Google fixes Chrome issue that allowed theft of WiFi logins in Chrome 69.

Chrome เปิดตัวเบราว์เซอร์เวอร์ชั่น 69 รวมถึงออกแพตช์อัพเดทช่องโหว่ความปลอดภัยด้านการออกแบบในเบราว์เซอร์ Chrome ที่ส่งผลให้ผู้โจมตีสามารถใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ดังกล่าวขโมยข้อมูลสำหรับการเข้าสู่ระบบ Wifi ทั้งแบบบ้านและระบบเครือข่ายขององค์กร โดยปัญหาดังกล่าวเกิดจากเบราว์เซอร์ Chrome เวอร์ชั่นเก่ามีกรอกค่า Username และ Passwords บนแบบฟอร์มการเข้าสู่ระบบผ่าน HTTP แบบอัตโนมัติ (auto-fill)

Elliot Thompson นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก SureCloud ได้ทำการรวบรวมเทคนิคการโจมตีจากการใช้ประโยชน์ของปัญหาในการออกแบบเบาร์เซอร์ซึ่งมีขั้นตอนที่หลากหลายและซับซ้อน โดยการโจมตีดังกล่าวชื่อว่า Wi-Jacking (WiFi Jacking) ซึ่งได้ผลกับ Chrome บน Windows ขั้นตอนสำหรับการโจมตี Wi-Jacking มีรายละเอียดดังนี้
ขั้นตอนที่1 ผู้โจมตีจำเป็นต้องอยู่บริเวณใกล้เคียงกับระบบเครือข่าย WiFi ของเครื่องเป้าหมายเพื่อให้สามารถเข้าถึงได้โดยการส่งคำขอ deauthentication ไปยังเราเตอร์เพื่อทำการตัดการเชื่อมต่อของผู้ใช้งานออกจากระบบ WiFi
ขั้นตอนที่2 ผู้โจมตีใช้เทคนิคการโจมตีแบบ classic Karma attack เพื่อหลอกให้เป้าหมายเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอันตรายที่ผู้โจมตีสร้างไว้
ขั้นตอนที่3 ผู้โจมตีทำการสร้างเว็บไซต์โดยจำลองหน้าเว็บต่างๆให้มีความคล้ายกับเว็บไซต์หลักของเราเตอร์ และทำการซ่อนฟิลด์สำหรับรับค่าข้อมูลสำหรับ Login ไว้ และเนื่องจากเป้าหมายเชื่อมต่อกับเครือข่ายของผู้โจมตีทำให้ผู้โจมตีสามารถตั้งค่า URL ของหน้าเว็บปลอมไปยัง URL ที่ถูกต้องของเราเตอร์ที่เป้าหมายใช้งานได้ทำให้เป้าหมายเข้าใจว่าเข้าถึงเว็บไซต์หลักที่ถูกต้อง ซึ่งหากเป้าหมายอนุญาตให้เบราว์เซอร์ Chrome กรอกข้อมูลสำหรับ Login แบบอัตโนมัติ (auto-fill) ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกป้อนไปยังฟิลด์ที่ซ่อนไว้ในหน้าเว็บที่ผู้โจมตีสร้างไว้โดยอัตโนมัติ
ขั้นตอนที่4 ผู้โจมตีหยุดเทคนิค Karma และช่วยให้เป้าหมายเชื่อมต่อกลับไปยังเครือข่าย WiFi เดิม
ขั้นตอนที่5 หากเป้าหมายคลิกส่วนใดๆ ในหน้าเว็บที่เป็นอันตรายหรือหน้าเว็บดังกล่าวยังคงทำงานอยู่ในเบราว์เซอร์ของเป้าหมาย จะส่งข้อมูลการ Login ที่ซ่อนอยู่ในฟิลด์การเข้าสู่ระบบไปยัง backend panel ของเราเตอร์จริง วิธีนี้จะทำให้ผู้โจมตีสามารถตรวจสอบการเข้าถึงของเป้าหมายและช่วยให้ผู้โจมตีสามารถตรวจจับ WPA / WPA2 PSK (pre-shared key) จากการตั้งค่า Wi-Fi ของเราเตอร์ของเป้าหมาย และสามารถใช้เข้าสู่ระบบได้

นอกเหนือจากเบราว์เซอร์ Chrome ยังมีเบราว์เซอร์ Opera ที่ได้รับผลกระทบจากการโจมตีด้วยวิธีการ Wi-Jacking แต่เบราว์เซอร์อื่นๆ เช่น Firefox, Edge, Internet Explorer และ Safari ไม่เสี่ยงต่อการถูกโจมตีเนื่องจากไม่มีการกรอกข้อมูลสำหรับการ Login แบบอัตโนมัติ (auto-fill)

ที่มา : Zdnet