ได้ส่งผลถึงเครือข่ายหลัก บริษัท Saudi Aramco ได้ยืนยันว่าเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมแกนกลางของธุรกิจและการผลิตของบริษัทไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้ บริษัทได้มีการจ้างการจัดทำระบบระมัดระวังภัยล่วงหน้าและมีการใช้ multiple redundant system บนระบบที่มีความซับซ้อนสูงเพื่อป้องกันการปฎิบัติงานและระบบฐานข้อมูลของบริษัทไว้แล้ว” จากรายงานที่ไม่ยืนยันทาง Twitter และ Pastebin ได้บอกว่าสถานการณ์เลวร้ายมาก ถึงแม้ข้อมูลจะถูกเข้ารหัสไว้แต่ข้อมูลของระบบในหลายๆระบบได้ถูกลบทั้งหมด ซึ่งรวมไปถึงข้อมูลในเวบและเมลเซิฟเวอร์ด้วย และ domain controller ก็ถูกโจมตีในการโจมตีครั้งนี้ด้วย

ที่มา : net-security

Destructive Shamoon attack targets energy sector

พบการโจมตีแบบ Spear-phishing แนบมัลแวร์ ที่มีเป้าหมายการโจมตีเฉพาะบางบริษัทในบางอุตสาหกรรมซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมทางด้านพลังงานได้ถูกตรวจพบโดยบริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยจำนวนมาก

มัลแวร์ตัวนี้มีชื่อว่า “Shamoon” โดยชื่อนี้มีที่มาจาก ชื่อของโฟลเดอร์ที่มัลแวร์ execute ออกมา ขั้นตอนสุดท้ายของการโจมตีนี้คือ ส่งมัลแวร์ที่จะทำให้เครื่องเป้าหมายใช้งานไม่ได้ ส่วนที่น่าสนใจเกี่ยวกับมัลแวร์ตัวนี้คือ มันสามารถหลบหลีกการตรวจจับ และ เก็บข้อมูลของเหยื่อได้ในเวลาเดียวกัน มัลแวร์ตัวนี้ยังได้ถูกออกแบบเพื่อสร้างไฟล์ใหม่ทับลงไปแทนที่ไฟล์เก่าในเครื่องของเหยื่อและลบไฟล์ในเครื่องของเหยื่อทิ้งทั้งหมดรวมถึง Master-Boot Record ของเครื่องของเหยื่อด้วย นักวิจัยของ Seculert ได้ระบุว่า “มัลแวร์ที่ออกแบบมาเพื่อโจมตีเป้าหมายเฉพาะนั้นเป็นมัลแวร์ที่หายาก และ เพื่อนที่ Kaspersky Lab ได้บอกว่าพฤติกรรมแบบนี้เป็นพฤติกรรมเดียวกับที่พบใน “Flame” แต่ผู้เชี่ยวชาญของ Kaspersky Lab ได้สงสัยว่าการโจมตีนี้จะเป็นการโจมตีอันเดียวกับที่โจมตีอิหร่านในเดือนเมษายน ปี 2012 หรือไม่ เพราะว่าการโจมตีในอิหร่านจะใช้ service names ที่มีอยู่จริงร่วมกับชื่อไฟล์เฉพาะในการทำงานของมัลแวร์ แต่ใน Shamoon มัลแวร์กลับไม่มีการทำงานแบบนั้น Shamoon มัลแวร์ดูเหมือนจะเป็นมัลแวร์ที่ทำเลียนแบบขึ้นมาโดยได้แรงบันดาลใจจาก Flame มัลแวร์ มันเป็นการยากที่จะบอกว่าใครอยู่เบื้องหลังการโจมตีนี้เนื่องจากการทำลายล้างที่ไม่ธรรมดาของมัลแวร์และการที่มันโจมตีอย่างเปิดเผยแบบนี้

ที่มา : net-security

Apache Server 2.4.3 fixes over fifty bugs and two security holes

Apache ได้ออก Apache HTTP Server เวอร์ชั่น 2.4.3 ในเวอร์ชั่นนี้ได้แก้บัคมากกว่า 50 บัคและปิดช่องโหว่ 2 ช่องโหว่ ช่องโหว่ 2 ช่องโหว่นี้ได้ถูกพบใน mod_proxy_aip, mod_proxy_http และ mod_negotiation modules ช่องโหว่ 2 ช่องโหว่นี้ถูกตั้งชื่อเป็น CVE-2012-3502 และ CVE-2012-2687

ช่องโหว่แรกที่เจอจะพบใน mod_proxy_sjp และ mod_proxy_http ใน backend(ส่วนจัดการเว็บไซด์) เมื่อทำการปิดการเชื่อมต่อ ซึ่งสามารถนำไปสู่ปัญหาทางด้าน privacy

ช่องโหว่ที่สองพบใน mod_negotiation ช่องโหว่นี้สามารถทำได้โดยการ cross-site scripting(XSS) ซึ่งจะทำให้แฮกเกอร์สามารถอัพโหลดไฟล์ขึ้นไปที่เซอเวอร์ได้ อัพเดทสามารถเข้าไปโหลดด้ที่เวบเพจของโปรเจ็ค Apache

ที่มา : h-online

Wikileaks is down after massive DDoS attack for five days

เว็บไซต์ Wikileaks ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากถูก DDoS (Distributed Denial of Service) จากกลุ่ม AntiLeaks เป็นเวลา 5 วันนับจากวันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา และสามารถกลับมาใช้ได้วันนี้ (9 สิงหาคม) หัวหน้ากลุ่ม AntiLeaks ได้บอกถึงแรงจูงใจว่าเพื่อเป็นการต่อต้านผู้ก่อการร้ายที่ลี้ภัยในเอกวาดอร์ที่ชื่อว่า Julian Assange โดย  Wikileaks ถูก DDos ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ในรอบปี หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวเคยเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

ที่มา : ehackingnews

NHS Trust fined GBP175,000 for 'entirely avoidable' data breach

สำนักงานคณะกรรมการดูแลข้อมูลข่าวสาร (ICO) ของอังกฤษทำการปรับเงินหน่วยงานสุขภาพแห่งหนึ่งที่ชื่อว่า Torbay Care Trust (TCT)  จากการที่หน่วยงานดังกล่าวละเลยข้อมูลพนักงานด้วยการปล่อยให้มีข้อมูลที่ประกอบด้วยชื่อพนักงาน, วันเกิด, เลขประจำตัวผู้ประกันตน เป็นต้น อยู่บนเว็บไซต์ จึงทำการปรับเงินเป็นจำนวน £175,000 หรือประมาณ 8,478,750 บาท

ที่มา : hack in the box

Reuters Twitter account hacked and false tweets were posted

บัญชีทวิสเตอร์ของสำนักข่าวรอยเตอร์ถูกแฮก และแฮกเกอร์ยังได้ทำการทวิสต์ข้อความจำนวน 22 โพสต์ รวมถึงเปลี่ยนชื่อทวิสเตอร์จาก @ReuterTech เป็น @ReuterMe นอกจากนี้ยังพบว่าก่อนหน้านี้สองวันมีการเข้าไปแฮกที่ Reuters blogging platform และโพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับผู้นำกบฏซีเรียมาแล้ว ซึ่งยังไม่มีแฮกเกอร์กลุ่มใดออกมารับผิดชอบการกระทำดังกล่าว

ที่มา : ehackingnews

Data of 8.7 million KT subscribers hacked in S.Korea

KT Telecom ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือใหญ่อันดับสองของเกาหลีใต้ ออกมาขอโทษผู้ใช้งานหลังจากที่ทราบว่าถูกมือดีแฮกเอาข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ในระบบเป็นเวลากว่า 5 เดือน  โดยคาดว่ามีข้อมูลผู้ใช้ถูกแฮกไปมากถึง 8.7 ล้านคน นับเป็นครึ่งหนึ่งจาก 16 ล้านรายชื่อที่ KT Telecom มีอยู่ด้วยซ้ำ

KT Telecom แจ้งว่าข้อมูลที่ถูกแฮกไปคือชื่อผู้ใช้ หมายเลขประจำตัวประชาชน และเบอร์โทรศัพท์ ซึ่งถูกแฮคตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์จนถึงกรกฎาคม
โดยแฮกเกอร์สองคนที่ได้ข้อมูลดังกล่าวได้นำไปขายให้กับบริษัทในกลุ่มสื่อสารเป็นมูลค่าถึง 1,000 ล้านวอน ก่อนถูกจับกุมในภายหลัง รวมถึงอีก 7 รายที่ตกเป็นผู้ต้องสงสัยซื้อข้อมูลดังกล่าวด้วย

ก่อนหน้านี้เองบริษัทอื่นในเกาหลีใต้ก็ถูกแฮกเช่นกัน อย่างเช่นผู้ผลิตเกม Nexon และ SK Comms ที่ระบุว่าถูกแฮกจากแฮกเกอร์ชาวจีนเมื่อช่วงปลายปี 2011 ที่ผ่านมา

ที่มา : reuters