This malware turns ATM hijacking into a slot machine game

นักวิจัยจาก Kaspersky Lab พบ ATM มัลแวร์ตัวใหม่ชื่อว่า "WinPot" หรือ "ATMPot"

WinPot เป็น ATM มัลแวร์ พบครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2018 บนเว็บไซต์ใต้ดิน มีการระบุเพียงว่ามีผลกระทบกับตู้ ATM ของบริษัทที่นิยมใช้งานในปัจจุบัน หน้าตาของมัลแวร์ตัวดังกล่าวถูกออกแบบมาให้คล้ายคลึงกับ slot machine โดยจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ช่อง แต่ละช่องจะหมายถึง cash-out cassettes (กล่องสำหรับใส่ธนบัตรในตู้ ATM) ซึ่งแต่ละตู้จะมีได้สูงสุด 4 กล่อง โดยแต่ละช่องจะมีปุ่มที่ชื่อว่า "spin" เมื่อกดจะทำให้ตู้ ATM จ่ายเงินออกมา นอกจากนี้ยังมีปุ่ม "stop" สำหรับสั่งให้เครื่องหยุดจ่ายเงิน และปุ่ม "scan" สำหรับสั่งให้มัลแวร์ทำการ scan จำนวน cash-out cassettes และจำนวนธนบัตรที่เหลืออยู่ใหม่ ล่าสุดมีการพบมัลแวร์ WinPot ที่คาดว่าเป็นเวอร์ชั่นใหม่ (v.3) บนเว็บไซต์ใต้ดินที่มีชื่อเรียกว่า "ShowMeMoney" มัลแวร์มีการปรับปรุงหน้าตาการแสดงผลใหม่

ทั้งนี้เชื่อว่ามัลแวร์ "WinPot" น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับ ATM มัลแวร์ที่มีชื่อว่า "Cutlet Maker" เป็น ATM มัลแวร์ที่พบว่าถูกติดตั้งบนเครื่อง ATM ผ่าน USB ถูกวางขายในราคา $5,000 บนเว็บไซต์ใต้ดินเมื่อปี 2017 อย่างไรก็ตามปัจจุบันราคาได้ลดลงไปอยู่ระหว่าง $500 - $1,000

Kaspersky แนะนำว่า วิธีการปกป้อง ATM จากภัยคุกคามประเภทนี้คือ ต้องมีการควบคุมให้เฉพาะอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ที่ได้รับอนุญาตสามารถทำงานได้บนเครื่อง ATM เท่านั้น

ที่มา: zdnet

SAP ประกาศแก้ไขด้านความปลอดภัยของระบบประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2019 ใน SAP HANA XSA

SAP ประกาศแก้ไขด้านความปลอดภัยของระบบประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2019 จำนวน 13 ช่องโหว่ ใน SAP HANA XSA ประกอบด้วยช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 13 รายการ แก้ไขช่องโหว่ระดับความรุนแรงสูงมาก 3 รายการ ระดับความรุนแรงสูง 4 รายการ และระดับความรุนแรงระดับปานกลาง 10 รายการ

โดยเป็นการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องในผลิตภัณฑ์ SAP มีดังต่อไปนี้: Business Client, HANA XSA, ABAP Platform (SLD Registration), Disclosure Management, Solution Tools Plug-In (ST-PI), Note Assistant, Business Objects, Manufacturing Integration and Intelligence, Business One Mobile Android App, และ WebIntelligence BILaunchPad (Enterprise)

ช่องโหว่ที่สำคัญในการแก้ไขประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2019 ได้แก่ ช่องโหว่ #2742027 มีผลกับ SAP HANA XSA เป็นการเพิ่มการตรวจสอบสิทธิ์ ซึ่งการที่ไม่มีการตรวจสอบสิทธิ์ก่อนหน้านี้อาจทำให้ผู้โจมตีสามารถอ่าน แก้ไขหรือลบข้อมูลสำคัญได้

โดยสามารถอ่านรายละเอียดช่องโหว่ต่างๆ ของเดือนกุมภาพันธ์ตามลิงค์ด้านล่าง https://www.

กลุ่ม Gnostic players ขายข้อมูลบัญชีผู้ใช้งานเพิ่มอีก 92 ล้านบัญชีในตลาดมืด

กลุ่ม Gnostic players ขายข้อมูลบัญชีผู้ใช้งานเพิ่มอีก 92 ล้านในตลามืด

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กลุ่มแฮกเกอร์ที่ชื่อว่า Gnostic players ได้ขโมยข้อมูลส่วนตัวไปขายในตลาดมืด ที่เรียกว่า Dream Market โดยมีรายละเอียดของบัญชีเกือบ 126 ล้านบัญชีที่ถูกขโมยจากเว็บไซต์
โดยในสัปดาห์นี้ ทางกลุ่มแฮกเกอร์ Gnosticplayers ได้ทำการโพสต์ขายข้อมูลส่วนตัวจากบัญชีผู้ใช้ที่ถูกแฮกอีกครั้ง โดยคราวนี้มีปริมาณข้อมูลบัญชีผู้ใช้งานมากกว่า 92 ล้านคน
โดยรายการข้อมูลเว็บไซต์ที่ถูกนำบัญชีมาขายรวมทั้งสองครั้งในปี 2019 มีดังนี้
Ge.tt 1.83 ล้านบัญชี
Ixigo 18 ล้านบัญชี
Roll20 4 ล้านบัญชี
Houzz 57 ล้านบัญชี
Coinmama 486,297 บัญชี
YouNow 40 ล้านบัญชี
Stronghold Kingdoms 5 ล้านบัญชี
PetFlow 1 ล้านบัญชี
Legendas.

บริษัทเครื่องบันทึกเงินสด (POS) พบแฮกเกอร์ทำการแพร่กระจายมัลแวร์บนเครือข่ายลูกค้า

North Country Business Products (NCBP) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการผลิตภัณฑ์เครื่องบันทึกเงินสด (POS) ที่ตั้งอยู่ในรัฐมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา ประกาศว่าพบการละเมิดความปลอดภัยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทางบริษัท NCBP กล่าวว่าแฮกเกอร์ได้ทำการบุกรุกระบบไอที และต่อมาได้ทำการปล่อยมัลแวร์ POS บนเครือข่ายของลูกค้าบางรายที่ใช้บริการ POS ของบริษัท

NCBP ได้เผยแพร่รายชื่อสถานที่ตั้งกว่า 139 แห่งที่แฮกเกอร์ได้ทำการโจมตีและปรับใช้มัลแวร์ POS บนเครือข่ายเครื่องบันทึกเงินสดทั้งหมด ซึ่งมีทั้งบาร์ ร้านกาแฟ และร้านอาหารทั่วสหรัฐอเมริกาที่ถูกโจมตี

มัลแวร์ดังกล่าวสามารถเก็บข้อมูลชื่อผู้ถือบัตร, หมายเลขบัตรเครดิต, วันหมดอายุ และเลข CVV แต่ว่าจนถึงปัจจุบันทางบริษัท NCBP ยังไม่ได้รับรายงานว่ามีความพยายามใช้ข้อมูลเหล่านี้ในทางที่ผิด ซึ่งทางบริษัท NCBP ได้เสนอข้อมูลในหน้าแรกของเว็บไซต์ของ NCBP ไว้สำหรับลูกค้าที่อาจได้รับผลกระทบ สามารถอ่านรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://oag.