Zoom เปิดตัวฟีเจอร์การเข้ารหัสแบบ E2EE สำหรับผู้ใช้ทุกคนในสัปดาห์หน้า

Zoom ได้ประกาศเปิดตัวฟีเจอร์การเข้ารหัสแบบ End-to-End (E2EE) สำหรับผู้ใช้ทุกคนในสัปดาห์หน้า โดยการเปิดใช้งานในครั้งนี้เป็นการทดลองด้านเทคนิคราว 30 วัน

โดยคีย์การเข้ารหัส E2EE ทั้งหมดถูกสร้างขึ้นโดยเครื่องของผู้ใช้แทนที่จะเป็นการถูกสร้างด้วยเซิร์ฟเวอร์ของ Zoom ซึ่งจะทำให้ผู้ให้บริการ Zoom หรือบุคคลภายนอกอื่น ๆ ไม่สามารถถอดรหัสข้อมูลที่ถูกแลกเปลี่ยนกันกับผู้เข้าร่วม ส่วนเซิร์ฟเวอร์ของ Zoom เป็นเพียงแค่ตัวกลางเพื่อ Relay ออกไป ดังนั้นเซิร์ฟเวอร์ Zoom จึงไม่ข้องเกี่ยวกับการเข้ารหัสของผู้ใช้ แต่การเปิดใช้งานฟีเจอร์นี้ E2EE จะทำให้ฟีเจอร์บางอย่างใช้งานไม่ได้เช่น Join before host, Cloud Recording, Streaming, Live Transcription, Breakout Rooms, Polling, Private Chat 1:1 และ Meeting Reaction เป็นต้น

เมื่อมีการเปิดใช้งานฟีเจอร์ E2EE แล้วผู้เข้าร่วมประชุมจะสังเกตได้จากโลโก้รูปโล่แม่กุญแจสีเขียวที่อยู่มุมซ้ายบนของหน้าต่าง โดยเบื้องต้นผู้ใช้งาน Zoom จะต้องเข้าใช้งานผ่าน Desktop Client, Mobile App หรือ Zoom Rooms เท่านั้น ในช่วงการทดสอบนี้

ทั้งนี้ห้องประชุม Zoom นั้นสามารถรองรับผู้เข้าร่วมได้ถึง 200 คนในการประชุม E2EE บน Zoom และฟีเจอร์นี้จะเปิดให้บริการสำหรับผู้ใช้ทุกคนสำหรับทั้งบัญชีแบบชำระเงินและบัญชีฟรี

ที่มา: bleepingcomputer.

Zoom backtracks and plans to offer end-to-end encryption to all users

Zoom เปลื่ยนใจกลับมาให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถใช้ E2EE ได้

Zoom ประกาศกลับมาให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถใช้งานคุณสมบัติ end-to-end encryption (E2EE) ในการใช้งานหลังจากประกาศจะให้เพียงลูกค้าที่จ่ายเงินสามารถใช้คุณสมบัตินี้

เมื่อเดือนที่ผ่านมา Zoom ได้ประกาศการใช้งานคุณสมบัติการเข้ารหัสแบบ end-to-end encryption (E2EE) ซึ่ง Zoom จะเปิดให้ผู้ใช้ที่ชำระเงินเท่านั้น หลักจากการประกาศ Zoom ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักและถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว รวมไปถึงจากผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนเป็นอย่างมาก

ซีอีโอ Zoom "Eric Yuan" ได้กล่าวว่าคุณสมบัติการเข้ารหัสแบบ end-to-end encryption (E2EE) จะเปิดตัวในเดือนหน้าในเดือนกรกฎาคม 2020 ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการเปิดตัว Zoom beta ซึงผู้ใช้งาน Free และ Basic user สามารถเข้าถึงคุณสมบัติ E2EE ได้ทุกคน

ที่มา:zdnet | blog.