ช่องโหว่ใหม่บน Zoom ผู้โจมตีสามารถแฮ็กเข้าเครื่องเหยื่อได้โดยใช้เพียงการส่งข้อความ

Zoom ได้แก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 4 ช่องโหว่ ซึ่งทำให้ผู้โจมตีสามารถเข้ายึดครองเครื่องของผู้ใช้อื่นๆในระหว่างการสนทนาผ่านทางแชทโดยการส่งข้อความ Extensible Messaging และ Presence Protocol (XMPP) ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อสั่งรันโค้ดที่เป็นอันตราย

ช่องโหว่มีหมายเลข CVE-2022-22784 ถึง CVE-2022-22787 คะแนนความรุนแรงอยู่ระหว่าง 5.9 และ 8.1 Ivan Fratric จาก Google Project Zero เป็นผู้ค้นพบ และรายงานช่องโหว่ทั้ง 4 ช่องโหว่ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

รายการช่องโหว่มีดังนี้

  • CVE-2022-22784 (คะแนน CVSS: 8.1) - Improper XML Parsing in Zoom Client for Meetings
  • CVE-2022-22785 (คะแนน CVSS: 5.9) - Improper constrained session cookies in Zoom Client for Meetings
  • CVE-2022-22786 (คะแนน CVSS: 7.5) - Update package downgrade in Zoom Client for Meetings for Windows
  • CVE-2022-22787 (คะแนน CVSS: 5.9) - Insufficient hostname validating during server switch in Zoom Client for Meetings
    ฟังก์ชันแชทของ Zoom ที่สร้างบนมาตรฐาน XMPP การโจมตีช่องโหว่ได้สำเร็จอาจทำให้ผู้โจมตีสามารถบังคับผู้ใช้ Zoom ที่มีช่องโหว่ เพื่อเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นอันตราย และดาวน์โหลดการอัปเดตปลอม ส่งผลให้ถูกรันโค้ดที่เป็นอันตรายบนเครื่องเหยื่อได้

Fratric เรียก zero-click attack นี้ว่า "XMPP Stanza Smuggling" โดยเพิ่มเติมว่า "ผู้ใช้รายหนึ่งอาจสามารถปลอมแปลงข้อความเหมือนกับว่ามาจากผู้ใช้รายอื่น" และ "ผู้โจมตีสามารถส่งข้อความ control messages ซึ่งเหมือนกับว่าส่งมาจากเซิร์ฟเวอร์

ประเด็นหลักของปัญหาเหล่านี้คือการโจมตีในลักษณะ man-in-the-middle ระหว่าง client กับ server ระหว่างที่มีการอัปเดตซอฟแวร์ โดยจะใช้ช่องโหว่เพื่อบังคับการอัพเดตซอฟต์แวร์ Zoom client เป็นเวอร์ชันเก่าที่มีความปลอดภัยน้อยกว่า

แม้ว่าการโจมตีในลักษณะ downgrade attack หนึ่งช่องโหว่จะเกิดเฉพาะเวอร์ชันที่ใช้งานบน Windows แต่ CVE-2022-22784, CVE-2022-22785 และ CVE-2022-22787 ส่งผลกระทบต่อทั้ง Android, iOS, Linux, macOS และ Windows

มีแพทช์ออกมาหนึ่งเดือนหลังจากที่ Zoom ได้แก้ไขช่องโหว่ที่มีความรุนแรงสูง 2 ช่องโหว่ (CVE-2022-22782 และ CVE-2022-22783) ที่อาจนำไปสู่การยกระดับสิทธิ์ และการเปิดเผยเนื้อหาการประชุมภายในองค์กร นอกจากนี้ยังแก้ไขช่องโหว่ (CVE-2022-22781) ที่เป็นการโจมตีในแอปของ Zoom บน macOS

ขอแนะนำให้ผู้ใช้ Zoom อัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุด (5.10.0) เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ดังกล่าว

ที่มา : thehackernewshttp