Trojans Make Up 80% of All Malware, Study Shows

PandaLab ได้ตรวจพบมัลแวร์ใหม่ๆกว่า 6 ล้านตัวในช่วงระหว่างมกราคมถึงมีนาคม และพบว่า 80.77% ของมัลแวร์ทั้งหมดนั้นเป็นประเภทโทรจัน โดยนักวิจัยกล่าวว่าตอนนี้ไม่ค่อยมีคอมพิวเตอร์ติด Worm กันแล้ว นี่หมายความว่าการรุกรามอย่างมากของ Worm ในอดีตกำลังหมดไปและถูกแทนที่ด้วยโทรจัน นอกจากนี้ PandaLab ยังบอกด้วยว่าถึงประเทศที่ติดมัลแวร์มากที่สุดอีกด้วย โดยจีนครองอันดับหนึ่งที่ 54.10% ตามมาด้วยไทย 47.15% และตุรกี 42.75% และจำนวนคอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์ทั่วทั้งโลกมีอยู่ที่ 35.51% ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าปี 2011

ที่มา : securitynewsdaily

Patch now! Adobe and Microsoft push out critical security fixes

ไมโครซอฟท์ได้ออกแพทช์ประจำเดือนพฤษภาคมเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โดยในแพทช์นี้ประกอบไปด้วยเอกสารที่ระบุถึง 23 ช่องโหว่ และรวมไปถึงการแก้ช่องโหว่ที่พบใน Microsoft Office, Microsoft .NET Framework และ Microsoft Silverlight  ช่องโหว่ที่แย่ที่สุดของไมโครซอฟท์ได้ถูกจัดให้อยู่ในความร้ายแรงขั้นสูงสุดเพราะช่องโหว่นี้สามารถทำให้เหล่าแฮคเกอร์สามารถรันโค้ดบนเครื่องของเหยื่อได้โดยไม่ต้องมีการการตอบสนองจากเหยื่อ และแพทช์ MS 12-034 ได้ออกมาเพื่อแก้การโจมตีของ Duqu ที่เชื่อกันว่าเพื่อการโจมตีได้พุ่งเป้าไปยังระบบควบคุมในอุตสาหกรรม แพทช์ MS12-029 ได้ออกมาเพื่อแก้ช่องโหว่ที่อนุญาติให้รันรีโมทโค้ดได้ถ้าผู้ใช้เปิดไฟล์ RTF ที่เหล่าแฮคเกอร์ทำขึ้นมา

ในขณะเดียวกับที่ทาง Adobe ได้ออกแพทช์เช่นกัน เพื่อแก้ไขช่องโหว่ที่พบใน Adobe Illustrator, Adobe Photoshop, Adobe Flash Professional และ Adobe Shockwave Player ทั้งใน Windows และ Mac

ที่มา : nakedsecurity

Twitter downplays reports of 55,000 hacked accounts

แฮกเกอร์ในเครือของกลุ่ม Anonymous ออกมายอมรับและแสดงความรับผิดชอบกรณีที่มีการเผยแพร่บัญชีผู้ใช้ อีเมลรวมทั้งรหัสผ่านของ Twitter บนเว็บไซต์ Pastebin เป็นจำนวนกว่า 55,000 รายการ โดยทาง Twitter อ้างว่าข้อมูลส่วนใหญ่ที่ถูกเผยแพร่นั้นเป็นข้อมูลที่ซ้ำกัน และส่วนมากก็เป็นบัญชีผู้ใช้ที่ถูกบันทึกว่าเป็นผู้ใช้งานประเภทสแปมด้วย โดยตอนนี้ทาง Twitter ก็ยังไม่ได้ออกมาชี้แจงถึงสาเหตุแต่อย่างใด
บางเว็บไซต์ยังมีการโจมตีไปยัง Twitter ว่าทางบริษัทไม่ได้สนใจที่จะสร้างความปลอดภัยต่อข้อมูลของผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นอย่างจริงจัง ขาดแม้กระทั่งระบบตรวจสอบมาตรฐานของรหัสผ่าน หรือคำแนะนำในการตั้งรหัสผ่านให้ปลอดภัย

ที่มา : hack in the box

PHP-CGI vulnerability leads to Remote Code Disclosure and Execution

ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ชาว Netherlands  ค้นพบช่องโหว่ PHP-CGI โดยบังเอิญในขณะที่กำลังเล่น Nullcon CTF ซึ่งสามารถส่งคำสั่งจากภายนอกเข้ามายัง Serverและสามารถเข้าถึง source code ได้โดยใช้ String ในการ Query เป็น ‘?-s’
ช่องโหว่นี้ถูกค้นพบเมื่อมกราคม 2012 และถูกแจ้งไปยังผู้พัฒนาเมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ในขณะนั้นทาง CERT(Computer emergency response team)ก็ได้กำลังดำเนินการแก้ไขปัญหานี้อยู่และเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทาง CERT แจ้งว่าทางผู้พัฒนา PHP ยังต้องการเวลาในการแก้ไขอีก แต่ทว่ามีบางคนได้ทำการโพสรายละเอียดของช่องโหว่นี้บนเว็บ Reddit เสียแล้วโดย De Eindbazen

ช่องโหว่ดังกล่าวมีผลกระทบเฉพาะ classic CGI ส่วน FastCGI server ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด

ที่มา : ehackingnews

Why did you put this photo online? Naked?" spam mail leads to malware

พบสแปมเมลที่ส่งมาให้หัวข้อ “Check the attachment you have to react somehow to this picture” และหัวข้ออื่นๆ ซึ่งมีข้อความหลอกล่อให้ผู้รับเปิด zip ไฟล์ที่แนบมาเพื่อตรวจสอบไฟล์ข้างใน โดยอ้างว่าข้างในไฟล์นี้มีรูปภาพของแฟนเก่าหรือภาพไม่เหมาะสมของเราที่ถูกโพสลง Facebook ตามแต่หัวข้อของสแปมเมลที่ส่งมา หากผู้รับเมลเหล่านี้หลงเชื่อและเปิดไฟล์แนบดังกล่าวออกมาจะติดโทรจันที่ทาง Trend Micro ตรวจจับว่าเป็น Troj/Bredo-VV และ Mal/BredoZp-B.

ที่มา : ehackingnews

Remote Access Trojan steals credit card data from a hotel PoS app

Trusteer บริษัทความปลอดภัยรายงานว่ามีโทรจันชนิดหนึ่งที่สามารถขโมยข้อมูลบัตรเครดิตของลูกค้าโรงแรม จากระบบ Front Desk ของโรงแรมได้ โดยทีมติดตามข้อมูลของ Trusteer พบว่ามัลแวร์ดังกล่าวกำลังถูกขายอยู่ตามฟอรั่มต่างๆ ที่ราคา 280 ดอลลาร์

โทรจันนี้ได้ถูกออกแบบให้ถ่ายภาพสกรีนช็อทจากแอพ point of sales ของโรงแรมต่าง ๆ เพื่อหาหมายเลขบัตรเครดิตและเลขวันหมดอายุ ซึ่งแอพประเภทนี้ส่วนใหญ่จะถูกติดตั้งอยู่ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเช็คอินลูกค้าของโรงแรม โดยเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านี้มักจะไม่ได้รับการดูแลหรือติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัส นอกจากนี้ผู้สร้างโทรจันนี้ยังได้เขียนวิธีใช้ VoIP ในการหลอกให้พนักงานต้อนรับโรงแรมเผลอติดตั้งโทรจันตัวนี้ลงเครื่องโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย

ที่มา : ehackingnews

FBI and NASA targeted and take down by Havittaja

เมื่อวันที่ 17 เมษายน ที่ผ่านมาแฮกเกอร์กลุ่ม Anonymous ชื่อว่า Havittaja ซึ่งในเวลานี้เป้าหมายของเขาคือ เว็บไซต์ FBI และ NASA ได้ประกาศการโจมตีเว็บไซต์ของ NASA ผ่าน twitter ได้ทำการ take down ด้วยวิธีการโจมตีแบบ DDOS มากกว่า 20 sub-domains
และในเวลาต่อมาใน เขาทำการล่มเว็บไซต์ของ FBI ทั้งหมด 4 เว็บไซต์อีกด้วย

ที่มา : ehackingnews

11 Countries Defence Ministries websites hacked by NYRO HACKER & HACKER_M329

แฮกเกอร์ที่ชื่อว่า Nyro Hacker & HACKER_M329 ได้ทำการแฮกและเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์กระทรวงกลาโหมมากกว่า 11 ประเทศ

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่แฮกเกอร์กลุ่มนี้ได้ deface หน้าเว็บไซต์เหล่านี้ ในเดือนที่ผ่านมา แฮกเกอร์ชาวอินเดียชื่อ 'ro0t_d3vil' จาก Indian Cyber Army(Indishell) ได้ hack และ deface หน้าเว็บไซต์ของกระทรวงกลาโหมกว่า 17 ประเทศ

ซึ่งการกระทำเหล่านี้ทำให้เห็นชัดเจนแล้วว่า เว็บมาสเตอร์ก็ไม่ได้แก้ไขช่องโหว่ที่มีแต่อย่างใด และดูเหมือนว่าพวกเขาจะไม่สนใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของเว็บไซต์ของพวกเขาด้วย

ที่มา : ehackingnews

17-Year-Old KPN Hacker arrested by Dutch Police

ตำรวจฮอลแลนด์จับกลุ่มเด็กชายวัย 17 ปีที่เป็นผู้สงสัยว่าทำการแฮกข้อมูล KPN server ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ ISP รายใหญ่ที่สุดในฮอลแลนด์ โดยใช้ชื่อในการแฮกว่า "xS", "Yoshioka" and "Yui".โดยเมื่อปีที่แล้วแฮกเกอร์ได้ทำการแฮกข้อมูล ISP ดังกล่าวแล้วทำการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวข้อผู้ใช้งานกว่า 2 ล้าน user ไม่ว่าจะเป็น username, pasword, เบอร์โทรศัพท์ และที่อยู่ ซึ่งจากการจับกุมที่บ้านและการตรวจสอบข้อมูลเครื่องของเด็กชายคนดังกล่าวพบข้อมูลที่น่าสงสัยเกี่ยวกับการแฮกข้อมูลมหาวิทยาลัยในนอร์เวย์ และการเข้าถึงข้อมูลด้าน security ของมหาวิทยาลัย Tokohu ในญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังพบขณะจับกุมว่ากำลังขายข้อมูลบัตรเครดิตที่ขโมยมาทางเว็บไซต์อีกด้วย

จากคดีดังกล่าวของเด็กชายวัย 17 จะถูกลดโทษจาก 6 ปี เหลือเพียงสองปีจากกฏหมายคุ้มครองเด็กในฮอลแลนด์

ที่มา : ehackingnews

York hacker Edward pearson, jailed for stealing eight million people's personal details

Edward Pearson แฮกเกอร์วัย 23 ปีจากเมือง York ประเทศอังกฤษ ถูกตัดสินจำคุกจากการขโมย id ของข้อมูลบัตรเครดิตและเดบิต โดยการใช้โทรจัน เช่น Zeus, Spyeye, Python ในการดาวน์โหลดข้อมูลมาจากบัตรดังกล่าว โดยได้ข้อมูลมากกว่า 8 ล้านคนในประเทศอังกฤษ ซึ่งโค้ด Python ที่เขาใช้ สามารถทำการสแกนข้อมูลได้กว่า 200,000 account ที่ register ผ่าน Paypal โดยสามารถระบุชื่อ พาสเวิร์ด และยอดเงินคงเหลือได้ ซึ่งเขาได้ทำการขโมยข้อมูลมาตั้งแต่ 1 มกราคม 2010 จนถึง 30 สิงหา 2011 เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 18 เดือน

เขาถูกจับได้จากการที่แฟนสาวอายุ 21 ปีของเขาซึ่งเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัย York ได้เอาข้อมูลบัตรเครดิตที่ขโมย นำไปใช้จองที่พัก โดยเจ้าหน้าที่สอบสวนเชื่อมโยงข้อมูลบนอินเทอร์เนต ในหน้าฟอรั่มบนไซต์ของแฮกเกอร์ ที่แสดงนามแฝงของเขาว่า G-Zero พร้อมกับอีเมลส่วนตัว

จากการไตร่สวนในชั้นศาลทำให้ทราบถึงความสามารถของ Pearson ว่าได้เคยปิดระบบเน็ตเวิคภายในส่วนนึงของ Nokia เป็นระยะเวลาสองสัปดาห์หลังจากแฮกข้อมูลพนักงานมากกว่า 8,000 คนออกไปได้

ที่มา : ehackingnews