นักวิจัยได้เผยแพร่ PoC ของช่องโหว่ Java Cryptographic ล่าสุด

นักวิจัยด้านความปลอดภัย Khaled Nassar ได้เผยแพร่โค้ด proof-of-concept (PoC) สำหรับช่องโหว่ Digital signature bypass ใหม่ใน Java ซึ่งมีหมายเลข CVE-2022-21449 (CVSS score: 7.5) โดยช่องโหว่นี้ค้นพบโดย Neil Madden นักวิจัยของ ForgeRock ซึ่งเคยแจ้ง Oracle เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2021

ช่องโหว่ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อ Java SE และ Oracle GraalVM Enterprise Edition ในเวอร์ชันต่อไปนี้:

Oracle Java SE: 7u331, 8u321, 11.0.14, 17.0.2, 18
Oracle GraalVM Enterprise Edition: 20.3.5, 21.3.1, 22.0.0.2

ผู้โจมตีไม่จำเป็นต้องผ่านการตรวจสอบสิทธิ์ แค่สามารถเข้าถึงเครือข่ายได้ผ่านทางโปรโตคอลต่างๆ ก็สามารถอาศัยช่องโหว่เพื่อเข้าควบคุม Oracle Java SE และ Oracle GraalVM Enterprise Edition ได้ ซึ่งหากสามารถโจมตีได้สำเร็จอาจส่งผลให้มีการสร้าง ลบ หรือแก้ไขการเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือข้อมูลของ Oracle Java SE, Oracle GraalVM Enterprise Edition ที่เข้าถึงได้ทั้งหมด

ช่องโหว่นี้ถูกเรียกว่า Psychic Signatures ซึ่งอยู่ในการนำ Elliptic Curve Digital Signature Algorithm (ECDSA) ของ Java ไปใช้ โดยช่องโหว่นี้ช่วยให้ blank signature ได้รับการยอมรับว่าถูกต้องบนระบบที่มีช่องโหว่ ซึ่งหากมีการโจมตีช่องโหว่นี้ได้สำเร็จ อาจทำให้ผู้โจมตีสามารถทำการปลอมแปลง signatures และ bypass มาตรการตรวจสอบสิทธิ์ได้

ช่องโหว่ดังกล่าวได้รับการแก้ไขแล้ว โดย Oracle ด้วย Critical Patch Update (CPU) ประจำไตรมาสเดือนเมษายน 2022 ที่มีการเผยแพร่เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2022 ที่ผ่านมา จึงขอแนะนำให้องค์กรที่ใช้ Java เวอร์ชัน 15, 16, 17 หรือ 18 ควรติดตั้งการอัปเดตความปลอดภัยทันที

ที่มา : thehackernews.

Oracle ออกเเพตซ์เเก้ไขช่องโหว่ประจำเดือน กรกฎาคม 2020

Oracle ออกเเพตซ์เเก้ไขช่องโหว่ประจำเดือนหรือ Critical Patch Update โดยในเดือน กรกฎาคม 2020 นี้ Oracle ได้ออกเเพตซ์เเก้ไขช่องโหว่ทั้งสิ้น 443 รายการ โดยช่องโหว่ที่สำคัญมีดังนี้

Oracle Java SE มีการเเก้ไขช่องโหว่ 11 รายการ โดยช่องโหว่ทั้งหมดเป็นช่องโหว่การโจมตีจากระยะไกลโดยไม่ต้องทำการตรวจสอบสิทธ์ ช่องโหว่ที่สำคัญคือ CVE-2020-14664 และ CVE-2020-14583 มีคะเเนนความรุนเเรงจาก CVSS v3.1 สูงสุดคือ 8.3
Oracle Fusion Middleware มีการเเก้ไขช่องโหว่ 52 รายการ โดยช่องโหว่จำนวน 48 รายการเป็นช่องโหว่การโจมตีจากระยะไกลโดยไม่ต้องทำการตรวจสอบสิทธ์ ช่องโหว่ที่สำคัญคือ CVE-2017-5645, CVE-2019-17531, CVE-2020-9546, CVE-2018-11058, CVE-2020-14625, CVE-2020-14644, CVE-2020-14645, CVE-2020-14687, CVE-2017-5645 และ CVE-2017-5645 ซึ่ง CVE ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นมีคะเเนนความรุนเเรงจาก CVSS v3.1 อยู่ที่ 9.8
Oracle MySQL มีการเเก้ไขช่องโหว่ 40 รายการ โดยช่องโหว่จำนวน 6 รายการเป็นช่องโหว่การโจมตีจากระยะไกลโดยไม่ต้องทำการตรวจสอบสิทธ์ ช่องโหว่ที่สำคัญคือ CVE-2020-1938 โดยช่องโหว่นี้มีคะเเนนความรุนเเรงจาก CVSS v3.1 อยู่ที่ 9.8

ผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ของ Oracle ควรทำการอัพเดตเเพตซ์ความปลอดภัยให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดเพื่อป้องกันการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ทำการโจมตี

ที่มา: oracle.