Oracle to Release Critical Patch Update

Oracle ปล่อย Critical Patch ประจำเดือนกรกฎาคม 2019

Oracle ปล่อย Critical Patch ให้อัพเดทในวันที่ 16 กรกฎาคม 2019 แก้ไขช่องโหว่ทั้งหมด 319 ช่องโหว่ในหลายผลิตภัณฑ์ ซึ่งหลายๆ ช่องโหว่เป็นช่องโหว่ร้ายแรงที่ได้รับคะแนน CVSS 9.8 ซึ่ง Oracle แนะนำให้ผู้ใช้งานอัพเดท Critical Patch ให้เร็วที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงการโจมตีที่จะเกิดขึ้น โดยสามารถตรวจสอบรายการช่องโหว่ทั้งหมดได้จาก https://www.

NCSC Issues Alert About Active DNS Hijacking Attacks

NCSC ออกคำเตือนให้ระวังการโจมตี DNS Hijacking

เนื่องจากมีรายงานการโจมตีมีจุดประสงค์เพื่อแก้ไข DNS record หรือที่เรียกกันว่า DNS Hijacking ออกมาเป็นจำนวนมาก หน่วยงาน National Cyber Security Centre (NCSC) ของสหราชอาณาจักรมีประกาศคำเตือนพร้อมทั้งวิธีการแก้ไขเพื่อลดผลกระทบเหตุการณ์ประเภทนี้

DNS คือบริการที่ส่งต่อข้อมูลเมื่อผู้ใช้งานพิมพ์ domain ในเว็บเบราว์เซอร์ไปยัง IP ของเซิร์ฟเวอร์เว็บไซต์ ซึ่ง DNS hijacking จะหมายถึงการโจมตีเพื่อการเปลี่ยนการตั้งค่า DNS เพื่อให้ไปยัง IP ที่เป็นอันตรายแทน ทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถเข้าไปยังเว็บที่ถูกต้องได้

รายงานจาก Avast แสดงให้เห็นว่าในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มิถุนายน มีผู้ใช้งานอย่างน้อย 180,000 คนในบราซิล ที่อุปกรณ์ router ถูกทำการแก้ไขการตั้งค่า DNS และในช่วงปลายมีนาคม Avast Web Shield ได้ช่วยบล็อกการโจมตีแบบ cross-site request forgery (CSRF) ที่โจมตีเพื่อเปลี่ยนการตั้งค่า DNS บน router มากกว่า 4.6 ล้านครั้ง

NCSC ประกาศคำเตือนเกี่ยวกับ DNS Hijacking เมื่อ 12 กรกฎาคม 2019 ที่สรุปความเสี่ยงที่มาพร้อมกับความพยายามใน DNS hijacking และให้คำแนะนำองค์กรเพื่อปกป้องตัวเองจากอันตรายประเภทนี้ ได้แก่
# บัญชีที่ใช้จดทะเบียนกับ domain registrar มักตกเป็นเป้าหมายการโจมตีด้วยวิธี phishing หรือวิธี social engineering อื่นๆ ป้องกันโดยใช้รหัสผ่านที่ไม่ซ้ำกับบริการอื่น และเปิดการใช้งานการยืนยันตัวตนหลายขั้นตอน
# ตรวจสอบรายละเอียดที่เชื่อมโยงกับบัญชีที่ใช้จดทะเบียนกับ domain registrar เป็นประจำและเพื่อแน่ใจว่าข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลล่าสุดและชี้ไปที่องค์กรจริงๆ
# จำกัดการเข้าถึงบัญชีดังกล่าวเฉพาะกับบุคคลภายในองค์กร
# ถ้าองค์กรมีการทำ DNS ของตัวเอง NCSC ขอแนะนำให้ใช้งานระบบควบคุมการเข้าถึงฟังก์ชันสำรองและกู้คืน DNS records รวมถึงจำกัดการเข้าถึงเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ดูแล DNS
# ใช้งาน SSL monitoring และ Domain Name System Security Extensions (DNSSEC)
โดยผู้ที่สนใจสามารถอ่านประกาศเตือนโดยละเอียดได้จาก https://www.

Intent to Deprecate and Remove: XSSAuditor1

เตรียมอำลา ฟีเจอร์ XSSAuditor ใน Google Chrome เตรียมถูกถอดถอนหลังถูกพิสูจน์แล้วว่าไม่ช่วยอะไร

ฟีเจอร์ XSS Auditor ใน Google Chrome ซึ่งเป็นหนึ่งในฟีเจอร์สำคัญที่ช่วยปกป้องผู้ใช้งานจากการโจมตีประเภท Cross-site scripting เตรียมเข้าสู่กระบวนการถอดถอนหลังจากที่มีการตรวจสอบแล้วว่าฟีเจอร์นี้ในปัจจุบันอาจสร้างปัญหามากกว่าแก้ไข

เหตุผลหลายประการที่นักพัฒนา Chromium ได้ให้เป็นเหตุผลในการถอดถอนฟีเจอร์ XSS Auditor นั้นได้แก่ กระบวนการตรวจจับที่ออกแบบมาให้ตรวจจับเฉพาะ Reflective XSS เป็นส่วนใหญ่และสามารถถูกบายพาสได้ด้วยหลายวิธีการ, การตรวจจับบางครั้งก็ทำให้เว็บไซต์บางรายไม่สามารถเข้าถึงและใช้งานได้ตามปกติ, ไม่มีการจัดการกับสิ่งที่เจออย่างมีประสิทธิภาพและยังนำไปสู่ช่องโหว่ประเภทใหม่ซึ่งชื่อว่า cross-site infoleaks อีกด้วย

กระบวนการทำงานโดยส่วนใหญ่ของกลุ่มเอนจิน anti-XSS นี้โดยส่วนใหญ่ใช้ regular expression ในการสร้างฟิลเตอร์ ซึ่งส่งผลให้โอกาสที่จะเกิด false positive นั้นมีมากขึ้น

ที่มา: groups.