พบช่องโหว่ที่สำคัญ 6 รายการในอุปกรณ์ Schneider PowerLogic

เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ซัพพลายเออร์ระดับโลกด้านการจัดหาโซลูชันดิจิทัลด้านพลังงาน และระบบอัตโนมัติ ได้เผยแพร่คำแนะนำด้านความปลอดภัยสำหรับลูกค้าที่ระบุถึงการค้นพบช่องโหว่ 6 รายการใน PowerLogic EGX100 และ EGX300 communication gateways ทำให้แฮกเกอร์สามารถใช้ประโยชน์จากช่องโหว่เหล่านี้เพื่อเข้าถึงอุปกรณ์ ทำการโจมตี Denial-of-Service (DoS) และ Remote Code Execution ได้

นักวิจัยด้านความปลอดภัยได้ระดับความรุนเเรงของช่องโหว่ 5 รายการอยู่ในระดับที่มีความรุนแรงสูง ซึ่งแฮกเกอร์สามารถใช้ประโยชน์จากการโจมตี DoS หรือการเรียกใช้โค้ดอันตรายจากระยะไกลโดยใช้ HTTP requests ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ
ช่องโหว่รายการที่ 6 เกี่ยวข้องกับกลไกการกู้คืนรหัสผ่านและสามารถนำไปใช้เพื่อเข้าถึงอุปกรณ์ด้วยสิทธิ์ของผู้ดูแลระบบได้

Jake Baines นักวิเคราะห์ช่องโหว่ของอุปกรณ์ควบคุมทางด้านอุตสาหกรรม ของบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านอุตสาหกรรม Dragos ได้พูดถึงช่องโหว่ดังกล่าวข้างต้นซึ่งถูก Assigned ด้วยรหัสช่องโหว่เลขที่ CVE-2021-22763 ถึง CVE-2021-22768
ซึ่งเป็นช่องโหว่ที่ถูกพบในอุปกรณ์ EGX แต่ทางบริษัทชไนเดอร์ได้พบว่าในช่องโหว่จำนวนนี้ มี 2 ช่องโหว่ที่ยังส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์วัดค่าพลังงาน PowerLogic PM55xx ด้วย เนื่องจากมีการใช้ Code ของ Program ร่วมกัน โดยอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบเป็นส่วนหนึ่งของระบบตรวจสอบและควบคุมกำลังไฟฟ้าของบริษัท แต่หมดอายุการใช้งานแล้ว(End Of Life)

ตัวอย่างเช่นช่องโหว่ CVE-2021-22763 ซึ่งทำให้เกิด backdoor account ด้วยสิทธิ์ผู้ดูแลระบบ สามารถเข้าถึง และควบคุมเว็บเซิร์ฟเวอร์ของอุปกรณ์ ซึ่งก็จะทำให้ผู้โจมตีสามารถเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ ทราบ MAC Address ของอุปกรณ์นั้นๆ และเป็นที่มาของการเข้าควบคุมอุปกรณ์นั้นๆได้อย่างเต็มรูปแบบ และสามารถ Block การเชื่อมต่อจากอุปกรณ์อื่นๆที่มีการเชื่อมต่อโดยตรงกับอุปกรณ์นั้นๆได้อีกด้วย ส่วนในทำนองเดียวกัน CVE-2021-22764 ทำให้ผู้โจมตีจากระยะไกลที่ไม่ได้รับการตรวจสอบสิทธิ์สามารถส่ง HTTP requests ซึ่งจะทำให้อุปกรณ์สามารถ Block การเชื่อมต่อจากอุปกรณ์อื่นๆที่มีการเชื่อมต่อโดยตรงกับอุปกรณ์นั้นๆได้เช่นเดียวกัน

ส่วนช่องโหว่ที่ได้ระดับความรุนแรงถึง 9.8 คือช่องโหว่ stack-based buffer overflows ทำให้ผู้โจมตีจากระยะไกลที่ไม่ได้รับการตรวจสอบสิทธิ์สามารถรันโค้ดคำสั่งที่เป็นอันตรายบนอุปกรณ์ได้ ความสามารถในการรันโค้ดบนอุปกรณ์นั้นน่าสนใจเพราะจะทำให้สามารถเปลี่ยนการเชื่อมต่อระหว่าง serial device และระบบ monitoring/control

อุปกรณ์ PowerLogic EGX100 และ EGX300 ได้สิ้นสุดการซับพอต (End Of Life) ไปแล้ว ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนผลิตภัณฑ์หรือ mitigations ตามคำแนะนำของบริษัทเพื่อลดความเสี่ยงในการถูกโจมตี

ที่มา : ehackingnews