Transaction Reversal Fraud – Global

Diebold ประกาศแจ้งเตือนการโจมตี Jackpotting และมัลแวร์ในเอทีเอ็ม พร้อม Fraud แบบใหม่จาก NCR

Diebold และ NCR บริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายระบบเอทีเอ็มและ POS รายใหญ่ออกประกาศด้านความปลอดภัยในระยะเวลาไล่เลี่ยกันเมื่อวานที่ผ่านมา โดยในประกาศของ Diebold นั้นโฟกัสไปที่การโจมตีด้วยวิธีการ Jackpotting และการค้นพบมัลแวร์ในเอทีเอ็ม สว่นประกาศจาก NCR นั้นเน้นไปที่เรื่องของเทคนิคการ Fraud "Transaction Reversal Fraud (TRF)" และวิธีการป้องกัน

Diebold ประกาศหลังจากตรวจพบเพิ่มขึ้นของการโจมตีในรูปแบบ Jackpotting กับระบบเอทีเอ็มซึ่งอยู่ในยุโรปและละตินอเมริกาโดยพุ่งเป้าไปที่ตู้รุ่น Opteva ที่มีการใช้งานตัวจ่ายเงินรุ่น Advacned Function Dispenser (AFD) 1.x ผู้โจมตีอาศัยทั้งการเข้าถึงทางกายภาพและทางซอฟต์แวร์เพื่อข้ามผ่านการตรวจสอบและยืนยันอุปกรณ์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้เกิดการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่สามารถใช้เพื่อควบคุมระบบของเอทีเอ็มให้สามารถสั่งจ่ายเงินได้ อย่างไรก็ตามการโจมตีส่วนมากที่ตรวจพบนั้นไม่ประสบความสำเร็จด้วยเหตุผลทางด้านเทคนิค Diebold แนะนำให้ผู้ใช้งานทำการอัปเดตซอฟต์แวร์ให้เป็นรุ่นล่าสุดเพื่อป้องกันการโจมตีนี้

ในขณะเดียวกัน Diebold ได้ประกาศการค้นพบมัลแวร์ที่พุ่งเป้าโจมตีระบบเอทีเอ็มภายใต้ชื่อ "Peralta" โดยมัลแวร์ชนิดดังกล่าวนั้นถูกออกแบบมาเพื่อสร้างการโจมตีแบบ Jackpotting โดยใช้ซอฟต์แวร์แทนที่จะเป็นการโจมตีทางกายภาพกับระบบเอทีเอ็ม ในการโจมตีนั้น ผู้โจมตีใช้วิธีการถอดฮาร์ดดิสก์ของเอทีเอ็มที่อยู่บริเวณด้านบนของตู้ออกก่อนจะทำการแก้ไขข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เพื่อสอดแทรกมัลแวร์ โดยมัลแวร์จะทำการโจมตีช่องโหว่รหัส MS16-032 ซึ่งมีการแพตช์ไปแล้วเพื่อยกระดับสิทธิ์ด้วยสคริปต์ PowerShell หลังจากนั้นจึงทำการเริ่มการทำงานของส่วนหลักของมัลแวร์ที่จะเริ่มการทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อระบบของเอทีเอ็มถูกเปิด และคอยรอรับคำสั่งที่เป็นชุดของการกดแป้นพิมพ์ต่อ

สำหรับประกาศจากทาง NCR นั้น ได้มีการแจ้งเตือนความถีที่เพิ่มขึ้นของรูปแบบการโจมตีที่มีชื่อเรียกว่า Transaction Reversal Fraud (TRF) ซึ่งเป็นการโจมตีเพื่อขโมยเงินจากเอทีเอ็มออกโดยอาศัยการทำให้เกิด "ข้อผิดพลาด" ในกระบวนการถอนเงินที่เกือบสำเร็จ ซึ่งส่งผลให้บริเวณของส่วนจ่ายเงินยังเปิดอยู่และชิงเอาเงินออกมาก่อนที่เงินจะถูกส่งคืนกลับเซฟได้

ที่มา : response

New Black Box Attack Variation in Mexico

NCR ออกรายงานแจ้งเตือนเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ทีผ่านมาหลังจากมีการตรวจพบการโจมตีตู้เอทีเอ็มที่เรียกว่า Black Box Attack ในลักษณะใหม่ในเม็กซิโกซึ่งในขณะนี้ยังไม่พบการโจมตีในลักษณะเดียวในประเทศอื่นๆ

Black box เป็นวิธีการโจมตีที่ผู้โจมตีทำการเข้าถึงระบบภายในของตู้เอทีเอ็มทางกายภาพ อาจด้วยวิธีการเจาะรูทางด้านหน้าของตัวเองแล้วสอดอุปกรณ์บางอย่างเข้าไป จากนั้นผู้โจมตีจะทำการถอดการเชื่อมต่อระบบที่ใช้จ่ายเงินซึ่งจากเดิมมีการเชื่อมต่ออยู่กับระบบสำหรับการยืนยันธุรกรรมและพิสูจน์ตัวตนของผู้ใช้งาน มาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เฉพาะ (black box) ที่ทำให้ผู้โจมตีสามารถควบคุมระบบจ่ายเงินได้โดยตรง

วิธีการที่ NCR ตรวจพบนั้น ผู้โจมตีจะทำการเข้าถึงระบบภายในเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เช่นเดียวกัน แต่ผู้โจมตีจะมีวิธีการเพิ่มเติมโดยการสอดกล้อง endoscope ในช่องที่เครื่องเอทีเอ็มส่งเงินออกมาโดยมีจุดประสงค์เพื่อเข้าไปแก้ไขเซ็นเซอร์ในระบบจ่ายเงินเพื่อหลอกระบบว่ามีกระบวนการยืนยันตัวตนอยู่ การหลอกนี้จะช่วยให้อุปกรณ์ black box สามารถสั่งจ่ายเงินได้เพราะระบบถูกหลอกให้เชื่อว่ามีการใช้งานจากผู้ใช้จริง

ในขณะนี้ NCR ได้มีการออกอัพเดตใหม่เพื่อป้องกันการโจมตีในลักษณะนี้แล้ว และจะมีการปล่อยอัพเดตใหญ่อีกครั้งในช่วงต้นปีหน้าเพื่อปรับปรุงระบบยืนยันตัวตนทางกายภาพให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นด้วย

ทีมา: app.

Deep Insert Skimmer Attacks on DIP card readers

NCR ได้มีการประกาศแจ้งเตือนการโจมตีเครื่องเอทีเอ็มที่กำลังมีการแพร่กระจายเพิ่มขึ้นในสหรัฐฯ โดยการโจมตีดังกล่าวเป็นการโจมตีที่พุ่งเป้าไปที่อุปกรณ์ DIP card reader ซึ่งทำหน้าที่ในการอ่านข้อมูลจากการ์ดที่ผู้ใช้งานนำเข้ามา

ผู้โจมตีทำการโจมตีอุปกรณ์ DIP card reader ด้วยการใช้วิธีการโจมตีที่เรียกว่า Deep Insert Skimmer ซึ่งเป็นการฝังอุปกรณ์สำหรับดักอ่านและเก็บข้อมูลเข้าไปผ่านทางช่องเสียบการ์ด การโจมตีลักษณะนี้เนื่องจากเป็นการฝังอุปกรณ์เพิ่มเติมเข้าไปข้างในตัวเครื่องจึงทำให้ผู้ใช้งานทั่วไปจะไม่สามารถตรวจสอบความผิดปกติเมื่อใช้งานได้ รวมไปถึงไม่สามารถที่จะถูกตรวจจับหรือขัดขวางการทำงานโดยอุปกรณ์ป้องกันการทำ skimming โดยทั่วไปได้

ในส่วนของการป้องกัน ตรวจสอบและแก้ไขปัญหานั้น NCR ได้มีการออกคู่มือในการตรวจสอบเครื่องเอทีเอ็มทางกายภาพซึ่งสามารถเข้าไปดาวโหลดได้ฟรีจากลิงค์แหล่งที่มาของข่าว นอกเหนือจากนั้นการติดตั้งอุปกรณ์เสริมจากผู้ผลิตอื่นๆ ที่มีการออกแบบมาเพื่อป้องกันการโจมตีแบบ Deep Insert Skimmer ก็อาจช่วยป้องกันได้เช่นเดียวกัน

ที่มา : NCR

กดเงินเจอของจริง! พบเครื่องสกิมมิง-กล้องรูเข็มตู้ ATM กสิกรไทย รามคำแหง 58/3

21 ก.ย.57 รายงานข่าวแจ้งว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.หัวหมาก เข้าตรวจสอบตู้เอทีเอ็มธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) บริเวณหน้าร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น ปากซอยรามคำแหง 58/3