Microsoft ประกาศการใช้งาน Hotpatching บน Windows Server โดยจำเป็นต้องมีการสมัครใช้งานแบบ Subscription

Microsoft ประกาศว่าการใช้งาน Hotpatching บน Windows Server 2025 จะต้องมีการสมัครใช้งานแบบ subscriptions โดยฟีเจอร์นี้ช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถติดตั้งแพตซ์อัปเดตด้านความปลอดภัยได้โดยไม่ต้องรีสตาร์ทเครื่อง

Microsoft แนะนำให้ผู้ดูแลระบบทดลองใช้งาน hotpatching ฟรี ก่อนที่จะเปิดให้บริการทั่วไปในเดือนกรกฎาคม ซึ่งหลังจากนั้นจะต้องสมัครใช้งานแบบ subscription จึงจะสามารถทดลอง หรือใช้งานต่อได้

อย่างไรก็ตาม Microsoft ยังเตือนผู้ที่กำลังทดสอบ Hotpatching บน Windows Server 2025 รุ่นพรีวิวอยู่ในขณะนี้ ควรยกเลิกการลงทะเบียน (disenroll) ภายในวันที่ 30 มิถุนายน เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกสมัครใช้งานโดยอัตโนมัติในเดือนกรกฎาคม

Microsoft ระบุว่า "Hotpatching สำหรับ Windows Server 2025 เริ่มเปิดให้ทดลองใช้งานในปี 2024 และจะเปิดให้ใช้งานทั่วไปในรูปแบบบริการแบบ Subscription ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2025 เป็นต้นไป โดยจะนำความสามารถที่เคยมีเฉพาะใน Azure มาใช้ และตอนนี้จะทำให้ความสามารถนี้พร้อมใช้งานสำหรับเครื่อง Windows Server ที่อยู่นอก Azure ผ่าน Azure Arc"

"ขณะนี้สามารถทดลองใช้ Hotpatching ได้ฟรีในช่วงพรีวิว และตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2025 เป็นต้นไปจะเริ่มต้นระบบสมัครสมาชิกแบบ subscription ซึ่งจะมีการนำเสนอ Hotpatching สำหรับ Windows Server 2025 ในราคาสมัครสมาชิก 1.50 ดอลลาร์สหรัฐต่อคอร์ CPU ต่อเดือน”

หากต้องการใช้งาน Hotpatching ใน environments แบบ multi-cloud หรือแบบ on-premises จะต้องสมัครใช้บริการ Hotpatch และเซิร์ฟเวอร์ที่เชื่อมต่อกับ Azure Arc ที่มีการรัน Windows Server 2025 Standard หรือ Datacenter

หากต้องการเปิดใช้งาน Hotpatching บนเซิร์ฟเวอร์ของคุณ ให้เชื่อมต่อกับ Azure Arc โดยใช้ขั้นตอนเหล่านี้จากนั้นไปที่ Azure Update Manager ใน Azure Portal เลือกเซิร์ฟเวอร์ที่เปิดใช้งาน Azure Arc และตรวจสอบ hotpatching option ตามรายละเอียดที่ระบุไว้

Hotpatching พร้อมใช้งานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2022 สำหรับ Windows Server 2022 Datacenter: Azure Edition โดย Microsoft ประกาศว่าฟีเจอร์นี้พร้อมใช้งานทั่วไปสำหรับเครื่อง virtual machines แบบ Core ของ Windows Server Azure Edition

ในอุปกรณ์ที่เปิดการใช้งาน Hotpatching บนระบบ Windows จะติดตั้งอัปเดตความปลอดภัยโดยการแพตช์โค้ดที่ทำงานอยู่ในหน่วยความจำของโปรเซสต่าง ๆ โดยไม่ต้องรีสตาร์ทโปรเซสนั้นหลังจากติดตั้ง และไม่ต้องรีบูตเครื่อง

อย่างไรก็ตาม เซิร์ฟเวอร์ยังคงต้องมีการรีบูตเครื่องหลังจากการติดตั้งอัปเดตที่ส่งผ่านช่องทางการอัปเดตปกติของ Windows ทั่วไป (ไม่ใช่ Hotpatch) ซึ่งไม่รวมอยู่ในโปรแกรม Hotpatch โดยมีตัวอย่างการอัปเดตสองตัวอย่างที่ไม่สามารถติดตั้งได้หากไม่รีสตาร์ท เช่น การอัปเดตที่ไม่ใช่ของ Windows (เช่น แพตช์ .NET) และการอัปเดตที่ไม่ใช่ด้านความปลอดภัยของ Windows

Microsoft ยังได้เริ่มทดสอบ Hotpatching แบบ Public Preview สำหรับ Windows Server 2025 ในเดือนกันยายน 2024 และ Windows 11 รุ่น 24H2 รวมถึง Windows 365 ในเดือนพฤศจิกายน 2024

เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2568 การอัปเดต Hotpatch จะพร้อมใช้งานโดยทั่วไปสำหรับลูกค้าธุรกิจที่ใช้ Windows 11 Enterprise 24H2 บนระบบ x64 (AMD/Intel)

ที่มา : bleepingcomputer