Apple ออกแพตช์เร่งด่วน หลังพบช่องโหว่ Zero-Day 2 ช่องโหว่ถูกนำมาใช้ในการโจมตี

Apple จ่อคิวขึ้นสู่บัลลังก์ บริษัทที่มีมูลค่า “ล้านล้านดอลลาร์”  รายแรกของโลก | Brand Buffet

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา Apple ได้ออกอัปเดตแพตช์ความปลอดภัยเพื่อแก้ไขช่องโหว่ Zero-day
2 ช่องโหว่ใน iOS 12.5.3 หลังพบว่ากำลังถูกใช้ในการโจมตีเป็นวงกว้าง

อัปเดตล่าสุดของ iOS 12.5.4 มาพร้อมกับการแก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัยจำนวน 3 ช่องโหว่ คือ memory corruption ใน ASN.1 decoder (CVE-2021-30737) และอีก 2 ช่องโหว่ที่เกี่ยวกับ Webkit browser engine ที่อาจทำให้ผู้โจมตีรันโค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

CVE-2021-30761 – ปัญหา memory corruption ผู้โจมตีสามารถลักลอบรันโค้ดที่เป็นอันตราย เมื่อมีการเรียกใช้งาน Malicious content บนเว็บไซต์ที่ถูกสร้างขึ้น โดยช่องโหว่ได้รับการแก้ไขด้วยการจัดการ และปรับปรุงหน่วยความจำ
CVE-2021-30762 – ปัญหา use-after-free ผู้โจมตีสามารถลักลอบรันโค้ดที่เป็นอันตราย เมื่อมีการเรียกใช้งาน Malicious content บนเว็บไซต์ที่ถูกสร้างขึ้น ช่องโหว่ได้รับการแก้ไขด้วยการจัดการ และปรับปรุงหน่วยความจำ
ทั้ง CVE-2021-30761 และ CVE-2021-30762 ถูกรายงานไปยัง Apple โดยผู้ที่ไม่ประสงค์ออกนาม โดยบริษัทที่อยู่ใน Cupertino ได้ระบุไว้ในคำแนะนำว่าช่องโหว่ดังกล่าวอาจจะถูกใช้ในการโจมตีแล้วในปัจจุบัน โดยปกติแล้ว Apple จะไม่เปิดเผยรายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับลักษณะของการโจมตี และเหยื่อที่อาจตกเป็นเป้าหมาย หรือกลุ่มผู้โจมตีที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตามความพยายามในการโจมตี จะเป็นการมุ่งเป้าไปที่อุปกรณ์รุ่นเก่า เช่น iPhone 5s, iPhone 6, iPhone 6 Plus, iPad Air, iPad mini 2, iPad mini 3 และ iPod touch (รุ่นที่ 6) ซึ่ง Apple ได้มีการแก้ไขช่องโหว่ buffer overflow (CVE-2021-30666) ไปเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม
ที่ผ่านมา

นอกจากช่องโหว่ข้างต้นแล้ว Apple ยังได้แก้ไขช่องโหว่ Zero-day อีก 12 ช่องโหว่ ที่อาจส่งผล
กระทบต่อ iOS, iPadOS, macOS, tvOS และ watchOS ตั้งแต่ต้นปี มีรายละเอียดดังนี้

CVE-2021-1782 (Kernel) - ช่องโหว่ในระดับ Kernel ซึ่งส่งผลให้แอพพลิเคชั่นที่เป็นอันตรายสามารถยกระดับสิทธิ์การโจมตีได้
CVE-2021-1870 (WebKit) - ช่องโหว่ใน Webkit ที่ช่วยให้ผู้โจมตีรันโค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลได้
CVE-2021-1871 (WebKit) - ช่องโหว่ใน Webkit ที่ช่วยให้ผู้โจมตีรันโค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลได้
CVE-2021 -1879 (WebKit) - ช่องโหว่ใน Webkit ที่เมื่อมีการเรียกใช้งาน Malicious content บนเว็บไซต์ที่ถูกสร้างขึ้นอาจทำให้ถูกโจมตีในรูปแบบ universal cross-site scripting ได้
CVE-2021-30657 (System Preferences) - ช่องโหว่ที่ทำให้แอปพลิเคชันที่เป็นอันตรายสามารถเลี่ยงการตรวจสอบจาก Gatekeeper ได้
CVE-2021-30661 (WebKit Storage) - ช่องโหว่ใน WebKit Storage ที่ช่วยให้ผู้โจมตีสามารถลักลอบรันโค้ดที่เป็นอันตราย เมื่อมีการเรียกใช้งาน Malicious content บนเว็บไซต์ที่ถูกสร้างขึ้น
CVE-2021-30663 (WebKit) - ช่องโหว่ใน Webkit ที่ช่วยให้ผู้โจมตีสามารถลักลอบรันโค้ดที่เป็นอันตราย เมื่อมีการเรียกใช้งาน Malicious content บนเว็บไซต์ที่ถูกสร้างขึ้น
CVE-2021-30665 (WebKit) - ช่องโหว่ใน Webkit ที่ช่วยให้ผู้โจมตีสามารถลักลอบรันโค้ดที่เป็นอันตราย เมื่อมีการเรียกใช้งาน Malicious content บนเว็บไซต์ที่ถูกสร้างขึ้น
CVE-2021-30666 (WebKit ) - ช่องโหว่ใน Webkit ที่ช่วยให้ผู้โจมตีสามารถลักลอบรันโค้ดที่เป็นอันตราย เมื่อมีการเรียกใช้งาน Malicious content บนเว็บไซต์ที่ถูกสร้างขึ้น
CVE-2021-30713 (TCC framework) - ช่องโหว่ TCC framework ที่ทำให้แอปพลิเคชันที่เป็นอันตรายสามารถ bypass การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวได้
แนะนำให้ผู้ใช้อุปกรณ์ Apple อัปเดตระบบปฏบัติการให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากช่องโหว่ข้างต้น

ที่มา: thehackernews.com