นักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เปิดเผยว่า กลุ่มผู้ไม่หวังดีที่ใช้ชื่อว่า ViciousTrap ได้โจมตีอุปกรณ์ network edge devices กว่า 5,300 เครื่อง ใน 84 ประเทศ และเปลี่ยนอุปกรณ์เหล่านี้ให้กลายเป็นเครือข่าย honeypot (more…)
กลุ่มแฮ็กเกอร์ ViciousTrap ใช้ช่องโหว่ของ Cisco เพื่อสร้างเครือข่าย Honeypot ทั่วโลก จากอุปกรณ์ที่ถูกโจมตีกว่า 5,300 เครื่อง
Microsoft สร้าง Azure Tenants ปลอม เพื่อหลอกล่อ Hacker เข้าสู่ Honeypots
Microsoft กำลังใช้กลวิธีหลอกล่อกลุ่มผู้โจมตี Phishing โดยสร้าง Honeypot Tenants พร้อมสิทธิ์เข้าถึง Azure เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามจากกลุ่ม Hacker ตั้งแต่ Hacker ที่มีทักษะน้อย ไปจนถึงกลุ่มประเทศที่กำหนดเป้าหมายไปที่โครงสร้างพื้นฐานของ Microsoft (more…)
Cyble รายงานการตรวจจับการโจมตีแบบฟิชชิง และ Brute-Force ผ่าน Honeypot
The Cyble Global Sensor Intelligence Network (CGSI) ได้ดำเนินการติดตาม และรวบรวมข้อมูลการโจมตีแบบเรียลไทม์ผ่านเครือข่าย Honeypot ของ Cyble และได้ตรวจพบการพยายามโจมตีจำนวนมาก เช่น การโจมตีด้วยมัลแวร์, การหลอกลวงทางการเงิน และการโจมตีแบบ Brute-Force (more…)
CISA อัปเดตช่องโหว่ใหม่ 3 รายการใน Known Exploited Vulnerabilities (KEV) แคตตาล็อก
หน่วยงานความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐ (CISA) ได้เพิ่มช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 3 รายการลงในแคตตาล็อก Known Exploited Vulnerabilities ( KEV ) โดยอ้างถึงหลักฐานของการพบการโจมตีที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน
รายการช่องโหว่มีดังต่อไปนี้
CVE-2022-35914 (คะแนน CVSS: 9.8) - ช่องโหว่ Remote Code Execution Vulnerability ของ Teclib GLPI
CVE-2022-33891 (คะแนน CVSS: 8.8) - ช่องโหว่ Apache Spark Command Injection
CVE-2022-28810 (คะแนน CVSS: 6.8) - ช่องโหว่ Zoho ManageEngine ADSelfService Plus Remote Code Execution
ช่องโหว่แรก คือ CVE-2022-35914 เป็นช่องโหว่การเรียกใช้งานโค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลในไลบรารี htmlawed ของ third-party ที่มีอยู่ใน Teclib GLPI ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส และแพ็คเกจซอฟต์แวร์การจัดการทางด้านไอที ยังไม่มีรายละเอียดที่แน่ชัดเกี่ยวกับลักษณะของการโจมตี แต่ Shadowserver Foundation ระบุว่าพบความพยายามในการโจมตี Honeypot ของพวกเขาในเดือนตุลาคม 2565
หลังจากนั้นมีการเผยแพร่ proof of concept (PoC) แบบ cURL-based ออกมาบน GitHub และ Jacob Baines นักวิจัยด้านความปลอดภัยของ VulnCheck ระบุว่าพบการโฆษณาขายเครื่องมือที่ใช้สำหรับสแกนช่องโหว่จำนวนมากในเดือนธันวาคม 2565
นอกจากนี้ข้อมูลที่รวบรวมโดย GreyNoise พบว่ามี IP ที่เป็นอันตราย 40 รายการจากสหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง ออสเตรเลีย และบัลแกเรีย พยายามโจมตีโดยการใช้ช่องโหว่ดังกล่าว
ช่องโหว่ที่สอง คือ CVE-2022-33891 ช่องโหว่ command injection ใน Apache Spark ซึ่งถูกใช้งานโดยบอทเน็ต Zerobot ในการโจมตีอุปกรณ์ที่มีช่องโหว่ โดยมีเป้าหมายเพื่อนำมาใช้ในการโจมตีแบบ Distributed Denial-of-Service (DDoS)
ช่องโหว่ที่สาม คือ CVE-2022-28810 ช่องโหว่การเรียกใช้งานโค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลใน Zoho ManageEngine ADSelfService Plus ซึ่งได้รับการแก้ไขไปแล้วในเดือนเมษายน 2565
CISA ระบุว่า "Zoho ManagementEngine ADSelf Service Plus มีช่องโหว่หลายรายการ ซึ่งทำให้ผู้โจมตีสามารถเรียกใช้งานโค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลได้ เมื่อดำเนินการเปลี่ยนรหัสผ่าน หรือรีเซ็ตรหัสผ่าน
บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ Rapid7 ซึ่งเป็นผู้ค้นพบช่องโหว่ระบุว่าพบความพยายามในการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่เพื่อรันคำสั่งบนระบบปฏิบัติการตามที่ต้องการ เพื่อให้สามารถแฝงตัวอยู่บนระบบได้
ที่มา : thehackernews